10 กลยุทธ์เพิ่มศักยภาพของการสร้างแบรนด์ในสื่อโซเชียลมีเดีย

สิ่งหนึ่งที่เป็น Key Factor สำคัญในการทำให้ธุรกิจหรือแบรนด์เติบโตคือเรื่องของการใช้โซเชียลมีเดียในการบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์เราและการทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงแบรนด์ของเรานั่นเอง 

และหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ คนขายของออนไลน์ นักการตลาด หรืออะไรก็ตามที่ต้องใช้กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ในสื่อโซเชียลมีเดีย ก็ขอเชิญมารวมกันทางนี้! เพราะวันนี้ RAiNMaker ได้รวบรวม 10 กลยุทธ์ที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจ เพิ่มยอดการเข้าถึง และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกลูกค้าให้แบรนด์ของคุณไว้แล้ว

ซึ่ง 10 วิธีนี้เป็นข้อแนะนำจากคุณ Angie Gensler ผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำสื่อโซเชียล ที่เธอได้ลิสต์ทิปสำคัญ ๆ ไว้ให้อย่างเข้าใจง่ายแถมนำไปใช้ได้จริง

ถ้าพร้อมแล้ว มาดูกันเลย 👀💥

1. พัฒนาเอกลักษณ์ของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ

-ใช้ CI ให้เป็นไปในทางเดียวกัน

-รักษา Mood & Tone ของแบรนด์ให้คงที่

เอกลักษณ์ของแบรนด์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่แบรนด์ควรจะให้ความสำคัญเนื่องจากสิ่งนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถแยกแบรนด์เราออกจากแบรนด์อื่นได้ แล้วยังทำให้ผู้บริโภคจดจำเราได้อีกด้วย ซึ่งศัพท์ทางการตลาดเรียกสิ่งนี้ว่า “Brand CI” ที่กำหนดไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดและเพื่อสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภค และยังช่วยดึงดูดผู้บริโภคที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เข้ามา โดย CI นี้จะประกอบไปด้วย โลโก้ สี ฟอนต์ รวมไปถึงน้ำเสียงและในการสื่อสารกับผู้บริโภคที่ช่วยสร้างคาแรกเตอร์แบรนด์

เพราะองค์ประกอบเหล่านี้ ก็จะเปรียบเสมือนตัวละครในภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองจนคนดูสามารถจดจำได้ 

 

2. สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า 

-สร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าผ่านข้อความหรือคอมเมนต์ 

-ใส่ใจ UGC เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์

การเสริมสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของคุณอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการเติบโตของธุรกิจเช่นกัน!

เพราะการสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตนเองถูกใส่ใจเป็นพิเศษและเกิดความประทับใจจนอยากจะใช้แบรนด์นั้นต่อไป โดยวิธีการที่แบรนด์สามารถทำได้ง่าย ๆ อย่างเช่น 

  • ตอบคอมเมนต์หรือข้อความของลูกค้าอย่างเร็วที่สุด ซึ่งให้ดีที่สุดเลยคือไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง เนื่องจากคอนเทนต์ต่าง ๆ ในโลกออนไลน์นั้นไหลเร็วมาก ทำให้ถ้าเราตอบช้า ผู้บริโภคก็จะได้รับข้อมูลจากแบรนด์อื่นและในท้ายที่สุดอาจส่งผลให้ผู้บริโภหันไปใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์อื่นแทนก็เป็นได้
  • ตั้งคำถามกับลูกค้าผ่านการโพสต์เพื่อสอบถามความคิดเห็นแบบปลายเปิดก็ถือเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้แบรนด์เข้าใจลูกค้ามากขึ้นและสามารถนำเอาคำแนะนำของลูกค้ามาปรับใช้ได้อย่างจริงจัง เช่น ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการเลือกสีของผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ ให้ลูกค้าแชร์ทริกการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างหลากหลาย เป็นต้น
  • ไลก์ คอมเมนต์ และแชร์โพสต์ที่ลูกค้ารีวิวแบรนด์ต่อ เพื่อแสดงการมีส่วนร่วมและยังเป็นการแสดงออกว่าแบรนด์แคร์ในทุกความคิดเห็นของลูกค้า ซึ่งวิธีการนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับหัวข้อของ UGC ที่แบรนด์จะตอบสนอต่อคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคกล่าวถึงแบรนด์นั่นเอง เพิ่มเติมคือแบรนด์สามารถส่งคำขอบคุณต่อรีวิวดี ๆ ของผู้บริโภคโดยการส่งข้อความแบบส่วนตัวเพื่อเป็นการเพิ่มความพิเศษอีกด้วย

 

3. ใช้แฮชแท็ก

-ค้นหาคำที่กำลังเป็นที่นิยมเกี่ยวกับแบรนด์

-สร้างแฮชแท็กประจำแบรนด์

สร้างแฮชแท็กของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หรือแฮชแท็กแบรนด์เพื่อสร้างคอมมูนิตี้ผู้บริโภคให้สามารถหาข้อมูลรวมถึงรีวิวของสินค้าได้ง่ายขึ้น และยังทำให้ผู้บริโภครู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับแบรนด์อีกด้วย โดยยิ่งแฮชแท็กของแบรนด์มีความเฉพาะเจาะจงมากเท่าไรก็ยิ่งดี เพราะจะช่วยสร้างการจดจำแบรนด์ได้ด้วยนั่นเอง

การที่จะทำให้แฮชแท็กของแบรนด์เข้าไปติดในคำค้นหาที่คนค้นหาเยอะ (SEO) แบรนด์ก็ต้องค้นหา Keywords ที่คนกำลังพูดถึงเยอะ เพื่อเปิดการมองเห็นให้กับโพสต์โดยแบรนด์ต้องมั่นใจว่าแฮชแท็กที่ใช้ต้องเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่โพสต์ ไม่เช่นนั้นโพสต์เหล่านั้นจะจัดเป็น Spam ที่สร้างความรำคาญทันที แต่หากแบรนด์ใช้แฮชแท็กได้เหมาะสม มันจะเป็นหนึ่งวิธีในการเพิ่มลูกค้าใหม่อีกด้วย

มีไอเดียหลากหลายที่แบรนด์จะสามารถกระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้แฮชแท็กของแบรนด์หรือกล่าวถึงแบรนด์ได้ เช่น

  • จัดการแข่งขันเกี่ยวกับสินค้าในแบรนด์ เช่น การแข่งขันรีวิวสินค้าให้โดนใจแบรนด์มากที่สุดเพื่อลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษ 
  • ให้ของที่ระลึกที่ปกติแล้วไม่ได้แจกที่ไหน กับผู้ที่แชร์โพสต์และบอกเล่าความประทับใจต่อแบรนด์  

 

4. Collab กับแบรนด์อื่น

-หาพาร์ตเนอร์จากแบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายร่วมกัน

-จัดกิจกรรม Giveaways หรือทำ Live Events

คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย!

การมีพาร์ตเนอร์ก็เป็นอีกทางที่จะขยายกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มการมองเห็นในสื่อโซเชียลมีเดีย แถมยังเป็นการสร้างกิมมิคใหม่ ๆ ให้แบรนด์ของคุณและแบรนด์พาร์ตเนอร์ของคุณให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

โดยสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรคำนึงถึงในการหาพาร์ตเนอร์คือเรื่องลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และคุณค่า หรือความสนใจที่มีร่วมกันกันเพื่อให้ทั้งสองสามารถทำแคมเปญต่าง ๆ ได้ตรงตามจุดประสงค์ของทั้งสองฝ่าย 

เมื่อหาแบรนด์คู่ใจเจอแล้ว ทางแบรนด์ผู้ริเริ่มก็ควรที่จะทำข้อเสนอของแคมเปญหรือโปรเจกต์ รวมถึงประโยชน์ที่จะอีกแบรนด์จะได้จากการเข้าร่วมในครั้งนี้มาอย่างชัดเจน วิธีนี้จะทำให้แบรนด์ที่ถูกชักชวนมองเห็นภาพของทั้งสิ่งที่จะทำกับสิ่งที่จะได้รับมากขึ้น ส่งผลให้ความเป็นไปได้ที่อีกเบรนด์จะตอบรับมากขึ้นนั่นเอง

มาดูไอเดียกิจกรรมที่การ Collab ระหว่างแบรนด์นั้นสามารถทำได้กันดีกว่า 👇🏼

  • กิจกรรม Giveaways : มันแน่อยู่แล้วที่ใคร ๆ ก็ชอบของฟรี! ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นวิธีที่น่าสนใจในการเพิ่ม Engagement ของทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ จากการที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้อง ‘กดติดตามเพจของแบรนด์’ ‘กดถูกใจ’ รวมถึง ‘กดแชร์’ ซึ่งขั้นตอนการกดแชร์นี่แหละที่ทำให้ลูกค้าใหม่รู้จักแบรนด์เราและแบรนด์พาร์ตเนอร์มากขึ้น และในส่วนของของรางวัลเองก็ต้องสัมพันธ์กับสินค้าของทั้งสองแบรนด์เพื่อทำให้เกิดการใช้งานจริงและบอกต่อในอนาคต                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   
  • แลกช่องทางโซเชียลมีเดียของเรากับแบรนด์พาร์ตเนอร์ เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่สดใหม่แถมเป็นการสร้างการรับรู้ของแบรนด์เรา ต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแบรนด์พาร์ตเนอร์อีกด้วย
  • จัดไลฟ์สดหรือจัดสัมนาออนไลน์ร่วมกับพาร์ตเนอร์เพื่อแชร์ความรู้รวมถึงสร้างความเข้าใจผลิตภัณฑ์และวิสัยทัศน์แบรนด์ต่อผู้บริโภคของทั้งสองแบรนด์ รวมถึงยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างแบรนด์เอง และยังเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ผู้บริโภคหน้าใหม่จากแบรนด์พาร์ตเนอร์มารู้จักแบรนด์เรามากขึ้นอีกด้วย

 

5. เลือกช่วงเวลาโพสต์ให้เหมาะสม

-แพลตฟอร์มต่าง ช่วงเวลาที่คน Engage ก็ต่าง

-แบรนด์ควรเลือกช่วงเวลาให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

ในปัจจุบัน โซเชียลมีหลากหลายแพลตฟอร์ม ทำให้ความหลากหลายของประชากรในการใช้งานตามมา ดังนั้นแบรนด์ก็ควรจะรู้ว่าช่วงเวลาใดที่ผู้คนจะเล่นโซเชียลมีเดียใดมากที่สุด ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยให้คนเข้าถึงโพสต์ต่าง ๆ ของแบรนด์ได้มากขึ้น 

จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งานบน Social Media ต่าง ๆ ที่รวบรวมโดย Giraffeesocialmedia  ปี 2023 สามารถสรุปช่วงเวลาที่เหมาะสมในการโพสต์ในแต่ละแพลตฟอร์มดังนั้น

  • Instagram: 

-วันที่ควรโพสต์คือ วันอังคาร,  วันพุธ และ วันศุกร์ (วันและเวลาที่ไม่ควรโพสต์ คือ วันหยุดสุดสัปดาห์ที่คนให้ความสนใจกับกิจกรรมอื่น ๆ แทน)
-ช่วงเวลา : ช่วงเช้า 9.00 – 9.30 น. และ ช่วงค่ำ 20.00 น. 

  • Facebook: 

-วันที่ควรโพสต์คือ วันจันทร์,  วันพุธ และ วันศุกร์ (วันและเวลาที่ไม่ควรโพสต์บน Facebook จะคล้ายกับบน Instagram คือวันหยุดสุดสัปดาห์ที่คนให้ความสนใจกับกิจกรรมอื่น ๆ แทน)

-ช่วงเวลา : ช่วงเช้า 7.00 น. และ ตอนเย็น 15.15 – 19.00 น. 

  • TikTok: 

-วันที่ควรโพสต์คือ วันจันทร์, วันอังคาร และ วันศุกร์

-ช่วงเวลา : ช่วงเช้า 10.00 น. และช่วงค่ำ 20.00 – 23.00 น. 

  • Twitter: แพลตฟอร์มที่โดดเด่นในการพูดคุยแบบ Rael Time ดังนั้นหากมีโพสต์ที่เหมาะสมในช่วงเทรนด์นั้น ๆ ก็สามารถโพสต์ได้ทันที แต่ช่วงเวลาที่ดีจากการวิเคราะห์ คือ

-วันที่ควรโพสต์คือ วันพุธ, วันพฤหัส และ วันศุกร์

-ช่วงเวลา : ช่วงเช้า 8.30 – 9.23 น. และช่วงสาย 10.00 น.

ขอบคุณข้อมูลจาก: Insight Era 

 

ดูแต่เวลาโพสต์ก็ไม่ได้อีกนะ! แบรนด์ต้องรู้ด้วยว่ากลุ่มเป้าหมายของเราใช้แพลตฟอร์มไหนเป็นหลัก

โดยข้อมูลจาก Brand Buffet ระบุไว้ว่า

  • Baby Boomer (อายุ 58-76 ปี) ใช้ LINE, Youtube และ Facebook 
  • Gen X (อายุ 42-57 ปี) ใช้ Facebook, YouTube และ Line เป็นหลัก และเริ่มใช้ TikTok
  • Gen Y (อายุ 26-41 ปี) ใช้ Facebook, YouTube, Line และ TikTok 
  • Gen Z (อายุ 12-25 ปี) ใช้  Facebook, YouTube, Instagram และ TikTok
  • Gen Alpha (อายุน้อยกว่า 12 ปี) ใช้ Facebook, YouTube, Line และ TikTok เป็นหลัก

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: Brand Buffet   

โดยช่วงเวลาเหล่านี้เป็นเพียงไกด์นำทางคร่าว ๆ ให้แบรนด์เท่านั้น หากแบรนด์ต้องการการวิเคราะห์พฤติกรรมการเล่นโซเชียลของผู้บริโภคเป้าหมายให้ลึกขึ้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวช่วยได้ ซึ่งนั่นก็คือ Social Listening Tools ที่ถูกจัดอยู่ในเทคโนโลยี MarTech Tools ยกตัวอย่างเช่น ฟีเจอร์ “Best Time To Post” จากเครื่องมือ “DOM : Social Listening & Social Analytics Tool” ของบริษัท Insight Era ที่ RAiNMaker ได้เคยพูดถึงไปก่อนหน้านี้ในบทความเรื่อง “4 MarTech แพลตฟอร์มที่มาช่วยชีวิตอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์” 

สามารถอ่านบทความตัวเต็มได้ที่: https://www.facebook.com/rainmakerth/posts/pfbid024bKqBt19v2qDYxWe7M3D3Yj5SrkCEtqexTT2om959w8NKkLvXVmS2ukaSxrWfmNql 

 

6. ส่งต่อเรื่องราวที่มีประโยชน์ต่อลูกค้า

-สร้างปฏิทินการลงคอนเทนต์อย่างเป็นระบบ

-ใช้เครื่องมือในการช่วยสร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจ

จะขายของอย่างเดียวก็อาจจะดูไม่น่าสนใจเท่าการที่แบรนด์ของคุณสามารถส่งต่อความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ในประเด็นสังคม สุขภาพ ความสวยความงาม แรงบันดาลใจ หรือจะเป็นประเด็นอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของคุณ เพื่อเป็นการ Keep ลูกค้าเก่าไว้แถมยังช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่เข้ามาด้วย! 

ซึ่งมันก็มีเครื่องมือบางตัวที่จะมาช่วยทำให้การลงคอนเทนต์ของคุณเป็นระบบและมีคุณภาพมากขึ้น เช่น ตระกูล Google อย่าง Google Calendar และ Google Sheets นอกจากนี้ก็ยังมี Trello, Asana, Publer, Hootsuite, Buffer และอื่น ๆ อีกมากมาย 

นอกจากจะจัดตารางการลงคอนเทนต์อย่างเป็นระบบแล้ว ส่วนที่เป็นหัวใจหลักของการส่งมอบประโยชน์นอกเหนือจากการขายให้ลูกค้า ก็คือเรื่องของ “คอนเทนต์” นั่นเอง โดยแพลตฟอร์มที่กำลังเป็นที่นิยมที่ใช่ในการออกแบบสื่อในตอนนี้ก็เช่น “Canva” ที่เรียกได้ว่าช่วยให้นักเรียนนักศึกษาหลายคนเรียนจบมาแล้ว! 

เพราะ Canva เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยสร้างสรรค์คอนเทนต์ทั้งในรูปแบบ Poster, Presentation และ Video เรียกได้ว่า ครบจบที่ Canva เลยจริง ๆ นอกจากนี้ก็ยังมี “Pinterest” ที่เป็นแหล่งรวบรวมรูปภาพและวิดีโอหลายร้อยพันที่สามรถนำมาใช้ในการออกแบบเทมเพลตหรือแม้แต่ใช้เป็นไอเดียในการออกแบบองค์ประกอบต่าง ๆ ในคอนเทนต์ได้อีกด้วย 

 

7. โปรโมตแบรนด์ด้วย Influencer 

-เลือก Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์

-สร้างความเข้าใจและข้อตกลงร่วมกันก่อนเริ่มงาน

สมัยนี้แบรนด์ไหน ๆ ก็ต่างหา Influencer มาโปรโมตสินค้าของตนเองไม่ว่าจะเป็น ผ่านการรีวิวหรือทำเป็น Ads โฆษณาก็ตาม ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่แบรนด์ควรคำนึงถึงในการเลือก Influencer เลยคือการหา Influencer ที่มีไลฟ์สไตล์ที่เหมาะกับภาพลักษณ์โดยรวมและผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ เนื่องจากสิ่งนี้จะสร้างความน่าชื่อถือของทั้งสินค้าและทั้งภาพรวมของแบรนด์ และการใช้คนที่มีชื่อเสียงก็ทำให้เกิดการพูดถึงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เป็นวงกว้างอีกด้วย 

ซึ่งแบรนด์ก็สามารถหา Influencer ที่เหมาะสมได้จากแพลตฟอร์มโซชียลมีเดียต่าง ๆ โดยตรงหรือจะใช้แพลตฟอร์มที่เป็นแหล่งรวบรวม Influencer ไม่ว่าจะเป็น Pickle, Tellscore, Zocial Eye, Kolify, Hype Auditor และ Phlanx เป็นต้น 

เมื่อหา Influencer ที่โดนใจได้แล้วแบรนด์ก็ควรที่จะทำสัญญาหรือสร้างข้อตกลงที่ชัดเจนกับ Influencer เพื่อให้เกิดความชัดเจนระหว่างการทำงานและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในภายหลัง 

และสิ่งหนึ่งที่แบรนด์ควรจะตระหนักไว้เสมอคือ การเลือก Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์จริง ๆ และการรีวิวผลิตภัณฑ์อย่างจริงใจ เพื่อทำให้แบรนด์เติบโตอย่างยั่งยืน

 

8. ซื้อพื้นที่โฆษณาอย่างชาญฉลาด 

-วางแผนจุดประสงค์และงบในการโฆษณาให้ชัดเจน

-ทดลองทำโพสต์ให้หลากหลาย

การเวลาผ่านไปการลงโฆษณาก็ไม่ได้มีแค่เพียงในโทรทัศน์อย่างเดียวแล้วแต่เราสามารถเห็นโฆษณาจากแบรนด์ต่าง ๆ จากทุกที่ที่ไป รวมถึงทุกแอปในโทรศัพท์ที่เราเล่นอยู่ทุกวัน อย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยคือโฆษณาตามสื่อโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Instagram และ Twitter 

การที่แบรนด์จะเลือกแพลตฟอร์มที่จะใช้ลงโฆษณา ก็ต้องเกิดจากการหาข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายและความคุ้มค่าในการซื้อสื่อโฆษณามาอย่างดี เพื่อให้เงินที่เสียไปคุ้มค่ากับจำนวนของผู้คนที่จะเห็นโฆษณาและนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นของแบรนด์ในที่สุด โดยวิธีที่จะได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจก็คือ 

  • การตั้งวัตถุประสงค์ในการโฆษณาที่ชัดเจน เช่น ต้องการเพิ่มการรับรู้ของผู้บริโภคต่อแบรนด์ (Brand Awareness)  หรือ ต้องการเพิ่มยอดขาย 
  • งบประมาณ โดยการใช้เครื่องมือวัดอย่าง CPC หรือ Cost-per-click และ CPM หรือ Cost per thousand impressions เป็นต้น 

อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้แบรนด์รู้ว่า การลงโฆษณาในรูปแบบใดได้ Engagement เยอะที่สุด คือการทดลองลงโฆษณาให้หลายรูปแบบในหลายแพลตฟอร์ม แต่ในแต่ละแพลตฟอร์มที่เลือกใช้นั้น แบรนด์ก็ต้องหาข้อมูลมาดีแล้วว่าเป็นที่ที่กลุ่มเป้าหมายใช้งานเยอะ 

ซึ่งเครื่องมือตัวหนึ่งที่สามารถช่วยเปรียบเทียบการลงโพสต์คือ “A/B Testing” 

โดยตัวอย่างการทำงานเพื่อให้เห็นภาพง่ายก็เช่น แบรนด์อยากรู้ว่า ปุ่มสีเขียว หรือ ปุ่มสีแดง ที่จะกระตุ้นให้ลูกค้ากดมากกว่ากัน ก็ต้องลองทดสอบผ่าน A/B Testing โดยระบบจะสร้างเว็บไซต์ออกเป็นสองเวอร์ชันได้แก่ 

  • เวอร์ชัน A ที่ใช้ปุ่มสีแดง 
  • เวอร์ชัน B ใช้ปุ่มสีเขียว 

และสุ่มแสดงแต่ละเวอร์ชันกับผู้ใช้งานที่มีโปรไฟล์ใกล้เคียงกัน (กลุ่ม Segment ที่แบรนด์ต้องการทดสอบ) จากนั้นรอดูผลลัพธ์ว่าเวอร์ชันไหนที่สร้าง Conversion Rate ได้มากกว่ากัน ซึ่งการทำ A/B Testing ก็ช่วยให้แบรนด์ไม่ต้องคิดไปเองว่าควรปรับแบบไหน แต่จะสามารถปรับดีไซน์ได้ดีขึ้นได้จริง โดยอิงจากผลลัพธ์จากผู้ใช้งานจริง

ซึ่งแบรนด์สามารถเลือกทดสอบองค์ประกอบต่าง ๆ บนเว็บไซต์ได้มากมาย เช่น สี, Messaging, รูปภาพ และอื่น ๆ เพื่อทดสอบว่าองค์ประกอบไหนช่วยทำให้เกิด Conversion มากที่สุด ซึ่งแต่ละเวอร์ชัน จะถูกสุ่มไปให้กับคนเข้าเว็บไซต์ที่มีโปรไฟล์ใกล้เคียงกันตาม Criteria ที่แบรนด์กำหนด เช่น เทสต์กับผู้ใช้บงานที่เข้าใช้งานผ่านมือถือ Andriod เพื่อสุดท้ายจะดูว่าเวอร์ชันใดที่ทำให้เกิด Conversion Rate มากกว่ากัน 

ขอบคุณข้อมูลจาก: https://predictive.co.th/blog/a-b-testing-to-improve-conversion-rate/#AB_Testing_%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3 

หรืออีกวิธีหนึ่งคือการใช้มาตราวัดอย่าง ROIs ซึ่งก็คือ ตัวเลขแสดงผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุน ย่อมาจาก Return on Investment โดย ROI จะช่วยแสดงให้เห็นว่าการลงทุนครั้งนั้นได้รับผลกำไรหรือขาดทุนมากน้อยเพียงใด ซึ่งแสดงออกมาในรูปของอัตราส่วนหรือเปอร์เซ็น ทำให้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการลงทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น หาก ROI มีค่าสูงจะแสดงให้เห็นว่าการลงทุนครั้งนั้นมีประสิทธิภาพสูงหรือได้กำไรจำนวนมาก แต่หาก ROI มีค่าต่ำ จะแสดงให้เห็นว่าการลงทุนครั้งนั้นไม่มีประสิทธิภาพหรือขาดทุน

ขอบคุณข้อมูลจาก: https://zipmex.com/th/learn/what-is-roi/#header-c0 

สุดท้ายนี้แบรนด์ก็อย่าลืมที่จะประเมินผลการทำงานของการลงโฆษณาอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะได้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานได้อย่างทันท่วงทีหากวิธีการลงโฆษณาแบบเก่านั้นไม่เวิร์ค!

 

9. เพิ่มการสร้าง Branding ผ่าน Profile Bio และ Links 

-ใส่ Keywords ที่เชื่อมโยงถึงแบรนด์ในหน้า Profile

-อัปเดต Links ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์

หน้า Profile ในสื่อโซเชียลมีเดียของแบรนด์ก็เหมือนเป็นพนักงานต้อนรับของโรงแรมที่เป็นด่านแรกในการสร้างความประทับใจให้กับแขกที่มาใช้บริการ โดยวิธีที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงเว็บไซต์หรือรายละเอียดสินค้าทั้งหมดในแบรนด์ได้อย่างรวดเร็วก็คือการแนบลิงก์ของเว็บไซต์แบรนด์เอาไว้ในหน้า Profile ในแอคเคาต์โซเชียลมีเดียของแบรนด์  

นอกจากนี้ เรื่องของ Keywords ก็สำคัญต่อการสร้างการรับรู้ ดังนั้นแบรนด์ก็ควรที่จะใส่ Keywords ที่สามารถเชื่อมไปสู่สินค้าในร้านเพื่อเป็นการเปิดการมองเห็นให้ลูกค้าเห็นสินค้าของแบรนด์ง่ายขึ้น  ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ของคุณให้บริการเกี่ยวกับการออกกำลังกาย คุณควรจะมี Keywords อย่าง “เทรนเนอร์ส่วนตัว” “ดูแลการกินอาหารเพื่อสุขภาพ” หรือ “ลดน้ำหนัก” เป็นต้น 

เมื่อแปะลิงก์แล้วก็อย่าลืมอัปเดตลิงก์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผู้คนเห็นข้อมูลโปรโมชัน เรื่องราวความรู้จากแบรนด์ หรือ ข่าวสารที่เกี่ยวข้องที่สดใหม่อยู่ตลอด สิ่งนี้จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์แบรนด์ของคุณให้เป็นแบรนด์ที่แอคทีฟและใส่ใจลูกค้านั่นเอง

 

10. ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการตรวจวัดผล

-ตรวจสอบ KPIs เป็นประจำทุกเดือน

-ค้นหาและทดลองใช้กลวิธีใหม่ ๆ ในการโปรโมตแบรนด์อยู่เสมอ

การตรวจสอบ KPIs คือการวัดยอดผู้ติดตาม ยอด Engagement และยอดอัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น หรือที่เรียกว่า Click Through  Rate (CTR) โดยการรู้เจ้าพวกยอดเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถประเมินงบประมาณที่จะใช้ในการทำโฆษณาได้แม่นยำมากขึ้น โดยวิธีง่าย ๆ ที่แบรนด์สามารถวัดค่า KPIs ได้คือการวัดจาก “Google Analytics” นั่นเอง 

และหากผลที่วัดโดย KPIs นั้นได้ค่าออกมาไม่ค่อยน่าพอใจ นี่ก็คือ 3 วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยพลิกวิกฤตการโฆษณาของแบรนด์คุณ!

  • ในกรณีที่ “ยอดผู้ติดตามของคุณไม่กระเตื้องไปไหน” ให้คุณลองเปลี่ยนรูปแบบการโพสต์ จากเดิมที่อาจจะโพสต์คอนเทนต์ในรูปแบบเฉพาะตัวอักษร หรือ รูปภาพ ก็ลองเพิ่มเติมสื่อวิดีโอหรือวิดีโอสั้น การสร้างโพล และการสร้างคำถามให้ผู้ติดตามเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อเป็นการเรียกความสนใจของผู้คนที่เห็นโฆษณาของคุณได้
  • ในกรณีที่ “ยอด Engagement” ลดลง ให้แบรนด์ลองทำการโฆษณาผ่าน Influencer เพื่อทำให้ผู้คนเห็นสินค้าของแบรนด์และสนใจอยากใช้สินค้าตามเหล่าคนดังที่พวกเขาติดตามอยู่
  • ในกรณีที่ “ยอดอัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น (CTR) ลดลง” แบรนด์สามารถแก้ปัญหานี้โดยการเพิ่มลิงก์ลงไปที่หน้า Profile และใส่ Keywords ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของแบรนด์ เพื่อให้ผู้ที่ผ่านมาเห็นแล้วเกิดความสนใจหรือข้อสงสัยสามารถคลิกเข้าไปในลิงก์เพื่อหาคำตอบได้ทันที 

 

ที่มา: Angie Gensler 

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save