News
Techsauce Global Summit 2022 เริ่มแล้ว! หลังจากหายไป 2 ปี เพราะการระบาดของโควิดตั้งแต่ปี 2019 โดยครั้งนี้กลับมาพร้อมขนทัพพาร์ทเนอร์ และ Global Speakers มามากกว่า 300 คนเลยทีเดียว !
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในฐานะสื่อ RAiNMaker ได้พาทุกคนมาเจาะลึกถึงแง่มุมการใช้โซเชียลมีเดียของแคนดิเดตผู้ว่าฯ กทม. แต่ละท่านให้เห็นกันชัด ๆ ไปแล้ว ครั้งนี้เราเลยจะมาอัปเดตข้อมูลการบูสต์โพสต์ก่อนจะเลือกตั้งในอีก 2 วันกัน ซึ่งจะมีการอัปเดตอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง ไปเช็กกันเลย!
เพราะเหตุการณ์การเสียชีวิตของ ‘แตงโม – นิดา’ ทำให้สื่อต่าง ๆ เกิดความกระหายการได้มาซึ่งข้อมูลที่อัปเดตแบบเรียลไทม์ ซึ่งบางครั้งความรวดเร็วนี้ก็ทำให้ ‘จรรยาบรรณสื่อ’ ถูกลืมเลือนไปได้เช่นกัน ดังนั้นทาง RAiNMaker ในฐานะที่เป็นสื่อออนไลน์จึงอยากยกกรณีศึกษาของสื่อน้ำดีอย่าง ‘ช่อง 7’ ที่ทำหน้าที่ของสื่ออย่างแท้จริงมาแชร์กัน เพื่อเป็นการย้ำเตือนว่า ‘การเป็นสื่อที่ทันเหตุการณ์ ไม่ได้หมายความว่าจะมีจรรยาบรรณไม่ได้’ ‘สื่อน้ำดี’ แม้จะมีคำนิยามที่แตกต่างกันไป แต่โดยหลักแล้วคือ สื่อที่นำเสนอข่าวอย่างเหมาะสม โดยนำเสนอเพียงแค่ข้อเท็จจริง ไม่วิพากษ์หรือวิจารณ์จากความคิดเห็นส่วนตัวมากเกินไปจนสูญเสียความเป็นข่าว เพราะหน้าที่ของสื่อคือการนำเสนอความจริงให้ประชาชนได้รับรู้ ซึ่งยังมีหลายสื่อที่คำนึงถึงยอดเอ็นเกจเมนต์ในโลกโซเชียลมากกว่าความเป็นมนุษย์ด้วยกันในโลกความจริง แม้จะรู้ว่าบางสิ่งที่นำเสนอออกไปจะทำให้เกิดประเด็นอื่น ๆ ตามมา หรือโน้มน้าวใจผู้คนให้หลงเชื่อจากข้อมูลผิด ๆ ก็ตาม ทำให้ทุกวันนี้เราต้องเรียนรู้ที่จะเสพข่าวอย่างมีสติ และใช้วิจารณญาณก่อนเชื่อเป็นอย่างมาก แต่สื่อที่มีจรรยาบรรณก็ไม่ได้หายไปเลยซะทีเดียว ซึ่งในกรณีศึกษานี้ทาง RAiNMaker ขอยกตัวอย่างเป็นทีมนักข่าวช่อง 7 เพราะนอกจากการนำเสนอข่าวอย่างมีจรรยาบรรณในเหตุการณ์ของแตงโมแล้ว เหตุการณ์ที่ผ่านมาอย่าง ‘กราดยิงโคราช’ และ ’13 หมูป่า’ ก็ใช้โดรนในการให้ความช่วยเหลือด้วย ซึ่งนับว่าเป็นสื่อที่นำเสนอข่าวจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามบทบาทของสื่อ อย่างที่สื่อควรจะเป็นได้ และจากการแสดงความคิดเห็นเรื่องจรรยาบรรณสื่อของประชาชนต่อสื่อต่าง ๆ เราจึงรวบรวมวิธีในการนำเสนอข่าวจากช่อง 7 […]
‘Fake News’ หรือข่าวปลอม ที่ช่วงหลังมานี้ถูกนำมากล่าวถึงให้ได้ยินกันบ่อยขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลที่ได้ออกกฎหมายต่าง ๆ เพื่อลงโทษผู้ที่ปล่อย Fake News ออกมาทำให้ประชาชนหวาดกลัว ท่ามกลางความสงสัยของหลายคนว่า ตกลงนิยามของคำว่า Fake News มีความหมายไปในทางเดียวกันหรือไม่? ความหมายของ Fake News คือ ข่าวลวงหรือข่าวปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมา โดยไม่มีข้อมูลจริง (Fact) ข้อมูลผิด หรือไม่มีแหล่งข้อมูลที่สามารถยืนยันข้อมูลนั้นได้ บางครั้งข้อมูลเหล่านั้นก็ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีเจตนาเพื่อชวนเชื่อและนำผู้รับสารไปสู่ความเข้าใจผิดต่าง ๆ ซึ่งผลที่ตามมาคือ อาจมีคนบางกลุ่มตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อในข้อมูลข่าวสารผิด ๆ และแชร์ข้อมูลส่งต่อไปในวงกว้างมากขึ้น ยิ่งข้อมูลถูกเผยแพร่ไปในวงกว้ามากขึ้นเท่าไหร่ ความยากในการแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้อง และเปิดเผยข้อเท็จจริงให้ผู้รับสารกลุ่มนั้นทราบก็ยิ่งยากขึ้นเท่านั้น บางครั้งข่าวปลอมจึงอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีอีกฝ่ายนั่นเอง ทุกวันนี้ข้อมูลข่าวสารมีมากมาย จนบางครั้งก็ยากที่จะคิด วิเคราะห์ และแยกแยะให้ออกว่าอันไหนจริงอันไหนปลออม สำหรับ Fake News เองก็มีหลากหลายรูปแบบเช่นกัน วันนี้เราเลยจะพามารู้จัก 7 ประเภทของ ‘ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร (Information Disorder)’ เพื่อเตือนสติก่อนเสพข้อมูลข่าวสารกัน
หลังจากนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ได้รับอิสรภาพอีกครั้ง เนื่องจากได้รับการพักโทษและปล่อยตัวออกจากเรือนจำ เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา นี้ โดยมีเงื่อนไขต้องใส่กำไล EM หรือ กำไลอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวต่อไป รวมทั้งต้องรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติตามนัดนั้น ล่าสุดบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ได้ออกประกาศแต่งตั้ง สรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นที่ปรึกษาด้านข่าว ต่อ กรรมการผู้อำนวยการ สายธุรกิจโทรทัศน์ เพื่อให้คำปรึกษาในด้านการพัฒนารายการข่าว และให้คำแนะนำในด้านการปฏิบัติงานของฝ่ายข่าว เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และเสริมความสามารถในการแข่งขันของฝ่ายข่าวให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
สรุปประเด็นจาก iCreator Clubhouse เมื่อวันอังคารที่ 1 เมษายน 2021 กับ คุณธัญ-ธัญวัฒน์ อิพภูดม บรรณาธิการข่าวแห่ง The MATTER ที่เป็นทั้งนักเขียน และโฮสต์พอดแคสต์ Untitled Case กับ ‘เจาะลึก The MATTER สื่อออนไลน์ขวัญใจคนรุ่นใหม่’ ที่จะชวนมาเจาะลึกถึงการทำคอนเทนต์ในแบบ The MATTER ที่ถูกใจคนคนยุคใหม่บนโลกออนไลน์ วันนี้ RAiNMaker เลยสรุปคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับการทำสื่อออนไลน์ในแบบของคุณธัญ และ The MATTER มาฝากกันค่ะ
เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญใดใดขึ้น สื่อจะทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงในการบอกเล่าเรื่องราว ที่มาที่ไป และบทสรุป ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้และตัดสินใจของผู้รับสารเป็นอย่างมาก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สื่อต้องวางตัวเป็นกลาง และไม่ใส่เรื่องราวเพิ่มเติมลงไปในเนื้อหา เพื่อไม่ให้เกิดความอคติ (Bias) แต่หากสำนักข่าว รายงานข่าวหรือเหตุการณ์ที่ไม่ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ด้วยการนำเสนอเพียงบางส่วน หรือเอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ก็อาจเกิดเป็นข้อกังขา และทวงถามถึงความเหมาะสมของความเป็นสื่อได้ แน่นอนว่า Content Creator นั้นก็ถือเป็นสื่อเช่นเดียวกัน ในวันนี้ RAiNMaker ก็เลยขอหยิบยก 10 จรรยาบรรณสื่อสารมวลชนสากล (จากทั้งหมด 23 ข้อ ใน The Complete Reporter) มาให้ทุกคนดูกัน
วันนี้ (16 มี.ค.) News Corp บริษัทกลุ่มสื่อรายใหญ่ในออสเตรเลียได้ประกาศข้อตกลงกับเฟซบุ๊ก ในการทำข่าวลง Facebook News ซึ่งเป็นข้อตกลงระยะเวลา 3 ปี ในการรับเงินลงทุนเพื่อผลิตข่าวลงช่องทาง Facebook News และในข้อตกลงได้รวมไปถึงหนังสือพิมพ์ของออสเตรเลีย, เว็บไซต์ข่าว the news.com.au, The Daily Telegraph, Herald Sun และ The Courier-Mail ด้วย
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า