GoogleSEOWebsite

Avatar

Nokkaew December 21, 2019

ป้องกันการโดนละเมิดลิขสิทธิ์คอนเทนต์ ด้วยการใส่ Creative Commons บนเว็บไซต์

คนทำคอนเทนต์หลายคนเชื่อว่าต้องเคยมีประสบการณ์การโดนลอกบทความ หรือการถูกนำรูปภาพไปใช้โดยไม่ขออนุญาตมาก่อนกันบ้างอย่างแน่นอน โดยเฉพาะถ้าคุณมีเว็บไซต์ รูปภาพสวยๆ จากบทความที่ถูกพบได้ง่ายบน Google มักจะถูกคนอื่นนำไปใช้โดยที่เราไม่รู้ตัว

 

ความจริงแล้วทุกงานที่เกิดขึ้นมานั้นถูกคุ้มครองอยู่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ ผลงานทั่วไปจะมีลิขสิทธิ์อยู่ 2 แบบ ดังนี้

  1. Copyright สัญลักษณ์แสดงความเป็นเจ้าของโดยที่ไม่ให้ผู้อื่นนำไปใช้ในหากใครเห็นสัญลักษณ์ © หรือ All rights reserved อยู่ในหน้าเว็บไซต์ แสดงว่าเราไม่สามารถนำข้อมูลใดๆ จากเว็บไซต์นั้นมาใช้ หากไม่ได้รับการอนุญาต
  2. Public Domain หมายถึงผลงานที่เป็นสมบัติสาธารณะ ไม่ถือว่ามีใครที่เป็นเจ้าของ ใครก็สามารถนำไปใช้ได้

แต่ว่าผลงานที่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต หลายครั้งเราก็อยากให้คนอื่นนำไปเผยแพร่ได้ แต่อาจจะให้เครดิต หรือ backlink กลับมาหน่อย เราจะมีวิธีประกาศอย่างไรดีให้เข้าใจตรงกัน?

 

อะไรคือ Creative Commons

Creative Commons (CC) คือองค์กรไม่แสวงกำไรที่สร้างมาตรฐานการแจกจ่ายและการอนุญาตให้ใช้ข้อมูล สำหรับให้เจ้าของลิขสิทธิ์ยังสามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ และสามารถกำหนดเงื่อนไขการนำไปใช้ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปัน

ประมาณว่า ถ้าคุณเห็นสัญลักษณ์แต่ละแบบของ CC บนเว็บไซต์ จะได้เข้าใจตรงกันว่าเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นกำหนดสิทธิ์การเผยแพร่อย่างไรบ้าง และเมื่อถูกละเมิดจะสามารถเคลมได้ว่าเว็บไซต์ของเรากำหนดไว้แบบนี้ แต่คุณไม่ทำตามเงื่อนไข

 

รูปแบบของ Creative Commons ที่ควรทราบ

สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้ของ Creative Commons มีอยู่ด้วยกัน 4 แบบดังนี้

Attribution (BY)

สามารถนำเนื้อหาไปใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง โดยต้องให้เครดิตกลับมาที่เจ้าของผลงาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเจ้าของผลงานจะใส่วิธีการให้เครดิตไว้ด้วย เช่น การใส่ backlink, การใส่ชื่อนามปากกาในภาพ เป็นต้น

 

Share Alike (SA)

สามารถนำเนื้อหาไปใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง โดยงานที่นำไปใช้นั้นจะต้องใช้สัญญาการเผยแพร่แบบเดียวกัน (SA) ต่อไปด้วย

 

NonCommercial (NC)

สามารถนำเนื้อหาไปใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง โดยงานที่นำไปใช้นั้นต้องเป็นงานที่ไม่ใช่เพื่อการค้า

 

No Derivative Works (ND)

สามารถนำเนื้อหาไปใช้งาน ทำซ้ำ แต่ห้ามดัดแปลงชิ้นงานต้นฉบับ

 

การนำสัญลักษณ์ไปใช้งาน

รูปแบบของ label หรือป้ายกำกับเพื่อแจ้งสัญญาการนำไปใช้ของชิ้นงานจะมีสัญลักษณ์ CC ตามด้วยสัญลักษณ์ของสัญญาในรูปแบบต่างๆ โดยสามารถใส่เงื่อนไขต่างๆ ร่วมกันได้ ตัวอย่างตามภาพด้านล่าง

สามารถดาวน์โหลดภาพสัญลักษณ์สำหรับนำไปใช้ได้ที่ : creativecommons.org/about/downloads

 

การนำไปใช้งานบนเว็บไซต์อย่างถูกต้อง

การนำสัญลักษณ์ของ CC ไปใช้งานบนเว็บไซต์เพื่อที่จะแจ้งกับผู้เข้าชมว่าคุณต้องการแบ่งปันในรูปแบบใด ในเบื้องต้นสามารถนำ label ไปแปะในหน้าเว็บได้เลย ส่วนมากจะนำไปวางที่ท้ายบทความ หรือส่วน footer ของเว็บไซต์

แต่การวาง label ในรูปแบบดังกล่าวยังไม่สามามารถทำให้ Search Engine ทั้งหลายทราบได้ว่าการแบ่งปันของเรามีเงื่อนไขอย่างไร

เพื่อให้ทั้งคนและหุ่นยนต์เข้าใจสัญลักษณ์ที่เราใส่ สามารถทำได้ตามนี้

 

เข้าไปที่ https://creativecommons.org/choose/?lang=th

เลือกเงื่อนไขสัญญาต่างๆ ของชิ้นงานที่ต้องการ จากนั้นระบบจะทำ Label ออกมาให้ สะดวกมาก

 

ถ้าต้องการนำไปใช้บนเว็บไซต์ สามารถ copy code HTML ที่ระบบสร้างขึ้นมาให้ไปใช้งานได้เลย ถ้าบน WordPress ก็สามารถนำไปวางบน widget หรือท้ายบทความได้ หรือบน footer ของเว็บไซต์ได้เลย

โดย code ส่วนนี้ Search Engine ทั่วไปจะเข้าใจทันทีว่าเรามีเงื่อนไขการแบ่งปันคอนเทนต์อย่างไรบ้าง

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save