Get to know ‘Digital Nomad’ ตอบโจทย์คนรักอิสระ ด้วยการทำงานแบบ Remote Job

หลังจากผ่านยุคโควิดระบาดหนักไป ทำให้ใครหลาย ๆ คนติดการทำงานแบบ Work from anywhere มากกว่าการที่ต้องเข้าออฟฟิศ 5 วันต่อสัปดาห์และทำให้บริษัทหลาย ๆ แห่งตระหนักได้ว่าการดำเนินการของบริษัทสามารถรันต่อไปได้แม้พนักงานไม่เข้าออฟฟิศ ทำให้เกิดการทำงานแบบ Hybrid หรือก็คือ Work from Home ผสมกับการเข้ามาทำงานที่บริษัท 

แต่หลายธุรกิจที่เน้นระบบออนไลน์หรือการทำงานเกี่ยวกับ Data เป็นหลักก็ได้ผุดเทรนด์การทำงานใหม่ที่พนักงานไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศเลย ขอเพียงอัปเดตปลดส่งงานให้ทันตามกำหนดก็เป็นพอ โดยการทำงานในลักษณะ Remote Job แบบนี้ก็มีอีกชื่อเรียกว่า “Digital Nomad” ที่หลายคนยังไม่รู้จักมัน ในวันนี้ RAiNMaker จะพาผู้อ่านมาทำความรู้จักอาชีพนี้ และแชร์หนทางหรือไอเดียบางอย่างให้กับเหล่าคนที่มองหาการทำงานนอกออฟฟิศ!

❓Digital Nomad คืออะไร❓

‘Digital Nomad’ คำว่า Digital ก็คือการทำบนโลกออนไลน์ที่ข้อมูลสามารถเชื่อมต่อกันได้ทั่วโลกด้วยสัญญาณอินเตอร์เน็ต ส่วนคำว่า ‘Nomad’ นั้น ความหมายตรงตัวของมันก็แปลว่า เร่ร่อน เทียวไป-มาตามสถานมี่ต่าง ๆ ซึ่งสิ่งนี้เองเป็นจุดเด่นคนประกอบอาชีพนี้ที่จะสามารถเดินทางไปที่ไหนบนโลกใบนี้ก็ได้แต่ข้อแม้คือก็ต้องทำงานให้สำเร็จตามที่ตกลงกับบริษัทหรือผู้จ้างงานไว้ด้วย

หรือจะแปลให้เข้าใจง่าย ๆ คือ Backpacker ที่ทำงานไปด้วย หรือคนที่สามารถทำงานได้จากทุกที่บนโลก เพียงมีแล็ปท็อปและอินเทอร์เน็ตที่เร็วพอ โดยมีทั้งแบบงานประจำและแบบ Freelance ที่ก็ต่างกันตรง แบบ Freelance นั้นคุณไม่ต้องผูกมัดกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งและจะไม่มีรายได้ประจำนั่นเอง

ซึ่งกลุ่มอาชีพที่สามารถทำงานในลักษณะ Nomad นี้ได้ก็มีหลากหลายแต่ส่วนใหญ่ก็เป็นงานที่อาศัยการทำแบบออนไลน์ โดยแบ่งสายงานหลัก ๆ ไว้ดังนี้ 

*เรทเงินเดือนที่กำลังจะพูดถึงต่อไป เป็นเพียงตัวเลขโดยประมาณที่อ้างอิงจากบริษัทใหญ่ ๆ โดยต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก https://contentshifu.com/blog/digital-nomad#i-3

 

📊 สายการตลาด 

  • SEO Specialist 

SEO หรือ Search Engine Optimization กลายเป็นทักษะที่สำคัญในยุคการตลาดดิจิทัลที่เราต้องทำให้แบรนด์ของเราเข้าถึงการรับรู้จนไปสู่ขั้นต่าง ๆ ใน Customer Journey ให้ได้ผนวกกับการแข่งขันที่สูงปรี๊ดในวงการสื่อออนไลน์ 

การที่แบรนด์ตามทันเทรนด์การค้นหาใน Google, Facebook หรือ TikTok ที่มาแรงในแต่ละช่วงนั้นย่อมเป็นประโยชน์ต่อการทำการตลาด ดังนั้นคนที่ทำตำแหน่งนี้ต้องผู้ที่คอยติดตามเทรนด์โซเชียลอย่างสม่ำเสมอว่าอะไร ณ ช่วงเวลาต่าง ๆ ที่คนพูดถึงเยอะ และอะไรคือ Keyword ที่นำไปสู่การเข้าถึงของคนจำนวนมาก นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มอันดับของเว็บไซต์ให้สูงขึ้นบน Google อีกด้วย

💵 เรทเงินเดือนของตำแหน่งนี้ในการเป็น Digital Nomad จะอยู่ที่ $3,200-$6,080 หรือ 110,400 -209,760 บาท ต่อเดือน (คิดจากเรท $20-$38/ชั่วโมง)

  • Social Media Manager 

สาย Extrovert เข้าสังคมเก่งถูกใจใช่เลยเพราะตำแหน่งนี้มีหน้าที่รับผิดชอบในทุกด้านของกลยุทธ์โซเชียลมีเดียของแบรนด์ โดยต้องคอยติดตามข่าวสารโซเชียล รวมถึงเทคนิกการทำการตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำมาคิดกลยุทธ์โน้มน้าวใจคนอีกด้วย 

นอกจากนี้ต้องเป็นคนที่แอคทีฟต่อการหาไอเดียใหม่ ๆ เพื่อมาสร้างคอนเทนต์เพิ่มยอด Engagement ให้กับแบรนด์ และยังต้องคอยติดตาม ตอบคำถาม และรับฟัง Feedback จากลูกค้าเพื่อสร้าง Brand Royalty รวมถึง Brand Awareness จนกระทั่งยอดขาย เรียกได้ว่าเกือบครบวงจรการทำแบรนด์เลยจริง ๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่คนทำตำแหน่งนี้ต้องมีคือทักษะการคุยกับผู้คน ทักษะการเจรจา และความเข้าใจโซเชียลมีเดียนั่นเอง

💵 เรทเงินเดือนจะอยู่ที่ประมาณ $2,720-$5,920 หรือ 93,840-204,240 บาท ต่อเดือน (คิดจากเรท $17-$37/ชั่วโมง)

 

👩🏻‍💻 สายเทคโนโลยี

  • Web Developer

แค่ชื่อก็เท่แล้วกับตำแหน่ง ผู้พัฒนาเว็บ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อาศัยทักษะเฉพาะทางพอสมควร ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีโดยตรงเพราะหน้าที่หลัก ๆ คือการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์และยังต้องคอบตรวจตราว่าแบรนด์หรือบริษัทของเราทำงานได้อย่างถูกต้องราบรื่นในทุก ๆ แพลตฟอร์ม และยังต้องทำให้แน่ใจว่าโค้ดในแต่ละแพลตฟอร์มที่ติดตั้งไว้นั้นจะถูกปรับให้เหมาะกับเครื่องมือการค้นหาชนิดต่าง ๆ ในความเร็วที่เหมาะสม

ใครเรียนเกี่ยวกับการสร้างและดูแลเว็บไซต์มาห้ามพลาดเลยนะ ทำงานที่ไหนก็ได้แถมยังเงินดีอีก!

💵 เรทเงินเดือนจะอยู่ที่ประมาณ $4,000-$8,800 หรือ 138,000-303,600 บาท ต่อเดือน (คิดจากเรท $25-$55/ชั่วโมง)

  • Programmer

ตำแหน่งนี้คล้ายกับตำแหน่งก่อนหน้าแต่จะเน้นไปที่การเขียนโปรแกรมหรือเขียนโค้ดมากกว่า โดยหน้าที่ของตำแหน่งนี้คือการสร้างแอปพลิเคชันที่ช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคนั่นเอง

💵 เรทเงินเดือนจะอยู่ที่ประมาณ $3,840-$8,000 หรือ 132,480-276,000 บาท ต่อเดือน (คิดจากเรท $24-$50/ชั่วโมง)

 

🎨 สายครีเอทีฟ

  • Content Writer 

ตำแหน่งสำหรับสายคนรักการเขียน โดยรูปแบบการเขียนก็จะมีหลากหลายตั้งแต่การเขียนบทความ เขียนข่าว เขียนบทวิจารณ์ เขียนคำโฆษณา รวมถึงการเขียนแก้เป็นต้น 

โดยคุณสามารถสร้าง Portfolio งานเขียนของตนเองได้ง่าย ๆ ใน Gig Profile Website หรือ WordPress เพื่อให้ผู้คนในโลกออนไลน์สามารถเข้าถึงผลงานของคุณได้ หรือาจจะสร้าง Page Facebook หรือ Blockdit ของตนเองขึ้นมาก็ได้เช่นกัน

หัวใจสำคัญของการทำตำแหน่งนี้คือการที่คุณตั้งใจสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพออกมาและส่งงานอย่างตรงเวลาก็ทำให้คุณสามารถหารายได้ที่มั่นคงจากสิ่งที่คุณรักได้แล้ว! 

💵 เรทเงินเดือนจะอยู่ที่ประมาณ $2,080-$8,000 หรือ 71,760฿-276,000฿ ต่อเดือน (คิดจากเรท $13 -$50/ชั่วโมง)

  • Graphic Designer 

หากคุณรู้ตัวว่าตนเองชอบงานดีไซน์ การใส่องค์ประกอบ จับคู่สี รวมถึงออกแบบฟอนต์ต่าง ๆ ตำแหน่งนี้ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในโลกที่แบรนด์แข่งกันทำการตลาด กราฟิกดีไซน์ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภคได้ดี และจะเห็นได้ว่าแม้หลายบริษัทจะมีการว่าจ้างพนักงานประจำ แต่ตำแหน่งงานนี้เองก็มีความยืดหยุ่นหรือสามารถทำงานจากทางไกลได้เช่นกัน!

💵 เรทเงินเดือนจะอยู่ที่ประมาณ $2,720-$4,480 หรือ 93,840-154,560 บาท ต่อเดือน (คิดจากเรท $17-$28/ชั่วโมง)

  • YouTuber

อาชีพในฝันของคนรุ่นใหม่หลายคน เนื่องด้วยแพลตฟอร์ม YouTube เติบโตอย่างมากในช่วงหลังที่ผ่านมาผู้ใช้มากกว่า 2 พันล้านคนเข้าชมคอนเทนต์วิดีโอบน YouTube ทุกเดือน ทำให้เกิดครีเอเตอร์หน้าใหม่ไฟแรงมากมาย 

เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่ได้ทำอะไรตามแพสชันของตนเองและสามารถหารายได้ไปด้วยได้โดยหลักการของมันคือยิ่งคุณเผยแพร่เนื้อหาออกมาให้ผู้คนได้ติดตามมากเท่าไร คุณก็จะมีโอกาสในการสร้ายรายได้มากขึ้นเท่านั้น ขอเพียงแค่คุณคอยอัปเดตคอนเทนต์ใหม่ ๆ และนำเสนอให้มีความน่าสนใจและเข้ากับยุคสมัยก็เพียงพอ

💵 เรทเงินเดือนจะอยู่ที่ประมาณ $2,560-$5,760 หรือ 88,320-198,720 บาท ต่อเดือน (คิดจากเรท $16-$36/ชั่วโมง)

 

👨🏻‍💼 สายธุรกิจ 

  • Business Consulting 

Business Consulting หรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ เป็นตำแหน่งที่คอยให้คำแนะนำกับแบรนด์เกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงผลการดำเนินธุรกิจและเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานว่าแบรนด์ควรจัดระเบียบและกำหนดทิศทางรวมถึงกลยุทธ์การโฆษณาไปทางไหน

โดยสิ่งที่ตำแหน่งนี้ต้องมีเลยคือข้อมูลและทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งคุณสามารถทำตำแหน่งนี้แบบขึ้นตรงกับแบรนด์เลยก็ได้หรือคุณอาจเลือกอีกวิธีหนึ่งที่เป็นยอดนิยม นั่นคือการแบ่งปันความรู้ของคุณให้แก่แบรนด์ต่าง ๆ ได้ ผ่านการสร้างหลักสูตรการสอนออนไลน์ในการแชร์เคล็ดลับหรือคำแนะนำในการดำเนินธุรกิจนั่นเอง

💵 เรทเงินเดือนจะอยู่ที่ประมาณ $5,600-$12,640 หรือ 193,200-425,730 บาท ต่อเดือน (คิดจากเรท $35-$79/ชั่วโมง)

 

 🗂️ สายการจัดการ  

  • Visual Assistant 

ทักษะที่สายนี้คสรมีก็จะคล้ายกับตำแหน่ง Human Resource หรือ HR ที่ต้องสามารถจัดการด้านบุคลากรได้ โดยหน้าที่หลักก็จะมี การกรอกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ ตอบอีเมล ตอบข้อความ การจัดวันเวลาในการนัดหมาย และงานดูแลอื่น ๆ เช่น เป็นแอดมินดูแลแพลตฟอร์มบนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการดำเนินการโดยรวมของบริษัทเป็นไปได้ด้วยดี

และข้อดีของงานนี้คือคุณไม่จำเป็นต้องมีทักษะด้าน IT ที่ซับซ้อนและตำแหน่งนี้ยังมีความต้องการมากในแถบสหรัฐอเมริกาและยุโรปอีกด้วย โดยการที่สามารถทำงานแบบ Remote Job ได้ นั่นก็หมายความว่าคุณสามารถรับค่าแรงเรทสูงจากประเทศต้นสังกัดได้โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าครองชีพที่สูงของประเทศนั้น ๆ เมื่อต้องอยู่อาศัยแบบตั้งหลักปักฐานฐาวร

💵 เรทเงินเดือนจะอยู่ที่ประมาณ $1,600-$4,800 หรือ 55,200-165,600 บาท ต่อเดือน (คิดจากเรท $10-$30/ชั่วโมง)

 

📖 สายการศึกษา 

  • Online Teacher 

‘เหล่าซือหนีฮ่าว ไจ้เจี้ยนเหล่าซือ’ ใครสายวิชาการรักการสอนฟังทางนี้ เพราะอาชีพครูสอนพิเศษออนไลน์ก็เป็นหนึ่งในกลุ่ม Digital Nomad นะ! โดยเฉพาะการสอนภาษาทำให้การที่นักเรียนจะเข้ามาเรียนกับคุณจะมีหลากหลาย มิหนำซ้ำคุณยังได้ฝึกใช้ทักษะภาษาที่สั่งสมมานาน และอาจจะทำให้ได้เพื่อนใหม่หรือคอนเนกชันดี ๆ อีกด้วย 

ไม่เพียงเท่านั้น ด้านอื่น ๆ ที่เป็นทักษะเสริมอย่าง การเขียนโค้ด หรือการทำการตลาดออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่คนยุคนี้ต้องการเรียนรู้ เพราะก็ต้องยอมรับว่าเรื่องเหล่านี้ก็อยู่รอบตัวเราตั้งแต่ตื่นจนนอนเช่นกัน โดยที่แต่ละวิชาเองก็จะมีแพลตฟอร์มในการสอนแตกต่างกันไปนั่นเอง เช่น สายภาษาก็อาจจะใช้ ‘Preply’ แพลตฟอร์มที่ครูสามารถเป็นผู้กำหนดอัตราค่าเรียนได้เอง หรือ ‘EF Online Teach Abroad’ เป็นต้น แต่หากเป็นการสอนอื่น ๆ ก็อาจจะใช้แพลตฟอร์มสากลอย่าง Microsoft Team, Zoom หรือ Google Meet ก็ได้เช่นเดียวกัน

💵 เรทเงินเดือนจะอยู่ที่ประมาณ $2,560-$4,000 หรือ 88,320-138,000 บาท ต่อเดือน (คิดจากเรท $16-$25/ชั่วโมง)

 

ซึ่งอาชีพที่ยกตัวอย่างไปนั้นก็ฟังดูเหมือนจะเป็นสายอาชีพที่ตอบโจทย์กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยากทำงานที่ตรงกับความชอบของตน แถมยังไม่ชอบอยู่กับที่ อยากเดินทางไปค้นหาชีวิตและสร้างความหมายบางอย่างให้กับชีวิต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกลักษณะอาชีพก็มีข้อดี-ข้อเสียของมัน งั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า Digital Nomad มีสองด้านนี้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ข้อดี

  • อิสระ ไปไหนก็ได้

‘You Only Live Once’ ประโยคเด็ดที่หลายคนเอามาเป็นคติเตือนใจในการชีวิต แต่ก็ต้องติดกับดักโลกทุนนิยมที่ต้องเข้าออฟฟิศ 5 วันต่อสัปดาห์ ที่ใน 1 ปีก็สามารถลาพักร้อนยาว ๆ ได้แค่ไม่กี่ครั้ง แล้วเมื่อไรจะได้ Live the life สักทีล่ะเนี่ย? 

อย่าห่วง ‘Digital Nomad’ ตอบโจทย์คุณได้ เพียงหาโอกาสให้ตนเองผ่านการสร้างผลงานให้ตรงตามตำแหน่งที่ได้ยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้ คุณก็เริ่ม Live ในขณะที่ก็ยัง Work ได้แล้วหละ! 

  • เวลาทำงานยืดหยุ่น

ไม่มีอีกแล้ว เริ่มงาน 8 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็น คุณสามารถจัดสรรเวลาทำงานของตนเองได้ตามแต่ละไลฟ์สไตล์ ขอแค่สามารถส่งงานตรงตามเวลาที่ได้ตกลงไว้กับบริษัทหรือนายจ้างก็พอ 

  • ได้ค้นหาชีวิตผ่านการเดินทาง

ข้อเด่นที่ชัดที่สุดของ Digital Nomad เลยคือการที่คุณสามารถท่องเที่ยวไปที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้ขอแค่ที่แห่งนั้นเอื้ออำนวยด้านสถานที่และอินเตอร์เน็ต แค่นี้การเที่ยวไปทำงานไปหรือ Work and Travel ก็เป็นได้มากกว่าฝันแล้ว! หรือบางบริษัทจะมีการส่งคุณไปอยู่ ณ ที่ต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยจะซัพพอตค่าเครื่องบินขาไปและกลับให้ มากไปกว่านั้นอาจจะมีค่าที่อยู่อาศัยให้ด้วย! สิ่งนี้ก็ช่วยให้คุณสามารถเที่ยวแบบประหยัด Budget ไปได้อีกนะ

ข้อเสีย

  • ความรับผิดชอบมากขึ้น

แน่นอนว่าเมื่อไม่มีบริษัทที่มาคอยกำหนดสิ่งที่คุณต้องทำในแต่ละวันหรือแม้แต่กำหนดเวลาทำงานให้คุณ แต่สุดท้ายปลายทางคุณต้องส่งงานเหมือนเดิม ทำให้ตัวคุณเองต้องเป็นเจ้านายตัวเองในการวางแผนการทำงานเพื่อให้สำเร็จลุล่วงได้ตามเป้า 

  • ยากต่อการเซต Routine 

อย่างที่บอกไปว่าเมื่อไม่มีใครมาคอยกำหนดเวลาเข้า-เลิกงานแล้ว คุณเองที่จะต้องจัดการทุกอย่างและมันอาจจะต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งในการปรับตัวให้คุ้นชินกับสถานที่ใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังไม่มีอะไรมารับประกันว่าคุณจะทำอะไรซ้ำ ๆ ในทุกวันเพราะเมื่อคุณเป็นอิสระแล้ว คุณสามารถออกไปท่องเที่ยว กิน หรือชิลที่ไหนก็ได้ 

และหากคุณจัดการเรื่องเวลาได้ไม่ดีพอก็อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคุณแย่ลง จนอาจเกิดปัญหากับบริษัทหรือผู้จ้างงาน และหากเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เกิดอาการ Burn Out ได้ ดังนั้นคุณควรรู้จักนิสัยตัวและพยายามบังคับตัวเองให้อย่างน้อยมี Routine หลัก ๆ 2-3 อย่างใน 1 วันก็ยังดี 

  • ความเหงาและโดดเดี่ยว

หนึ่งใน Pain Point ของชาว Nomadics คือเมื่อคุณต้องเดินทางไปไหนมาไหนเพื่อเปลี่ยนที่อยู่เรื่อย ๆ และหลายครั้งที่คุณต้องไปคนเดียวหรือต้องใช้ชีวิตแบบอิสระ ให้ได้ แม้คุณจะไปเจอผู้คนใหม่ ๆ เสมอแต่คนเหล่านั้นก็จะเข้ามาแค่ชั่วคราวและสุดท้ายพวกคุณก็ต้องจากกัน เพราะลักษณะอาชีพมันเป็นแบบนั้น หากคุณสามารถรับมือกับความเหงาและปรับตัวได้ก็ไม่มีอะไรต้องห่วง

 

👨🏻‍⚖️ เมื่อรู้จักอาชีพนี้มากขึ้นแล้ว มาดูกันดีกว่าว่ามีประเทศใดในโลกบ้างที่ตอนนี้กำลังสนับสนุนให้มี Nomadics ในประเทศของพวกเขาเยอะ ๆ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศและส่งเสริมให้ผู้คนปลดล็อกศักยภาพการทำงานต่าง ๆ เมื่อชีวิตไม่ต้องวนอยู่กับที่ทำงาน แถมมีการออกวีซ่าให้กับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะอีกด้วย! 

  • อินโดนีเซีย 🇮🇩

-ค่าครองชีพถูก

-Co-Working Space และร้านกาแฟมากมาย ให้คุณได้เลือกเข้าไปนั่งทำงานได้ 

-รัฐบาลกำลังมีแผนออกวีซ่าแบบ 5 ปีสำหรับชาว Nomadics 

  • สเปน 🇪🇸

-มีวีซ่าแบบ 1 ปี และเมื่อถึงสเปนแล้วสามารถสมัคร Residency Permit แบบ 3 ปี และสามารถต่ออายุวีซ่าได้ 2 ปี รวมเป็นสูงสุด 5 ปี 

-ผู้ที่ได้วีซ่าแบบ Remote Worker สามารถสมัคร Residency Card และท่องเที่ยวเข้าออกประเทศใน EU ได้ไม่จำกัด ขณะพักอยู่ในประเทศสเปน 

  • โปรตุเกส 🇵🇹

-มีวีซ่าประเภท D7 

ซึ่งเป็นประเภทวีซ่าที่เหมาะสำหรับกลุ่ม Digital Nomad โดยวีซ่ามีอายุ 1 ปีที่สามารถต่อได้สูงสุดถึง 5 ปี และหลังจาก 5 ปีแล้วสามารถเปลี่ยนเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรได้อีกด้วย! 

  • เม็กซิโก 🇲🇽

-มีวีซ่าท่องเที่ยวที่อายุนานถึง 6 เดือนเหมาะสำหรับ Nomadics ที่จะไปอยู่ในระยะสั้น ๆ ก็ขอวีซ่าแบบท่องเที่ยวเพื่อลดความยุ่งยากของเอกสาร 

-มีวีซ่าผู้พำนักชั่วคราวซึ่งอนุญาตให้อยู่ได้นาน 1 ปี และสามารถต่ออายุได้หลังจากนั้นอีก 3 ปี

-ค่าครองชีพต่ำ

-มีบริการจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราวให้แก่เหล่า Remote Worker ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนเองมีรายได้ในการเลี้ยงชีพตัวเองอย่างเพียงพอ

  • เยอรมนี 🇩🇪

-วีซ่าสำหรับ Freelance ที่เรียกว่า “Aufenthaltserlaubnis für selbständige Tätigkeit” โดยอยู่ได้สูงสุด 3 ปี 

  • ไทย 🇹🇭

-ยังไม่มีวีซ่าสำหรับ Digital Nomidics โดยเฉพาะ

-ค่าครองชีพถูก แถมมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามรวมถึงความสามารถในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้หลากหลายพื้นที่ ทำให้ชาวต่างชาติมีประเทศไทยเป็น จุดมุ่งหมายต้น ๆ ในการ Work and Travel 

นอกจากนี้จังหวัดในประเทศไทยของเรายังติดอันดับ Top 10 สถานที่ที่คนทั่วโลกเข้ามาทำงานแบบ Digital Nomad กันถึง 3 อันดับ อ้างอิงจากเว็บไซต์ https://nomadlist.com/bangkok โดยกรุงเทพมหารนครของเราถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 2 รองมาเป็นจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในอันดับที่ 5 และเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีตามมาติด ๆ เป็นอันดับที่ 8 

เห็นแบบนี้แล้วประเทศไทยของเราก็ถือเป็นประเทศยอดฮิตของต่างชาติในการทำงานในลักษณะนี้ และคาดว่าในอนาคตทางภาครัฐอาจจะมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการทำวีซ่าที่เป็นกิจจะลักษณะเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ที่ยกตัวอย่างไป 

และสำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางการทำงานทั้งแบบงานประจำและแบบ Freelance ที่สามารถเอาตัวเองไปอยู่ส่วนไหนของโลกก็ได้ ก็อย่าลืมนำไอเดียจากบทความนี้ไปลองศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมดู

สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกคนได้ ‘Live the life you dream of’ นะคะ

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save