รวม 10 Graphic Design Trends 2025 สำหรับวงการงานดีไซน์

ปัจจุบันเทรนด์การดีไซน์สำหรับชาวกราฟิก ไม่ใช่แค่การออกแบบให้มีความแตกต่าง แต่องค์ประกอบที่มีทั้งหมดต้องสามารถสื่อสารได้แม้การมองเพียงครั้งแรก หรือมีเรื่องราวให้เล่า เพื่อเข้าสู่การเป็น ‘Graphic’ Storytelling’ มากขึ้น  ทำให้ ’10 Graphic Design Trends 2025′ ที่ RAiNMaker จะมาแชร์ในวันนี้ เต็มไปด้วยสไตล์ที่หลากหลาย แต่นำไปต่อยอดได้มากกว่าที่เห็น!

จากการอัปเดตเทรนด์ในวงการกราฟิกของ Graphic Mama ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่า ทั้งดีไซน์แบบมีความฉูดฉาดชัดเจน (bold) หรือซับซ้อนต้องทำความเข้าใจ (abstract) ไปจนถึงการสร้างบรรยากาศที่หวนให้นึกถึงอดีต (Nostalgia) ก็ล้วนนำมาสร้างแรงบันดาลใจได้ โดยเริ่มจาก

Conceptual & Abstract Design

ในปี 2025 การดีไซน์แบบ Abstract องค์ประกอบของงานดีไซน์ประเภทนี้จะถูกเซทให้อยู่เหนือกว่ารูปทรงที่ควรจะเป็น หรือรูปร่างที่ยึดตามอุดมคติไว้ เพราะ Abstract แปลว่าอิสระ และอิสระนี้ก็สามารถประกอบรวมกันยังไงก็ได้เพื่อให้เล่าเรื่องได้ โดยจะสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา หรือสื่อสารโดยผ่านการใช้ความคิดก่อน ถึงจะเข้าใจก็ทำได้

ซึ่งเทรนด์นี้ถูกขับเคลื่อนมาจาก Digital Tool และ AI ที่กำลังบูม และองค์ประกอบแบบ Abstract ก็มักจะเน้นไปที่การมีสีสัน รูปร่าง และลักษณะพื้นผิวที่ดูซับซ้อน แต่กลับทำให้สนุก และมีเอเนอจี้บางอย่างเวลามอง

แต่ส่วนใหญ่หากมีรูปร่างที่เรียบง่ายแล้ว สีสันจะยิ่งทำให้ฉูดฉาด และมีลูกเล่นมากขึ้น รวมถึงสร้างเลเยอร์ให้กับองค์ประกอบเพิ่มขึ้น พร้อมกับลักษณะพื้นผิวที่แตกต่างกัน แต่มาอยู่รวมกันได้ ทำให้ดีไซน์แบบ Abstract มีสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ และน่าจดจำ

แต่ในปี 2025 จะเน้นไปที่องค์ประกอบแบบ ‘Geometric style’ ค่อนข้างเยอะ และจะใช้สีเอิรธ์โทนมากกว่าสีฉูดฉาด แต่จะเพิ่มเรื่องของลักษณะพื้นผิวของอค์ประกอบที่น่าสัมผัสมากขึ้น เช่น ผ้า, พลาสติก, บอลลูน หรือเมทัลลิก เป็นต้น

Storytelling Animation

แอนิเมชัน (Animation) กลายมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยยกระดับ และสร้างพลังมากขึ้นในการเล่าเรื่องให้มี Storytelling และเหนือกว่าวิชวลที่ได้เห็น เพราะแอนิเมชันสามารถกลายเป็นเรื่องราวของผู้คนในชีวิตจริงได้ (Personalized)

ซึ่งแอนิเมชันมีการขับเคลื่อนแบบ AI-driven และ Real-time animations ที่สามารถอะแดปให้เข้ากับบุคลิก และพฤติกรรมของแต่ละคน เพื่อสร้างเส้นทางที่ทำให้ผู้คนรู้สึกเหมือนกัน ด้วยการสร้าง transitions และ organic motion ที่เข้าใจง่าย ทำให้งานดีไซน์สมูทเมื่อเป็นภาพเคลื่อนไหว

ซึ่งแอนิเมชันในปัจจุบันที่ผู้คนให้ความสนใจ มักจะผสมผสานความเรียล และทำให้สมจริง มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น เพื่อทำให้ไดนามิกในการสร้าง  story-driven visuals มีความแข็งแรง ซึ่งเป็นวิธีส่วนที่แบรนด์ดังใหญ่ ๆ ชอบใช้ในการสื่อสาร เพื่อทำให้ Storytelling ในคอนเทนต์มีอะไรให้น่าติดตามจนดูจบมากขึ้น

Emotion-Powered Characters

นอกจากแอนิเมชันที่ช่วยมาเติมสีสันให้กับวงการกราฟิกดีไซน์แล้ว ปี 2025 ก็ยังมีการสร้างคาแรกเตอร์ที่ถูกจุดประกายขึ้นมาเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคาแรกเตอร์ในรูปแบบ 2D หรือ 3D ก็ตาม แต่จะต้องทำให้คาแรกเตอร์ที่ถูกสร้างมามีการขยับ และเคลื่อนไหวที่สมูทที่สุดเท่าที่จะทำได้

แต่นอกจากการเคลื่อนไหวแล้ว การใส่ไดนามิกให้คาแรกเตอร์มีโทนเสียง สีหน้า ท่าทาง และอารมณ์ที่อิงจากสิ่งที่มนุษย์เป็นก็จะยิ่งทำให้เกิดความเชื่อในคาแรกเตอร์เหล่านั้นมากขึ้น

โดยคาแรกเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมักจะปรากฏที่เว็บไซต์ กราฟิก หรือแอนิเมชันดีไซน์ เพื่อทำให้การสื่อสารอิมแพค หรือใช้ความเป็นมนุษย์เข้าถึงผู้คนด้วย

New Naturalism

งานดีไซน์แบบ ‘Naturalism’ จะมีมู้ดโทนที่แตกต่างจาก Abstract โดยสิ้นเชิง เพราะเต็มไปด้วยองค์ประกอบแบบสมมาตร และใช้ organic elements เป็นหลัก รวมถึงมีการใช้สีเอิร์ธโทนเพื่อดึงความเป็นธรรมชาติ และให้โปรดักต์ดูโดดเด่นด้วย

ไม่ว่าจะเป็นสี moss green, terracotta และ deep browns ก็จะเข้ากันได้ดีกับงานดีไซน์แบบนี้ พร้อมกับการใช้ลักษณะพื้นผิวเพื่อสื่อถึงความธรรมชาติ และดูเป็นมิตรอ่อนโยนกับทุกคน เช่น พื้นผิวแบบไม้ หรือเซรามิก และก้อนหิน หรือปูนเปลือย เป็นต้น

ซึ่งการจัดวางยังเน้นความเรียบง่าย (Minimal) อีกด้วย และเพราะความเรียบง่ายนี้ จึงทำให้การดีไซน์แบบ Naturalism ให้ความรู้สึกนิ่ง และสงบ และคอนเน็กกับสายตาเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้ไม่ยาก

Retro Vibes 

ยุคสมัยเปลี่ยน กาลเวลาเปลี่ยน เทรนด์เปลี่ยน แต่งานดีไซน์กลับสามารถย้อน และหวนให้นึกถึงอดีตที่ผ่านมาได้อยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะองค์ประกอบต่าง ๆ ที่แสดงถึงความคิดถึง (Nostalgis) ได้ แต่ในปี 2025 ความ Nostalgia จะถูกนำมาจัดองค์ประกอบให้มีความโมเดิร์น มากกว่าที่จะจัดวางแบบเดิม

เป็นงานดีไซน์ที่ที่สามารถนำการ์ตูน คาแรกเตอร์ หรือองค์ประกอบแบบวินเทจกลับมาทำให้มีชีวิตชีวากว่าเดิมได้ ไม่ว่าจะเป็นการผสมสไตล์กับ neo-brutalism, neo-psychedelia หรือ vintage ก็ตาม แต่ความวินเทจในปีนี้จะเน้นไปที่ความนุ่มนวลของสี และเอฟเฟกต์แบบ 3D มากกว่า

ส่งผลให้งานดีไซน์ดูมีมิติ และคาแรกเตอร์โดดเด่นออกมาง่ายขึ้น เหมาะสำหรับงานที่ต้องการใช้ความ Nostalgia มาดึงดูด และทำให้ดูจับต้องได้มากขึ้นนั่นเอง

Personalization Design

การออกแบบงานดีไซน์ Personalization หรือปรับแต่งหน้าอินเทอร์เฟซ และ UX/UI ให้มีความเป็นกันเอง และแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมของผู้ใช้แต่ละคน ถูกทำให้มีวิวัฒนาการมากขึ้น เพราะต้องสร้างไดนามิกในงานที่สามารถสร้างความเคลื่อนไหวได้

โดยเฉพาะในยุคที่มี AI เข้ามา ก็จะยิ่งทำให้งานดีไซน์แบบ Personalization ปรับเปลี่ยนได้แบบเรียลไทม์ และสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้คนได้ ไม่ว่าจะผ่านทางองค์ประกอบของเลย์เอาท์, สีสัน หรือคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่ถูกคิดลำดับมาอย่างดี

และความเรียบง่าย แต่ดูมีลูกเล่นก็จะยิ่งทำให้ได้รับฟีดแบ็กที่ยูนีค รวมถึงเป็นการขออนุญาตให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับปบรนด์ได้ ผ่านการตอบสนองกับแบรนด์ที่เต็มใจมากขึ้นด้วย

Minimal Aesthetics

งานดีไซน์แบบมินิมอล (Minimal) มีความคล้ายคลึงกับ New Naturalism เพียงแต่จะโฟกัสไปที่ความเรียบง่ายในการจัดองค์ประกอบมากกว่าเรื่องของลักษณะพื้นผิวที่มีความเลียนแบบมากจากความธรรมชาติ ซึ่งสีที่ใช้ของงาน ก็เพื่อทำให้ตัวโปรดักต์โดดเด่นมากขึ้น

แต่เรื่องของสีก็สามารถใช้สลับกัน โดยยังคงความเป็นสีที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้อยู่ เช่น โปรดักต์สีโทนร้อนสว่าง แต่ก็ใช้สีโทนเข้มกว้ามาตัดเพิ่มได้ นอกจากนี้ยังสามารถเติม creative typography หรือ layout ที่เพิ่มมิติ หรือเพิ่มความสงสัยให้กับโปรดักต์ก็ได้เช่นกัน

แต่หากจะใช้งานดีไซน์แบบ Minimal Aesthetics จะเหมาะสำหรับการสื่อสารที่เน้นการดึงดูดสายตา โดยไม่ได้ทำให้ผู้คนที่พบเห็นรู้สึกถูกยัดเยียดให้เห็นได้

Next Level Data Visualization

Data visualization นั้นมีการทรานส์ฟอร์มมาจากองคประกอบที่เป็นศุนย์รวมของการย่อยข้อมูล เช่น กราฟ แผนภูมิ หรือ Mapping และสรุปสถิติที่ข้อมูลเยอะให้เข้าใจง่าย เนื่องจากข้อมูลบางอย่างก็ overload เกินกว่าจะนำมาจัด layout แบบปกติได้

และยิ่งเป็นยุคที่สามารถสรุปข้อมูลเยอะ ๆ ด้วย AI ภายในคลิกเดียว ก็ยิ่งทำให้การย่อยข้อมูล และสร้าง Interact ในงานดีไซน์เป็นเรื่องจำเป็น เพราะแม้แต่บริษัทใหญ่ ๆ อย่าง Apple ก็ใช้วิธีนี้ในการสรุปฟังก์ชันอุปกรณ์ใหม่ที่เปิดตัวของตัวเอง

นับเป็นอีกวิธีในการพรีเซนต์ข้อมูลแบบครีเอทีฟที่สายข้อมูลต้องลอง เพราะผลลัพธ์ที่ได้ตามมาก็มักจะเป็นยอดเอนเกจเมนต์จากกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง

Creative AI Design

เพราะ AI ช่วยทำให้สิ่งที่เป็นเรื่องจินตนาการกลายเป็นเรื่องจริง และวิชวลที่สมจริงให้เห็นภาพได้ง่ายกว่าแต่ก่อนเยอะมาก การรู้จักใช้เครื่องมือ และฟังก์ชันของ Generative AI เพื่อเปลี่ยนจากข้อมูลที่มี มาเป็นวิชวลที่ได้ ก็จะทำให้โปรดักต์ดูครีเอทีฟมากขึ้น

ไม่เว้นแม้แต่งานเว็บไซต์, แอนิเมชันดีไซน์ หรือโปรดักต์ที่ต้องการจะสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ผู้คน ก็มักจะต้องลองออกจากกรอบมาปั้นไอเดียให้เกิดขึ้นจริงได้ด้วย AI นั่นเอง เพราะการมี AI ทำให้ผลิตชิ้นงานได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ได้ใช้เวลากับไอเดียได้อิสระด้วย

Creative Letter Typography

พูดถึงวิชวลกันมาทั้ง 9 แบบในงานดีไซน์ สิ่งที่สำคัญ และจำเป็นไม่แพ้กันในการสร้างงานที่สื่อสารได้ ก็คือ ‘typography’ หรือตัวอักษรต่าง ๆ นำมาครีเอทีฟ เพิ่มลูกเล่นเพื่อดึงดูดความสนใจ แต่ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนรูปร่างของฟอนต์เท่านั้น แต่ยังต้องรู้จักใส่พื้นผิวต่าง ๆ ให้ตัวอักษรมีชีวิตด้วย

ซึ่งในตอนนี้ Creative typography กำลังเป็นที่นิยมในวงการของ UX/UI, Packaging และแอนิเมชันต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนจากตัวอักษรธรรมดาให้กลายมาเป็นการตอบสนองแบบ Interactive และวิชวลที่เชื่อมไปสู่พาร์ทอื่น ๆ ของงานดีไซน์ได้

ที่มา – https://www.behance.net/gallery/211544349/Graphic-Design-Trends-2025?tracking_source=search_projects|trends+2025&l=0

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save