Every possible way for business to work with creators
โดย ขจร เจียรนัยพานิชย์ (RAiNMaker)
📁อุตสาหกรรมครีเอเตอร์ในปัจจุบัน
- มีการผลัดเปลี่ยนผู้นำโดยอุตสาหกรรมสกินแคร์โตมาเป็นอันดับ 1 จากการรีวิวของครีเอเตอร์
- โฆษณาบน TikTok มีอัตราการเติบโต 100%
- กระแสของการติดตระกร้า Affiliate ทำให้แบรนด์มีคนทำคอนเทนต์เพิ่มสูงขึ้น
🌐 Social Media Users ในประเทศไทย
- Facebook: 58M
- Line: 54.3M
- TikTok: 44.3M
- YouTube: 44.2M
- Instagram: 18.7M
- X: 14.6M
นอกจาก Social Media แอปพลิเคชัน Capcut มียอดดาวโหลดเป็นอันดับ 2 แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันการตัดต่อเพื่อทำคอนเทนต์ถือเป็นเรื่องปกติ
📍 อิทธิพลของคอนเทนต์ครีเอเตอร์
- เกิดการทำการตลาดแบบ UGC: การทำคอนเทนต์แบบ User generated content ให้ครีเอเตอร์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ เป็นผู้ทำคอนเทนต์ด้วยตัวเอง
- คนไทยชอบเสพข่าวผ่าน Social Media: พบว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เชื่อข้อมูลจาก Social Media
- ครีเอเตอร์มีผลต่อการซื้อสินค้า: ปัจจุบันคนไทยซื้อของผ่านการรีวิวของครีเอเตอร์เป็นอันดับ 1
- งานระดับโลกอย่าง Cannes Lion: ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับครีเอเตอร์เป็นอันดับ 1
- ครีเอเตอร์เป็นคนสร้างไวรัล: ในโลกครีเอเตอร์ไม่ว่าจะเป็นหมีเนย หมูเด้ง ก็เป็นผู้สร้างไวรัลที่มีอิทธิพลมากในปัจจุบัน
🙆🏻♀️ จากครีเอเตอร์ ถึง แบรนด์
วิธีทำความเข้าใจก่อนที่แบรนด์จะทำงานกับครีเอเตอร์
📦 Sponsor Post: การส่งสินค้าไปให้รีวิว และถือว่าเป็นรายได้หลักของครีเอเตอร์ไทย
✅ Do
- เข้าใจสไตล์ของ Creator ให้ครีเอเตอร์คิดไอเดียเต็มที่
- คนชอบดูคอนเทนต์ของครีเอเตอร์เพราะสามารถใส่ข้อเสียได้เต็มที่
❎ Don’t
- ไม่ควรให้ครีเอเตอร์พูด Key Massage เพราะจะให้ความรู้สึกเหมือนเป็นโฆษณาแทน
- ทำให้การรีวิวของครีเอเตอร์ดูไม่เป็นธรรมชาติ
- การบังคับให้ครีเอเตอร์ใส่สีเสื้อตามสีของแบรนด์ทำให้เจอการรีวิวสินค้า และบริการแบบเป็นแพทเทิน
🖥️ Tie-In: การแทรกสินค้าลงไปในคอนเทนต์ของครีเอเตอร์เพื่อการรีวิวสินค้าแบบเป็นธรรมชาติ
✅ Do
- ให้สินค้า และบริการเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวของครีเอเตอร์
- การพูดว่าเป็นสปอนเซอร์ไม่ใช่สิ่งผิดกฏหมายแต่ต้องไม่เป็นการขายของมากเกินไป
- หาตัวเชื่อมเรื่องราวของสินค้ากับครีเอเตอร์ด้วยการลองดู 10 คอนเทนต์ล่าสุดของครีเอเตอร์
❎ Don’t
- ขายของจนเกินไป และขายสินค้าที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องราวของครีเอเตอร์
📝 Storyline: การเป็นสปอนเซอร์ทั้งคลิปเพื่อให้ครีเอเตอร์เล่าเรื่องราวของสินค้า และบริการ
✅ DO
- ยิ่งเล่าเรื่องราวของแบรนด์มาก = ครีเอเตอร์เข้าใจละถ่ายทอดออกมาได้มากเช่นกัน
- ลองปล่อยให้ครีเอเตอร์เล่าในแบบของตนเอง
❎ Don’t
- อย่าเล่าแต่เรื่องดี ลองให้ครีเอเตอร์เล่าเรื่องความผิดพลาดของแบรนด์ เพราะเปลี่ยนคนถ่ายทอดก็สามารถทำให้เรื่องแย่กลายเป็นเรื่องสนุก
🩵 Experience > Brief: ประสบการณ์สำคัญกว่าการเล่าเรื่องราวผ่านการบรีฟ
✅ Do
- ชวนครีเอเตอร์ไปสัมผัสกับสินค้า และบริการจริงๆ เพื่อให้ครีเอเตอร์ได้รับประสบการณ์เพื่อไปถ่ายทอดแบรนด์ต่อ
❎ Don’t
- บรีฟแห้ง ๆ ก็ได้คอนเทนต์ แห้ง ๆ ส่งบรีฟแต่ไม่เล่าอะไรให้ฟัง
💡 PR Apporch: การใช้ความ Related กับครีเอเตอร์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และประสบการณ์ที่ดีให้ครีเอเตอร์
✅ Do
- ส่งสินค้า = ส่งคอนเทนต์ ให้ความจริงใจเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ถ้าไม่มี Badget ให้พูดตรงๆ
❎ Don’t
- อย่าตื้อมากเพราะตื้อเท่านั้นไม่ได้ครองโลก
🧩 Event Support: แบรนด์ช่วย Support ครีเอเตอร์ทำให้สัมผัสได้ว่าแบรนด์จริงใจ และเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งนั้นจริงๆ
✅ Do
- ร่วมด้วยช่วยกันสร้าง Event ไปด้วยกันกับครีเอเตอร์
❎ Don’t
- การวางโลโก้ทุกจุด และย้ำแบรนด์ไม่ได้ทำให้ย้ำเข้าไปในใจ
💰 Affiliate Program: การให้ครีเอเตอร์ทำคอนเทนต์และแบรนด์เป็นผู้จ่ายค่าคอมมิชชันในแพลตฟอร์มต่างๆ
✅ Do
- ทำความเข้าใจ Market Place เพื่อเข้าใจครีเอเตอร์ท
- ให้ค่าคอมมิชชันที่ดึงดูด
❎ Don’t
- บรีฟแบบไม่ละเอียด และไม่เผื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด
⭐️ การเข้าใจลูกค้าหรือครีเอเตอร์ จะต้องรู้ว่าเขาต้องการอะไรก่อนที่จะเริ่มต้นคุยกับเขาซะอีก
#MITCON2024 #RAiNMaker