NewsTips

Avatar

doyoumind July 8, 2021

ถอดรหัส Nano Influencer ถ่ายรูปคู่สินค้าอิมแพ็กกับแบรนด์จริงหรือไม่?

Nano Influencer คือ?

อินฟลูเอนเซอร์ตัวเล็ก ที่มีพลังมหาศาล แม้จะได้ชื่อว่าเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่ฐานผู้ติดตามน้อยที่สุดในบรรดาอินฟลูเอนเซอร์ทั้งหมด โดยมียอดผู้ติดตามอยู่ที่ประมาณ 1,000-10,000 คน แต่ก็กลับมาแรงและอยู่ในตลาดแทบจะมากที่สุดเลยก็ว่าได้ ด้วยความใกล้ชิดผู้ติดตาม มีความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งค่อนข้างเฉพาะเจาะจง และผู้ติดตามเองก็มีความสนใจชัดเจน รวมถึงยังให้ความรู้สึกเหมือนเพื่อนที่คอยบอกต่อสิ่งดีๆ กันมากกว่า จึงทำให้ Nano Influencer จึงค่อนข้างมีอิทธิพลกับกลุ่มคนรอบข้าง และได้รับความเชื่อถือค่อนข้างมาก

สามารถกลับไปอ่านบทความเกี่ยวกับ Nano Influencer เพิ่มเติมได้ที่: Nano Influencer คืออะไร? ข้อดีในการใช้และทำยังไงถึงเป็นได้

ในปัจจุบัน หลายแบรนด์ใช้ Nano Influencer จำนวนมาก เพื่อช่วยในการโปรโมตในหลากหลายรูปแบบ โดยจะมีคอนเทนต์รูปแบบหนึ่งที่พบบ่อย มาในรูปแบบของการพูดถึงสินค้าหนึ่งในช่วงเวลาเดียวกัน หรือการถ่ายรูปคู่กับสินค้า พร้อมแคปชันและติดแท็กรีวิวทำนองนั้น

หลายคนอาจมีรอบตัวที่เป็น Nano Influencer และเคยเห็นโพสต์ประเภทนี้อยู่บ้าง ซึ่งแน่นอนว่าเห็นปุ๊บรู้ปั๊บว่าร่วมมือกับแบรนด์ ซึ่งถ้าถามตามตรงว่าคุณเคยหยุดอ่านโพสต์เหล่านั้นแบบจริงๆ จังๆ หรือไม่? เก็บคำตอบเอาไว้ก่อน แล้วลองมาดูกันดีกว่าว่าการทำคอนเทนต์รีวิวเป็นแพตเทิร์นอย่างการถ่ายรูปคู่สินค้า แคปชันยาวๆ เหมือนกัน มีผลต่อแบรนด์อย่างไรบ้าง?

ในมุมมองของแบรนด์

การใช้ Nano Influencer นอกจากจะช่วยประหยัดงบไปได้เยอะแล้ว ยังสามารถช่วยได้ในแง่ของการสร้างการรับรู้ (Awareness) ยิ่งการที่อินฟลูเอนเซอร์หลายๆ คนพูดถึงสินค้าชนิดเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน แน่นอนว่าผู้บริโภคต้องเห็นสินค้าผ่านตา อย่างมากที่สุดก็จำได้ ไปจนถึงมีการซื้อเกิดขึ้น

ด้วยความที่เป็นกลุ่มที่มีความใกล้ชิดกับผู้ติดตาม จึงทำให้ผู้ติดตามเกิดความเชื่อใจมากกว่า เมื่อเป็นการบอกต่อ และมีโอกาสสูงที่ผู้ติดตามจะให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์นั้น เพราะเชื่อใจ แล้วปัญหาอยู่ที่อะไรล่ะ? เมื่อคอนเทนต์ที่ถูกผลิตออกมาผ่านข้อตกลงระหว่างแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ออกมาเป็นแพตเทิร์นเดียวกันหมด อาจเรียกได้ว่าเป็นการใช้อินฟลูเอนเซอร์ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

เพราะนอกจากการสร้างการรับรู้แล้ว ผลอื่นๆ ที่ตามมาดูเหมือนว่าแบรนด์จะไม่ได้รับผลตอบรับที่ดีเกินคาดจากคอนเทนต์ประเภทนี้เท่าไหร่นัก

ในมุมมองของผู้บริโภค

ทีนี้ลองมามองในมุมมองผู้บริโภคกันบ้าง ที่อาจจะทำให้แบรนด์เข้าใจมากขึ้น ความจริงอีกอย่างคือ มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลื่อนผ่านไปคอนเทนต์ประเภทนี้ไปเฉยๆ เพียงเพราะเห็นว่าเป็นโพสต์รีวิวที่แบรนด์จ้าง จริงอยู่ที่คอนเทนต์ประเภทนี้อาจเพิ่มสร้างการรับรู้ได้ แต่อาจจะไม่ได้ส่งผลมากขนาดที่เหมือนระดับ Macro Influencer ที่อาจมีอิทธิพลถึงขั้นหยิบจับอะไร คนก็ไปซื้อตาม

ซึ่งปัญหาหลักอยู่ที่รูปแบบของการโพสต์ที่มาเป็นรูปแบบเดียวกันหมด ตั้งแต่องค์ประกอบการถ่ายรูปสินค้า แคปชันยาวๆ ที่เหมือนสคริปต์ อาจทำให้ผู้บริโภคสัมผัสได้ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ Original Content และไม่เป็นมิตรกับการรับรู้เท่าไหร่นัก เมื่อเป็นแบบนี้ สิ่งที่ตามมาก็คือยอด engagement อาจจะไม่ได้สูงตามที่หวัง คนรับรู้ว่ามีสินค้านี้ผ่านการเลื่อนผ่านซ้ำๆ ก็จริง แต่ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อในขั้นตอนต่อไปเท่าไหร่ ซึ่งอาจทำให้แบรนด์เสียเงินในส่วนที่สามารถนำไปใช้กับส่วนอื่นที่จะสร้างอิมแพ็กได้มากกว่านี้ได้

นอกจากนี้ การที่มีคอนเทนต์ประเภทนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งมีแนวโน้มจะส่งผลให้ความเชื่อใจของผู้บริโภคลดน้อยลงไปด้วย ไม่ใช่แค่ต่ออินฟลูเอนเซอร์ แต่รวมไปถึงแบรนด์เองอาจก็อาจได้รับความน่าเชื่อถือ หรือมีภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปในสายตาผู้บริโภคได้

ทำยังไงให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค

ใช่ว่าการทำงานร่วมกับแบรนด์ หรือการทำคอนเทนต์ให้แบรนด์จะเป็นสิ่งที่ผิด แต่ต้องหาให้เจอต่างหากว่าผู้บริโภคต้องการอะไร คอนเทนต์ประเภทไหนที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคมากกว่า ซึ่งคำตอบ คือ ความสร้างสรรค์ ความแตกต่าง และความจริงใจ

  • ความสร้างสรรค์: แน่นอนวว่าหากคอนเทนต์ที่ทำออกไปมีคยามสร้างสรรค์ ผลงานก็จะยิ่งมีคนค่า ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น ถ้าสามารถถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ผ่านผลงานออกไปได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ผลงานมีความโดดเด่น และเป็นผลดีกับทุกฝ่ายแน่นอน
  • ความแตกต่าง: การทำคอนเทนต์ซ้ำๆ แบบที่ใครๆ ก็ทำกัน มันไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับการทำคอนเทนต์รีวิวแพตเทิร์นเดียวกันทั้งหมด หากแบรนด์ปรับมุมมองเปิดโอกาสให้อินฟลูเอนเซอร์ได้คิดทำคอนเทนต์ใหม่ๆ แบรนด์เองก็จะได้ประโยชน์จากการโปรโมต แถมยังมีโอกาสถูกจดจำได้มากขึ้น เช่นเดียวกันกับอินฟลูเอนเซอร์ ที่จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่คนจะจดจำได้เช่นกัน
  • ความจริงใจ: สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในปัจจุบัน ผู้บริโภคมองหาความจริงใจ จึงได้หันมาหาข้อมูลจาก Nano Influencer ผู้ที่เป็นเหมือนเพื่อน และมีความน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะฉะนั้นอย่าทำลายความน่าเชื่อถือด้วยรูปแบบคอนเทนต์ที่ดูจะไม่จริงใจกับผู้บริโภคมากนัก เพราะอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์และความเชื่อใจของทั้งแบรนด์และตัวอินฟลูเอนเซอร์เองได้

หากทั้งแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ลองปรับเปลี่ยนมุมมอง และทำข้อตกลงในการทำคอนเทนต์ออกมาในแนวที่สร้างสรรค์และแตกต่าง ที่สำคัญคือแฝงไปด้วยความจริงใจมากขึ้น อาจจะทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์จากตรงนี้ได้เพิ่มมากขึ้น ในส่วนของแบรนด์ก็จะได้ผู้บริโภคที่สนใจ และเชื่อใจแบรนด์มากขึ้น อินฟลูเอนเซอร์เองก็ได้รับความเชื่อใจ และมีความเป็นเอกลักษณ์ในแบบของตัวเอง รวมถึงผู้บริโภคก็มีสิทธิ์ในการได้รับข้อมูลที่มาจากความจริงใจมากขึ้น

เมื่อแบรนด์ใช้ประโยชน์จากข้อดีของ Nano Influencer มาใช้ให้ถูกวิธีแบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีตามมา ไม่ว่าจะเป็น ยอด engagement ที่มากขึ้น กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ หรือจนกระทั่งได้ลูกค้าเพิ่ม

เพราะฉะนั้นแบรนด์อาจลองใช้ข้อมูลอินไซต์ต่างๆ รวมกับฟีดแบ็กจากทั้งอินฟลูเอนเซอร์และผู้บริโภค มาปรับเปลี่ยนแผนการโปรโมต และหาข้อดีของ Nano Influencer มาใช้ในการพัฒนาคอนเทนต์ที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคมากขึ้น

สำหรับแบรนด์ที่กำลังมองหาอินฟลูเอนเซอร์สายแม่และเด็ก Parents One เว็บไซต์สำหรับครอบครัว ได้เปิดบริการใหม่ “KOL Service” ที่จะช่วยให้แบรนด์มีทางเลือกมากขึ้น ด้วยกลุ่ม Micro และ Nano Influencer แม่และเด็กในเครือมากกว่า 100 คน!

สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.thumbsup.in.th/parentsone-kol-service

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save