ในช่วงเลือกเลือกตั้งเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนของสื่อไทยเลยก็ว่าได้ เพราะมีหลายสื่อที่ต่างมาลงสนามเลือกตั้ง ประชันด้วยการจัดเวทีดีเบต และสัมภาษณ์เหล่าแคนดิเดต รวมถึงทอล์กมากมาย แสดงให้เห็นว่าสื่อน้ำดีในไทยนั้นยังไม่หายไปไหน
นอกจากนี้การบูมของ TikTok ก็ทำให้พฤติกรรมการเสพสื่อ และข่าวสารต่าง ๆ ของผู้คนเปลี่ยนไปด้วย เช่น การใช้เวลาเสพข่าวจากการอ่านตัวอักษรเยอะ ๆ น้อยลง แต่ใช้เวลากับการดูคลิปสรุปข่าวสั้นมากขึ้น
และยิ่งทำให้แพลตฟอร์มดั้งเดิมอย่างหนังสือพิมพ์อยู่ยากขึ้นไปอีก นอกจากจะมีช่องทางออนไลน์มาเสริม เช่น เพจ, เว็บไซต์ หรือคลิปสั้น เพื่อปรับให้ตรงกับพฤติกรรมผู้ใช้ที่เลือกเสพข่าว และอัปเดตเทรนด์ กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยสถิติที่ทาง Reuters Institite เก็บข้อมูลมา แสดงให้เห็นความน่าเชื่อถือ ดังนี้
ความน่าเชื่อถือของสื่อไทย
โดยสถิติทั้งหมดมาจากผลสำรวจ และไม่ได้มีเจตนาจัดลำดับความน่าเชื่อถือเป็นหลักแต่อย่างใด แต่เป็นข้อมูลที่รวบรวมมาเพื่อเผยสถิติให้ทราบกัน
- Amarin 69%
- Bangkok Post 65%
- Channel 7 HD 71%
- Daily News 64%
- Khaosod 65%
- Krobkruakao 3 65%
- Manager 60%
- Matichon 66%
- MCOT News Network 68%
- Nation 59%
- PPTV 68%
- Regional or local newspaper 60%
- Thai PBS (public broadcaster) 70%
- Thai Rath 69%
- Workpoint TV 71%
สถิติการรับสื่อของคนไทย
- ออนไลน์ (รวม Social Media) 88%
- แพลตฟอร์ม 75%
- โทรทัศน์ 50%
- สื่อสิ่งพิมพ์ 12%
ยอด Reach สื่อ Offline
[TV, RADIO, PRINT]
- Channel 3 HD 31%
- Thai Rath TV 32 31%
- Amarin TV HD 34 28%
ยอด Reach สื่อ Online
[ONLINE]
- Thai Rath online 43%
- ThaiPBS News online 25%
- Workpoint Today 24%
นอกจากนี้ยังวัดค่าความเชื่อโดยรวมของสื่อไทยทั้งหมดด้วยว่ามีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นจากปี 2021 อย่างเห็นได้ชัด จากเดิมน่าเชื่อถือที่ 50% และมีลดหลั่นจนกระทั่งปี 2023 ได้สถิติความน่าเชื่อถอไป 51% ด้วย
ซึ่งดูเหมือนว่า Channel 7 HD และ Thai PBS จะได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุดในกลุ่มสื่อจากโทรทัศน์
แต่ไม่ว่าสื่อไหนจะได้รับความน่าเชื่อถือกี่เปอร์เซ็นต์ ก็นับว่าเป็นเรื่องดีที่เราได้เห็นสื่อต่าง ๆ กลับมาในยุคที่ขุดค้น งัดหลักฐาน และพร้อมจะเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนได้รับรู้เหตุการณ์ และข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้น
อ้างอิง: Reuters Institite