Case StudyJournalism

Avatar

Nutn0n November 23, 2019

ถ้านิเทศศาสตร์ต้องปรับหลักสูตร ควรเดินไปในทางไหนให้ตอบโจทย์การทำสื่อยุคปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้เราเคยนำเสนอบทความเรื่อง ข้อสงสัยเด็กไทย อยากเป็น Blogger, Youtuber, Game Caster อาชีพ เรียนคณะอะไรดี ซึ่งพูดถึงมุมองของนักเรียนว่าถ้าอยากทำงานในสายสื่อปัจจุบัน ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ จะต้องเรียนคณะไหน ซึ่งก็มีการกล่าวถึงคณะนิเทศศาสตร์ ณ ปัจจุบันบอกว่า  เวลาแค่ 4 ปีในมหาลัยที่เหมือนสั้น อาจจะยาวนานพอที่จะทำให้ Trend ใน Trend นึงในการทำคอนเทนต์หายไปเลยก็ได้ ดังนั้นสิ่งที่เราน่าจะเก็บเกี่ยวคือทักษะและกระบวนการคิดที่สามารถนำไปต่อยอดได้ มากกว่าวิธีการ 

พอเป็นแบบนี้แล้วก็ไม่น่าแปลกใจที่เราจะมาตั้งคำถามถึงมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะในคณะนิเทศบ้างว่า การเรียนการสอนในปัจจุบันนั้นตอบโจทย์สำหรับการไปทำอาชีพมากน้อยแค่ไหน

แต่ก่อนอื่น ต้องบอกว่าคณะนิเทศในประเทศไทยนั้นก็มีมากมายหลายมหาวิทยาลัย การพูดถึงแบบรวม ๆ นั้นอาจจะไม่สามารถเจาะลึก หรือการพูดถึงแบบเจาะลึกก็อาจจะไม่เห็นภาพรวม ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างคณะนิเทศศาสตร์ที่ผู้เขียนคุ้นเคยมากที่สุด 2 คณะ ได้แก่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งเพื่อนสนิทของผู้เขียนเรียนอยู่ (@Kornkt) โดยถ้ามีการอ้างอิงจะอ้างจาก 2 คณะนี้

ต้องบอกว่าคณะนิเทศศาสตร์นั้นเป็นคณะที่มีมาอย่างยาวนาน และเกิดขึ้นจากการเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการเกิดขึ้นของสังคมเมือง (Urbanization) ซึ่งพอเป็นแบบนี้ ต้องตอบโจทย์การสื่อสารในระดับคนหมู่มาก ไม่ว่าจะด้วยวิธีการเช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ทั้งในแง่ของการให้ความบันเทิง และในแง่ของการให้ข่าวสารอุตสาหกรรมสื่อนั้นจึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่มาก แต่ปัจจุบันเราตอบสนองความต้องการสื่อกันในระดับกลุ่มย่อย ๆ หรือแม้กระทั่งตัวบุคคล ทำให้แนวคิดแบบคณะนิเทศศาสตร์อาจจะต้องเปลี่ยนไป และลงลึกไปถึงแก่นของการสื่อสารมากขึ้น แล้วเครื่องมือที่เรามีในปัจจุบันจะสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงลองนึกว่าถ้าเราจะออกแบบคณะนิเทศศาสตร์ให้เหมาะสมและตอบโจทย์กับการทำงานจริง เราจะทำอย่างไรได้บ้าง

ไม่แยกระหว่างโลกการเรียนกับโลกแห่งความเป็นจริง

ในอดีต Case-study อาจจะอยู่ในหนังสือเรียนหรือเป็นเหตุการณ์สมมติ แต่ ณ ปัจจุบันนี้ เรื่องราว ข่าวสาร ต่าง ๆ เกิดขึ้นในทุกวัน หากเราไม่สามารถทำให้นักเรียนมองเห็นได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในเหตุการณ์ที่เราพบเห็นเราอาจจะไม่สามารถทำให้นักเรียนเห็นภาพได้ ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าเมื่อคืนมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับสำนักข่าว หรือในวงการการสื่อสาร อาจจะเป็นดราม่า หรือข่าวด้านจริยธรรม วันต่อมาเรื่องนั้นควรจะเป็นบทเรียนที่นำมาพูดถึง จากนั้นค่อยเอาทฤษฏีต่าง ๆ เข้าไปจับหรือพยายามอธิบายมันออกมาด้วยการคิดแบบเป็นโครงร่าง

ไม่ยึดติดกับหลักสูตรที่เป็นวิธีการ แต่สอนหลักสูตรที่เป็นวิธีคิด

กระบวนการการสอนในปัจจุบัน อย่างน้อยที่ผู้เขียนเคยเรียนมา จะเป็นวิธีการแบบบอกวิธีการ แต่ยังไม่ได้ลงลึกไปถึงวิธีคิดและที่มา เด็กในปัจจุบันตั้งคำถามมากกว่าที่คิดถ้าไม่สามารถตอบคำถามของเขาได้เขาจะรู้สึกไม่สนใจและมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถใช้ได้จริง เช่น สมมติเราบอกว่า การกระทำแบบนี้ จะให้ความรู้สึกแบบนี้ ถ้าเราไม่สามารถทำให้นักเรียนรู้สึกแบบนั้นได้จริง ๆ แน่นอนว่าเด็กอาจจะไม่เชื่อก็ได้

พัฒนาทักษะเพื่องาน ไม่ใช่บอกงานแล้วสอนทักษะ

เรามองว่าการเรียนในปัจจุบันคือกระบวนการในการเก็บสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ติดตัวไปให้ได้มากที่สุดเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาที่ไม่เคยมีใครเจอมาก่อนในอนาคต ไม่ใช่การทำภารกิจหรือ mission ไปเรื่อย ๆ สุดท้ายได้ certificate ออกมา ดังนั้นเรากำลังเรียนรู้เพื่อไปทำงานที่ไม่มีอยู่จริง ณ ตอนนี้ ดังนั้นเราไม่รู้ว่าทักษะอะไรที่สำคัญหรือไม่สำคัญ เราอาจจะเดาได้ แต่เราไม่รู้ พอเราไม่รู้เราก็ต้องพยายามหยิบจับทักษะที่มีติดตัวไปให้ได้มากที่สุด หรืออย่างน้อยก็มากพอที่เราจะเดาทางในอนาคตได้ (ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันคำว่า Trend จึงสำคัญมาก)

ถ้าเราแค่บอกงานว่า การถ่ายภาพต้องทำแบบนี้ การเขียนบทความต้องเขียนแบบนี้ ก็จบกัน เพราะไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้เลยว่าวิธีเหล่านั้นจะใช้ได้จริงในอนาคต

ยอมรับความเปลี่ยนแปลงเสมอ

ด้วยทั้งหมดทั้งมวลที่เรากล่าวมานี้ นำมาสู่ข้อเสนอสุดท้ายที่บอกว่า ให้ยอมรับในความเปลี่ยนแปลงเสมอ ไม่ใช่แค่กะคณะนิเทศศาสตร์ แต่ทุกคณะในมหาวิทยาลัย ว่าทุกวันนี้มหวิทยาลัยไม่ควรเป็นแค่โรง QC มนุษย์อีกต่อไป เราควรหันมาสนใจผลที่เกิดขึ้นนับจากวันที่เด็กก้าวออกจากมหาวิทยาลัยไป ไม่ใช่ความสำเร็จในมหาวิทยาลัยอีกแล้ว การยอมรับความเปลี่ยนแปลงก็เช่น มหาวิทยาลัย จะสำคัญน้อยลง, มหาวิทยลัย จะเป็นมากกว่าแค่สถานศึกษาแต่ต้องมีบทบาทในสังคมให้ประกอบกับที่ความรู้สามารถหาได้ทุกที่และรวดเร็วกว่าตัวมหาวิทยาลัยเองด้วยซ้ำ

สรุปแล้วเรามองว่าคณะนิเทศศาสตร์ ควรจะมุ่งเน้นไปที่การสอนกระบวนการคิด และอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกแห่งความเป็นจริง และมุ่งเน้นไปที่การแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทักษะที่จำเป็นในการนำไปใช้ในอนาคต มากกว่าเป็นแค่สถานที่ที่มอบ Certificate ว่านักเรียน ได้ผ่านการอบรมจากวิธีคิดที่ถูกคิดมาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

 

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Rainmaker

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save