GoogleNewsSEOWebsite

Avatar

Nokkaew January 10, 2020

15 WordPress Plugin สำหรับคนทำคอนเทนต์ ของดีที่ควรมีติด Blog – อัปเดตปี 2020

รวม 15 WordPress Plugin สำหรับคนทำคอนเทนต์ เหมาะสำหรับคนที่มีเว็บ blog เป็นของตัวเอง แต่ไม่ได้มีความรู้เรื่องเทคนิคหรือการโค้ดมากนัก และมีความยุ่งเหยิงในการจัดการสิ่งต่าง ๆ บนเว็บไซต์

ครั้งนี้เรารวบรวม plugin หรือส่วนเสริมตัวท็อปในปี 2020 ที่จะช่วยคนทำคอนเทนต์จัดการเรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง

1. Site Kit by Google

Site Kit เป็น WordPress plugin สำหรับให้ผู้ใช้ได้ดูข้อมูล Analytics จาก tools ต่าง ๆ ของ Google ที่เรียกได้ว่าเป็น Official Plugin จากทาง Google ออกมาเอง (สักที) และแน่นอนว่าทุกอย่างนั้นฟรี!

จากเดิมที่เราต้องคอยติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของเรา ผ่านเครื่องมือหลายตัว เช่น Google Analytics, Google Search Console, PageSpeed Insights, AdSense และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหนึ่งเครื่องมือก็ต้องเปิดหนึ่งเว็บนั่งไล่ดู

แต่บน Site Kit นั้น จะรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของแต่ละเครื่องมือ มาแปะอยู่ในหน้าผู้ดูแลของ WordPress ให้เลย โดยเป็นข้อมูลที่ไม่ใช้เชิงลึกมาก แต่ทาง Google คิดมาให้แล้วว่าข้อมูลเหล่านี้ ผู้ดูแลเว็บไซต์ควรจะต้องทราบความเคลื่อนไหวอยู่เสมอนะจ๊ะ

ดาวน์โหลด : Site Kit by Google


2. Kadence Blocks

ปี 2020 เป็นต้นไป จะเป็นปีที่ผู้ใช้ WordPress เริ่มมาใช้งาน Gutenberg อย่างจริงจัง ในทางเดียวกัน plugin ที่สร้างมาเพื่อ support ก็จะมีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เรียกว่าแทบจะมาแทนการใช้งาน page builder เลยทีเดียว

Kadence Blocks เป็น plugin บน Gutenberg ที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถสร้างคอนเทนต์หรือสร้างหน้า page สวย ๆ โดยที่ออกแบบตามใจต้องการได้ โดยที่ไม่ต้องเขียนโค้ดเองเลย การปรับแต่งใช้งานได้ง่าย หากใครคล่องมือกับ Gutenberg ก็สามารถใช้งานได้ทันที โดยที่แทบไม่ต้องเรียนรู้ใหม่

สิ่งหนึ่งที่นักพัฒนาชื่นชมคือ Kadence Blocks ค่อนข้างเบา ติดตั้งใช้งานแล้วไม่หนักเว็บไซต์ แถมฟีเจอร์ไหนไม่ได้ใช้ก็สามารถปิดเพื่อนำสคริปต์ส่วนที่ไม่จำเป็นออกได้

ดาวน์โหลด : Kadence Blocks


3. NextGEN Gallery

NextGEN Gallery เป็น plugin สำหรับทำภาพอลบั้มแบบ creative ในบทความ ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงมาก สามารถปรับแต่งได้หลากหลาย

เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการความสวยงามในการวางภาพให้มีความโดดเด่นมากกว่าการแสดงภาพทั่วไป รูปแบบมีความสวยงาม ทันสมัย ดู minimal สะอาดตา

เบื้องต้นเป็น plugin ที่สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี แต่จะถูกจำกัดรูปแบบ layout บางอย่าง แต่ก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานมากแล้ว หากถูกใจหรืออยากได้ลูกเล่นเพิ่มก็สามารถกดซื้อได้ แต่แอบมีความหนักเว็บอยู่เล็กน้อยครับ ถ้าเทียบกับ plugin gallery รุ่นใหม่ ๆ

ดาวน์โหลด : NextGEN Gallery


4. TinyMCE Advanced

ในส่วนเขียนบทความเบื้องต้นของ WordPress จะใช้ editor ที่มีชื่อว่า TinyMCE ซึ่งจะมีเครื่องมือการจัดข้อความในเบื้องต้นได้ ใช้งานง่าย

แต่ถ้าหากว่าคุณยังไม่พอใจในเครื่องมือของ TinyMCE แนะนำให้ติดตั้ง TinyMCE Advanced ที่เป็น plugin ส่วนเสริมของ TinyMCE อีกทีหนึ่ง ซึ่งจะมีแถบเครื่องมือเพิ่มขึ้นมาจำนวนมาก ที่ทำให้การเขียนข้อความมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

และในเวอร์ชั่นปัจจุบันสามารถใช้งานร่วมกับ Gutenberg ได้แล้ว นอกจากเครื่องมือที่ใช้เขียนแล้วยังมี blog ที่ชื่อว่า Classic Paragraph เพิ่มขึ้นมา ช่วยลดความน่ารำคาญต่าง ๆ ของ Gutenberg ได้ดีมาก ๆ เช่นเขียนหลาย paragraph ภายใน block เดียวกัน

ดาวน์โหลด : TinyMCE Advanced


5. Seed Fonts

หลายเว็บไซต์ต้องการใช้ฟอนต์ที่ดูมีความทันสมัย แต่ก็ต้องเลือกใช้ให้ถูกลิขสิทธิ์ด้วย สำหรับ blog ทั่วไปที่ไม่ได้มีทุนทรัพย์ใช้ฟอนต์มูลค่าหลักแสน ก็สามารถใช้ฟอนต์ที่อยู่บน Google Fonts แบบฟรี ๆ ได้

Seed Fonts เป็น plugin ที่ทำให้เราดึงฟอนต์ที่อยู่บน Google Fonts มาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้อง embed ให้ยุ่งยาก (แต่ก็มีข้อดี-ข้อเสียที่ต่างกัน) พร้อมทั้งสามารถตั้งค่าเบื้องต้นได้ ทั้งความหนา, ตำแหน่งบนเว็บที่ต้องการใช้ เป็น plugin เล็ก ๆ ที่ครบครันดี

ดาวน์โหลด : Seed Fonts


6. Seed Social

plugin เจ้าเดียวกันกับ Seed Fonts เมื่อสักครู่ เป็น plugin ที่แสดงปุ่มแชร์ในตำแหน่งต่าง ๆ ของเว็บไซต์  plugin ตัวนี้ไม่ได้มีฟีเจอร์ที่หวือหวามาก แต่จุดเด่นคือความ light weight ที่ไม่เป็นภาระการโหลดของเว็บไซต์ ใช้งานง่าย แค่ติดตั้งและตั้งค่าใช้เวลาไม่ถึงห้านาทีก็พร้อมใช้งาน

นอกจากนี้ยังเป็น plugin ที่พัฒนาโดยคนไทย จึงมี Social ที่เล่นกันเฉพาะคนไทยอย่างปุ่มแชร์ที่กดเพื่อส่งลิงก์ไปบน LINE เข้ามาด้วย ซึ่งตรงนี้จะไม่มีใน plugin ต่างประเทศในเจ้าดัง ๆ

ดาวน์โหลด : Seed Social


7. Yoast SEO

plugin สามัญประจำเว็บ ต้องมีติดทุกเว็บไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ช่วยผู้แลเว็บในเรื่อง SEO ได้มาก และแว่วมาว่ากำลังจะเปลี่ยนจาก plugin มาเป็นหนึ่งฟีเจอร์ติดอยู่บน WordPress ในเร็ว ๆ นี้

จุดเด่นของ Yoast SEO คือทำให้เราจัดการความซับซ้อนของการตั้งค่า SEO บนเว็บไซต์ ให้เหลือเพียงแค่การกรอกแบบฟอร์มไม่กี่ตัว ง่ายระดับที่นักเขียนทั่วไปก็สามารถจัดการ optimize ด้วยตัวเองได้

ในส่วนของการเขียนบทความก็จะมีไกด์ไลน์ในการใส่ข้อมูลอย่างง่าย เพื่อให้คอนเทนต์ของเราได้คะแนน SEO สูงจาก search engine โดย plugin จะช่วยประเมินเบื้องต้นให้ด้วยว่าคอนเทนต์ที่เราทำมีความครบถ้วนสำหรับ search engine เพียงพอแล้วหรือยัง

ดาวน์โหลด : Yoast SEO


8. Ninja Form

plugin สำหรับทำหน้าฟอร์มบน WordPress มีให้เลือกด้วยกันหลายตัว ซึ่งตัวยอดนิยมสามารถใช้งานได้ดีทุกตัว แต่เจ้า Ninja Form นั้นมีความโดดเด่นตรงที่ใช้งานง่ายมาก ไม่ซับซ้อน เป็น drag and drop ผู้ดูแลเว็บหรือนักเขียนสามารถใช้งานได้ทันที

รวมถึงหน้าตาข้างหลังบ้านและตัวฟอร์มเอง มีความสวยงามทันสมัยเมื่อเทียบกับเจ้าอื่น Ninja Form จะค่อนข้างโดดเด่น สรุปว่าเรียบง่ายและหน้าตาดี

แถมเวอร์ชั่นเสียเงินของ Ninja Form ผู้ใช้สามารถ custom เลือกเฉพาะฟีเจอร์ที่ใช้โดยคิดราคาเป็นรายฟีเจอร์ อันนี้ดีมาก ๆ

ดาวน์โหลด : Ninja Form


9. Broken Link Checker

หากเว็บไซต์ของเรามีลิงก์เสียอยู่จำนวนมาก อาจส่งผลกระทบถึงคะแนน SEO ได้ และเมื่อผู้ใช้พบส่วนที่เข้าไม่ได้ จะทำให้ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ลดลงได้

Broken Link Checker เป็น plugin ที่คอยตรวจสอบลิงก์ใน posts, pages, comments และส่วนอื่น ๆ บนเว็บไซต์ หากพบลิงก์เสียหรือภาพที่ไม่แสดง จะ redirect ไปยังลิงก์ที่เราตั้งค่าไว้ และมี notify ไปยังผู้ดูแลเว็บไซต์เพื่อให้มาแก้ไข พร้อมกับฟีเจอร์อีกมากมายสำหรับจัดการลิงก์

ดาวน์โหลด : Broken Link Checker


10. Really Simple SSL

ตามชื่อเลยครับ plugin ตัวนี้จะช่วยเปลี่ยนเว็บไซต์ของคุณให้ไปใช้ SSL (จาก HTTP เป็น HTTPS) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในปีที่ผ่านมา และปีต่อ ๆ ไป ทาง Google เองก็ลดคะแนนของเว็บไซต์ที่ไม่ใช้ SSL ไปเรียบร้อย

ในกรณีที่ hosting ของคุณไม่ได้มี SSL แถมให้ใน package (ซึ่งส่วนใหญ่จะมีนะ) ก็สามารถใช้ตัวนี้ได้ ฟรี และใช้งานง่าย ได้ SSL ภายในไม่กี่คลิก และ plugin ตัวนี้จะช่วยเปลี่ยน URL ทั้งเว็บไซต์ให้เป็น HTTPS โดยอัตโนมัติ

ดาวน์โหลด : Really Simple SSL


11. Duplicate Page

plugin ที่ช่วยในการ duplicate posts และ pages อย่างง่ายในหนึ่งคลิก สมารถเลือกสถานะของบทความที่ duplicate ออกมาตามต้องการได้ (draft, private, public, pending)

เป็นอีกหนึ่ง plugin สามัญประจำเว็บที่นักเขียกมักนำมาใช้ในการ duplicate เพื่อนำ pattern ในการเขียนจากโพสต์อื่นมาใช้งาน เป็นฟีเจอร์ simple ที่ขาดไม่ได้

ดาวน์โหลด : Duplicate Page


12. Shortlinks by Pretty Links

หลายเว็บไซต์มีปัญหาในเรื่องของ URL ที่มีความยาวหรือดูซับซ้อนจนเกินไป อาจเกิดจากลิงก์ที่เป็น affiliate หรือลิงก์ที่สร้างมาจาก plugin ซึ่งติด parameter น่าเกลียดบน URL มากมาย ซึ่งทำให้เว็บไซต์ของเรามีประสบการณ์ที่แย่ตอนที่นำลิงก์ไปใช้ แถม search engine ก็ไม่ค่อยถูกใจสิ่งนี้ซะด้วย

plugin ตัวนี้จะช่วยให้ URL มีความสั้นกระชับมากยิ่งขึ้น เราสามารถสร้างข้อความบน URL ตามต้องการได้ (แต่ต้องไม่ซ้ำกับ URL อื่นภายในเว็บ) โดยการใช้ URL ที่สร้างใหม่เพื่อ redirect ไปต่ออีกทีหนึ่ง

ดาวน์โหลด : Shortlinks by Pretty Links


13. Smart Slider 3

Smart Slider 3 เป็น plugin ที่ช่วยให้ผู้ใช้จัด layout ของหน้าเว็บไซต์และคอนเทนต์ได้อย่างยืดหยุ่น โดยที่มีความง่ายระดับลาก-วาง หลายคนเรียกว่าเป็นตัวจบในการทำ layout

ฟีเจอร์ของมันค่อนข้างกว้าง ทำได้ตั้งแต่เป็น slider, gallery, page, post ไปจนถึง animation ที่เล่นอยู่บนเว็บเลยทีเดียว

ข้อเสียของ Smart Slider 3 คือฟีเจอร์และการปรับค่านั้นมีเยอะมาก ทำให้ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้การใช้งานพอสมควร และเป็น plugin ที่ค่อนข้างหนัก แต่ก็ยังถือว่ารับได้ถ้าเทียบกับฟีเจอร์ที่เพียบพร้อมระดับนี้

ดาวน์โหลด : Smart Slider 3


 

14. Lazy Load by WP Rocket

lazy load เป็น plugin ที่ช่วยให้ผู้ที่เข้าชมเว็บโหลดหน้าได้เร็วขึ้น โดยการโหลดภาพเฉพาะส่วนที่ผู้ใช้เห็นตอนที่ scroll ลงมาเจอ ภาพส่วนที่ยังไม่เห็นจะยังไม่ถูกโหลดขึ้นมา ทำให้ลดการโหลดในส่วนที่ยังไม่จำเป็นในหน้านั้น

Lazy Load by WP Rocket ก็เป็น plugin ประเภท lazy load จากบริษัทนักพัฒนาชื่อดังในวงการ WordPress ที่เค้าเคลมเอาไว้เลยว่าตัวนี้ทำงานเร็วมาก และไม่กินทรัพยากรด้วยโค้ดที่มีขนาดน้อยกว่า 10KB เท่านั้น

สำหรับหลายคนที่มีความกังวลเรื่อง SEO ก็หายห่วงได้ เพราะปัจจุบัน search engine มีความฉลาดมากพอในการโหลดหน้าทั้งหมดก่อนตรวจสอบข้อมูลบนหน้าคอนเทนต์

ดาวน์โหลด : Lazy Load by WP Rocket


15. Simple Author Box

สำหรับเว็บคอนเทนต์ที่มีนักเขียนหลายคน มักจะต้องการแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของนักเขียนในเว็บไซต์ โดยการวาง Author Box ไว้ในส่วนต้นหรือท้ายบทความ เพื่อเป็นการให้เครดิตแก่ผู้เขียน

แต่ในบาง theme ของ WordPress เอง Author Box อาจไม่ได้มีความโดดเด่นหรือมีสไตล์อย่างที่เราต้องการ ในส่วนนี้แนะนำให้ติดตั้ง Simple Author Box มาใช้งานเลยครับ

ฟีเจอร์หลักที่น่าสนใจมีตั้งแต่เบสิคอย่างการแสเง gravatar, name, website, description และ social icons ไปจนถึงการปรับแต่งสไตล์เพื่อให้เข้ากับตีมเว็บไซต์ และถ้าเป็นเวอร์ชั่นเสียเงินก็จะมีลูกเล่นให้ปรับแต่งอีกเยอะมาก

ดาวน์โหลด : Simple Author Box


 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save