ให้ 5 ดาว หรือแค่บอกว่าชอบ ระบบการรีวิวแบบไหน ที่ใช่สำหรับคอนเทนต์คุณ

เว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่รวบรวมคอนเทนต์จำนวนมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น Social หรือ Video Streaming มักจะมีระบบ “รีวิวคอนเทนต์” โดยการรีวิวนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการเปรียบเทียบคอนเทนต์เอาไปประกอบการตัดสินใจ เช่น การเลือกที่พัก, ร้านอาหาร หรือจะเลือกชมภาพยนตร์สักเรื่อง โดยใช้ข้อมูลจากความคิดเห็นผู้อื่นประกอบการพิจารณา

อันนี้ถูกใจ เอาไป 5 ดาว

ระบบการรีวิวแบบ “ให้ดาว” นั้นถือว่าเป็นรูปแบบที่ยอดนิยมมาก เพราะระบบนี้เป็นเกณฑ์ที่มีความละเอียดกำลังดี (คะแนนจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ระดับ น้อยไปมากตามจำนวนดาว) ทำให้สามารถพิจารณาได้ไม่ยากว่าคอนเทนต์นั้นเรทติ้งเป็นอย่างไร ดีมาก ดี ปานกลาง แย่ หรือแย่มาก โดยปกติมักจะมีการให้เหตุผลประกอบด้วย เช่น การให้ดาวของ Facebook เมื่อก่อน (ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น Recommend)

แต่ระบบการให้ดาวนั้นมีช่องโหว่ที่สำคัญอยู่ก็คือ “ใครจะกดกี่ดาวก็ได้” นั่นเอง หรือก็คือคะแนนที่เราเห็นอาจไม่ได้มาจากความรู้สึกของผู้ใช้งานจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งการอวยเวอร์เกินเหตุ (ให้พรรคพวกมากดดาวเยอะ ๆ) เพื่อสร้างเรทติ้ง และในทางกลับกัน ระบบการให้ดาวก็สามารถกลายเป็นการกลั่นแกล้งจากคู่แข่งได้ด้วยโดยอาศัยการมารุมกดดาวน้อย ๆ ให้เรทติ้งออกมาไม่ดี รวมถึงเขียนรีวิวแย่ ๆ เพื่อโจมตี

ว่ากันว่า Netflix ถอดระบบดาวออกเพื่อแก้เขิน หลังจากซีรีส์ของตัวเองโดนรีวิวออกมาไม่ดีนัก

Netflix หรือผู้ให้บริการวีดีโอสตรีมมิ่งชื่อดังที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีก็เคยใช้ระบบให้ดาวเหมือนกัน แต่ได้ถอดออกไปในภายหลัง โดยให้เหตุผลว่าคอนเทนต์ (ภาพยนตร์, ซีรีส์) ที่เราจะคนชอบไม่ชอบนั้นมีเหตุผลที่แตกต่างกัน จึงเอามาเป็นตัวชี้วัดว่าเรื่องนั้น ๆ ดีไม่ดีไม่ได้ อีกทั้งผู้ใช้งาน Netflix เองก็ไม่ได้จะกดดาวรีวิวกันสักเท่าไหร่นัก จึงเปลี่ยนวิธีการให้คะแนนมาเป็นแค่ชอบหรือไม่ชอบแทน แต่ไม่ได้แสดงสถิติหน้าบ้านให้เห็นว่าชอบหรือไม่ชอบอย่างไหนเยอะกว่ากัน

ซึ่งก็มีสื่อหลายที่แอบแซว Netflix ว่า จริง ๆ แล้วที่ยกเลิกระบบให้ดาวนั้นเพราะเรทติ้งของ Netflix Originals (คอนเทนต์ที่ Netflix ผลิตเองเพื่อฉายแบบสตรีมมิ่ง) มีคะแนนรีวิวออกมาไม่ดีติดต่อกันนานหลายปี (รวมถึงบทวิจารณ์จากสื่อต่าง ๆ ที่คอยกระหน่ำใส่อีกด้วย เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Death Note) อาจทำให้ผู้ที่เข้าไปยังเว็บไซต์หรือแอปของ Netflix นั้นเห็นและรู้สึกไม่มั่นใจ

ที่มา : Dailydot

ชอบหรือไม่ชอบ ระบบที่น่าจะฮิตที่สุด

ระบบการรีวิวแบบให้เลือกแค่ชอบหรือไม่ชอบนั้น น่าจะเป็นวิธีที่หลายที่หลายเจ้าเลือกใช้กันมากที่สุดในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น Netflix อย่างที่ได้กล่าวไว้ หรือแหล่งรวมวีดีโอจากทั่วโลกอย่าง Youtube ที่โชว์ให้ดูหมดไม่ว่าจะเป็นยอดวิว, ยอดผู้ติดตาม (Subscribed) และยอดคนที่กดชอบหรือไม่ชอบออกมาเป็นตัวเลขให้เห็นกันชัดเจนไปเลย แต่ถ้าพูดถึงการกลั่นแกล้งกันเหมือนให้ดาว ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน เพราะในแง่ของการใช้งานก็แค่ไปกดเท่านั้นเอง

ส่วนของ Facebook นั้นจะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือเปลี่ยนจากการให้ดาวมาเป็นระบบแนะนำ (Recommend) แทน โดยจะคล้ายคลึงกับการกดชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งจะไม่แสดงผลออกมาว่ามียอดอย่างละเท่าไหร่ แต่จะขึ้นโพสต์ว่า มีคนแนะนำเพจนี้แค่ไหน และมีเพราะอะไรถึงแนะนำ ​โดยโพสต์ปกติของผู้ใช้งานที่ทำการแท็กชื่อเพจนั้น ๆ ติดมา ก็สามารถเป็นโพสต์แนะนำได้ด้วย (แต่ในส่วนของการให้ดาวที่ผู้ใช้งานนั้นเคยกดให้มาก่อน ก็ยังคงแสดงอยู่ตามลำดับ)

 

 

สำหรับแพลตฟอร์มสำหรับการเล่น และจัดจำหน่ายเกมชื่อดังอย่าง Steam ก็ใช้ระบบแบบกดชอบหรือไม่ชอบเช่นกัน แต่จะมีความละเอียดกว่ามาก โดยจะแสดงผลเป็นกราฟเรทติ้งตั้งแต่เกมวางจำหน่าย และตัวบทรีวิวจากผู้ใช้งาน ซึ่งเราเราสามารถเลือกดูได้อย่างละเอียดตามช่วงเวลาท่ีแสดงผลไว้ (ว่าทำไมในช่วงเวลานั้น ๆ เกมถึงมีกราฟพุ่งสูงหรือลงต่ำมากกว่าปกติ)

ที่สำคัญที่สุดคือบทรีวิวที่เราเห็นจะมาจากผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของเกมดังกล่าวเท่านั้น หรือพูดง่าย ๆ คือต้องซื้อมาเล่นก่อนถึงจะมีสิทธิ์เขียนลงไปได้ ไม่ใช่ใครมาเขียนก็ได้นั่นเอง

ถึงแบบไหนจะฮิต แต่ก็ต้องดูชนิดของคอนเทนต์

ระบบการให้คะแนนคอนเทนต์จริง ๆ แล้วก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องคือความน่าเชื่อถือของผู้ใช้งานที่มาทำการรีวิว โดยถ้าเป็นคอนเทนต์ที่สามารถตรวจสอบว่าบัญชีผู้ใช้งานนั้นเป็นเจ้าของจริง ๆ เช่น เกม, เพลง หรือแอปพลิเคชั่น หรือเว็บซื้อของออนไลน์ ก็จะทำให้การรีวิวมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นมาในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นคอนเทนต์ที่ใครมาเขียนก็ได้ ก็มีโอกาสสูงที่หลายความคิดเห็นจะไม่เป็นความจริง

อย่างไรก็ตาม การรีวิวนั้นเป็นเพียงด่านหน้าของคอนเทนต์ เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ที่ถูกรีวิวออกมาในแง่ไหน ถ้าผู้ใช้งานเข้าไปสัมผัสกับตัวคอนเทนต์นั้นจริง ๆ แล้วเกิดความประทับใจในคุณภาพของคอนเทนต์

เรียบเรียงโดย : ทีมงาน RAiNMaker

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save