YouTube เตรียมลดการแนะนำวิดีโอทฤษฏีสมคบคิด การเมือง ข่าวปลอม โลกแบน

ปัญหาข่าวปลอมและคอนเทนต์ชวนเชื่อ ไม่ได้อยู่แค่ใน Facebook หรือ Twitter เท่านั้น บน YouTube ก็ได้รับปัญหานี้กับเขาเช่นกัน ทีนี้ข่าวปลอมบน YouTube จะเป็นแบบไหน ? คำตอบก็คือ มันอยู่ในรูปของวิดีโอชวนเชื่อ วิดีโอทฤษฏีสมคบคิด หรือการพูดชี้นำทางการเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปแบบของวิดีโอให้ความรู้ทั่วไปบน YouTube

เว็บไซต์ The Verge ได้ออกรายงานว่า YouTube มีแผนที่จะลดการเข้าถึงวิดีโอเหล่านี้ลงอย่างไม่นิ่งนอนใจ ซึ่งเนื้อหาก็จะมีตั้งแต่ การพูดกรณีต่าง ๆ ในการเมือง ทฤษฏีสมคบคิดที่ไร้สาระและไม่เป็นประโยชน์ เช่น ทฤษฏี 9/11 ต่าง ๆ โดยการเข้าถึงเหล่านี้นอกจากจะมาจากการ Search แล้ว ยังมาจากการ Recommend หรือวิดีโอแนะนำ และ autoplay ที่เลือกวิดีโอแนะนำมาเล่นเองโดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องกดเลือก

แล้วปัญหานี้ร้ายแรงแค่ไหน

ปัญหาอยู่ที่อัลกอริทึมการเลือกวิดีโอของ YouTube มานำเสนอ PEW และ BuzzFeed ได้เคยทำการทดลองร่วมกันในการสร้างบัญชี YouTube เปล่า ๆ ใส ๆ ขึ้นมา แล้วกดดูวิดีโอเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองธรรมดา ๆ ไม่ชี้นำอะไร แต่ระบบ Recommend ของ YouTube กลับเลือกวิดีโอเนื้อหาการเมืองสุดโต่งมาแสดงหลังจากการชมคลิปไปแค่ 6 คลิปเท่านั้น ดังนั้น การลดการเข้าถึงเนื้อหาสุดโต่งเหล่านี้ก็น่าจะเริ่มต้นจากตัวอัลกอริทึมของ YouTube เองเช่นกัน

แผนการปรับลงคอนเทนต์ชวนเชื่อ

YouTube จะใช้คนธรรมดา ๆ มานั่งเช็ครูปแบบของวิดีโอ ร่วมกับระบบ Machine Learning และพยายามนำเนื้อหาเหล่านี้มา Recommend ให้น้อยที่สุด (แต่ก็ไม่ได้เป็นการไปลบหรือนำเนื้อหาออกจากระบบ ตราบใดก็ตามที่ไม่ได้ละเมิดข้อตกลงของ YouTube) โดยวิดีโอที่เข้าข่ายจะจัดให้อยู่ในกลุ่มของ borderline ตั้งแต่ โลกแบน, 9/11, เรื่องราวปาฏิหาริย์ ต่าง ๆ

การทดสอบนี้ จะเริ่มต้นจากในสหรัฐอเมริกาก่อน และจะถูกนำมาใช้ทั่วโลกในภายหลังเพื่อต่อสู้กับคอนเทนต์ที่มีวัตถุประสงค์ไม่ดี หรือชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิดนำไปสู่วัตถุประสงค์บางอย่าง พอเห็นการทดสอบแบบนี้แล้ว ก็อยากให้รีบ ๆ เอามาใช้ในไทยบ้าง เพราะคอนเทนต์ชวนเชื่อหรือทฤษฏีสมคบคิดบางอันก็เป็นที่นิยมและพูดถึงกันไม่จบไม่สิ้น เช่นกรณี 9/11 หรือ การไปเหยียบดวงจันทร์

สำหรับ Publisher ที่เน้นทำแชแนลแบบคลิปไวรัล คลิกเบต ข่าวปลอม ก็อาจจะได้รับผลกระทบมากพอสมควรหลังจากที่ YouTube นำมาตรการนี้มาใช้จริง ๆ รวมถึงเราในฐานะคนทำคอนเทนต์เองก็ต้องคอยเตือนตัวเองว่าคอนเทนต์ที่เราจะทำนั้นเป็นประโยชน์ให้กับผู้ชมจริง ๆ ซึ่งต้องมาจากการเลือกประเด็นนำเสนอที่ดีและมีเหตุผล

อ่านเพิ่มเติม : รู้จักกับงานเขียนแบบ Evidence-based เพื่อความน่าเชื่อถือของคอนเทนต์

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save