FacebookSocialYoutube

Avatar

Passapornpor February 20, 2018

Facebook ประกาศศึกวิดีโอ พร้อมโค่น Youtube ลงจากบัลลังก์

  • เมื่อ Watch เปิดตัว นั่นหมายความว่า Youtube กำลังสั่นคลอน
  • การก้าวพลาดครั้งสำคัญของ Youtube สู่กฎใหม่ที่ยุ่งยากกว่าเดิม
  • แนวทางสร้างความเชื่อมั่นของ Facebook Watch ต่อบริษัทสื่อโฆษณา

 

หากว่าทางเลือกโปรโมทแบรนด์บนเพจต่างๆ เป็นไปได้ยากขึ้น เฟสบุ๊คได้เพิ่มทางเลือกในการลงโฆษณาให้กับแบรนด์ แต่จากการจ่ายค่าโฆษณาเพื่อให้เนื้อหาของแบรนด์ปรากฎขึ้นบน News Feed เหมือนที่เฟสบุ๊คอนุญาตให้ทำมาตลอดนั้น ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งของการโฆษณา ซึ่งอยู่ในรูปแบบแพลตฟอร์มคอนเทนต์วิดีโออีกด้วย

 

Watch ตัวเลือกใหม่ของแบรนด์ เพื่อการโฆษณาในคอนเทนต์วิดีโอ ไม่ต่างกับ Youtube

 

ยุคนี้เป็นยุคที่เราก้าวสู่อินเตอร์เน็ตที่สามารถดูคลิปวิดีโอได้อย่างไม่ต้องรอโหลดเป็นชั่วโมงอีกต่อไป นั่นทำให้คอนเทนต์วิดีโอกลายเป็นที่จับตามองของหลายๆแบรนด์มากขึ้น และหมายถึงตัวเลือกในการโฆษณาผ่านคลิปวิดีโอที่มีชื่อเสียงเช่นกัน

Watch เป็นแพลตฟอร์มตัวล่าสุดที่เฟสบุ๊คเปิดตัวมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2017 โดย Watch เป็นแถบที่แยกหมวดวิดีโอออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งระบบการคัดเลือกวิดีโอมาแสดงผลนั้น มีการจัดลำดับที่คล้ายคลึงกับระบบของยูทูป คือการจัดตามความนิยมในช่วงนั้นๆ เช่น วิดีโอที่ได้รับการพูดถึงเยอะที่สุด วิดีโอที่เพื่อนคุณกำลังรับชม หรือวิดีโอที่ตลกโปกฮา โดยมีคนกดอีโมชั่น Haha เยอะที่สุด แบ่งเป็นส่วน Discover ที่จัดเรียงคลิปตามความสนใจ และยังมี Watchlist ให้เราสามารถเลือกติดตามรายการที่สนใจ และเก็บไว้ดูภายหลังได้อีกด้วย

 

Facebook Watch เปิดแล้วทั้งเวอร์ชั่นเว็บ เวอร์ชั่นแอปมือถือ และเวอร์ชั่นแอปทีวี

 

ในขณะที่บรรณาธิการสื่อก็ได้ออกมาพูดถึงแพลตฟอร์มอย่างน่าสนใจว่าไม่มีคนใช้แถบ Watch หรอก และถ้าวิดิโอของเราไม่ปรากฎขึ้นบนนิวฟีด เราจะทำให้คนเข้ามาใช้แถบ Watch ยังไงล่ะ?” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นกังวลของคอนเทนต์วิดีโอที่อยู่ในเฟสบุ๊ค เพราะเฟสบุ๊คไม่ใช่แพลตฟอร์มสำหรับวิดีโอมาก่อน

ซึ่งในเรื่องนี้เฟสบุ๊คได้มีการพูดคุยกับผู้ซื้อมีเดียต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างคอนเทนต์โดยผู้ผลิตคอนเทนต์เป็นบุคคลทั่วไปมากขึ้น ซึ่งเฟสบุ๊คจะสร้างระบบโฆษณาที่ทุกคนจะได้รับรายได้ที่แตกต่างกันไปเช่นเดียวกับยูทูบ นอกจากนี้บริษัทยังระบุว่าจะอนุญาตให้แบรนด์เลือกว่ารายการไหนของพวกเขาที่ต้องการให้มีโฆษณาบนนั้น และสามารถสร้างระบบการโฆษณาเพื่ออนุญาตให้ผู้โฆษณามาลงโฆษณาเป็นวิดีโอยอดนิยมได้อีกด้วย

 

 

 

การก้าวพลาดครั้งสำคัญของ Youtube นำมาสู่การปรับกฎครั้งใหญ่

Google (กูเกิ้ล) จำเป็นต้องลดการโฆษณาลงหลังจากที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากนักโฆษณาว่าโฆษณาของพวกเขาไปปรากฎหลังคลิปวิดีโอที่ไม่เหมาะสม และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว กูเกิ้ลจึงประกาศปรับปรุงระบบอย่าวรวดเร็วในเดือนมกราคม และได้สร้างระบบใหม่ขึ้นมาช่วยในการตรวจสอบ โดยทุกคลิปวิดีโอจะต้องถูกตรวจสอบโดยมนุษย์ซึ่งผ่านโปรแกรมตรวจสอบมาอีกทีแล้ว และแน่นอนว่าก็ต้องมีกฎที่เพิ่มเข้ามาเช่นกัน นั้นก็คือ การที่ช่องยูทูบจะสามารถทำเงินจากโฆษณาได้ ต้องมียอดคนดูเกิน 4,000 คน ในรอบ 1 ปี และต้องมีสมาชิกผู้ติดตามมากกว่า 1,000 ราย เท่านั้น จากเดิมที่นับเพียงยอดวิวเกิน 10,000 ก็สามารถสร้างโฆษณาบนเนื้อหาวิดีโอของตนได้แล้ว ด้วยกฎใหม่ที่ดูยุ่งยากกว่าเดิม ทำให้เหล่ายูทูบเบอร์เริ่มมองหาแพลตฟอร์มวิดีโออื่นๆเป็นทางรอดให้กับตัวเอง

นั่นทำให้การเคลื่อนไหวของ Watch ยิ่งขยับเข้าไปล่วงล้ำในดินแดนของยูทูบมากไปอีก แม้เวลานี้ยังไม่ใช่ทุกคนบน Watch ที่สามารถสร้างรายได้จากการโฆษณาได้จากแพลตฟอร์มนี้ แต่เฟสบุ๊คก็ยอมที่จะจ่ายให้กับสื่อบางสื่อ อาทิ บริษัทโปรดักชั่น และผู้สร้างคอนเทนต์เจ๋งๆบางราย เพื่อให้พวกเขามาลงรายการในแพลต์ฟอร์มของ Watch ซึ่งเป็นเงินประมาณ 10,000 ถึง 500,000 เหรียญต่อตอนเลยทีเดียว โดยขึ้นอยู่กับความยาว และความพิเศษของคอนเทนต์นั้นๆ ตอนนี้ก็มี 4 บริษัท ที่มีข้อตกลงกับ Watch เรียบร้อยแล้ว และยังมีบางรายการที่ถูกอัพโหลดแบบฟรีๆในฐานะพาร์ทเนอร์เช่นกัน

 

แผนการตลาดเชิงรุกของ Watch เริ่มทันทีตั้งแต่เปิดตัว

Watch เปิดตัวออกมาในเดือนสิงหาคม 2017 โดย Watch พยายามที่จะให้มีรูปแบบของรายการที่เป็นหลายๆตอนในเฟสบุ๊ค ซึ่งเฟสบุ๊คหวังว่าจะได้รายได้โฆษณาจากตัวพ่อตัวแม่จากยูทูบเบอร์ และรายการแรกๆที่เข้ามาใน Watch คือ Comeback Kids โดย บริษัทดิจิตัลมีเดีย The Dodo เนื้อหาเกี่ยวกับเด็ก และสัตว์น่ารัก รวมถึงรายการ Struggle Meals ซึ่งเป็นรายการสอนทำอาหารในงบ $2 ซึ่งดิจิตัลวิดีโอได้รับโฆษณาไป $5.2 พันล้านในช่วง 6 เดือน เมื่อปี 2017

เฟสบุ๊คยังบอกอีกว่าในเดือนธันวาคม 2017 พวกเขาจะใส่โฆษณาเข้าไปในต้นคลิปก่อนการรับชมคอนเทนต์วิดีโอของแบรนด์ ซึ่งเป็นสิ่งแรกในแพลตฟอร์ม Watch ที่จะเริ่มทำ ในขณะเดียวกันเพื่อรักษาเอนเกจเมนต์ที่ดี เฟสบุ๊คต้องการให้คลิปวิดีโอที่อัพโหลดนั้นมีความยาวอย่างน้อย 3 นาที เมื่อต้องมีโฆษณาขั้นกลาง โดยโฆษณาจะปรากฎขึ้นหลังจากคลิปวิดีโอเล่นไปแล้ว 60 วินาที จากก่อนหน้านี้ที่ 90 วินาที หลังจากคลิปเล่นเพื่อให้โฆษณาปรากฎขึ้น ในความยาวโฆษณาเพียง 20 วินาที

เฟสบุ๊คหวังว่าคลิปวิดีโอที่มีความยาวจะเพียงพอต่อการทำให้ผู้ใช้อยู่กับเว็บไซด์ได้นานยิ่งขึ้น หลังจากที่ไตรมาสสุดท้ายที่ผ่านมา ผู้ใช้เว็บไซด์ใช้เวลาในการเปิดเว็บไซด์น้อยลงทุกวัน วันละ 50 ล้านรายเลยทีเดียวอาจเพราะการเปลี่ยนแปลงนิวฟีดส์ด้วยก็เป็นได้

 

ความเชื่อมั่นของเอเจนซี่ ต่อแพลตฟอร์ม Watch

บริษัทสื่อโฆษณา เล่าว่าลูกค้าของพวกเขาเริ่มมีการพูดถึงโอกาสในการโฆษณาบนเฟสบุ๊ค แต่การโฆษณาส่วนใหญ่บนเฟสบุ๊คก็ยังเป็นการซื้อสปอนเซอร์ให้ขึ้นบนนิวฟีดส์มากกว่าโฆษณาจาก Watch เพราะแบรนด์ทั้งหลายยังคงลังเลว่าโฆษณาของพวกเขาจะปรากฎที่ใดบ้าง ด้วยประเภทของเนื้อหาบนเฟสบุ๊คเองที่มีความหลากหลายกว่ายูทูปมากนัก

อย่างไรก็ตามทางบริษัทมีการพูดคุยเกี่ยวกับการซื้อขายโฆษณาบนคอนเทนต์วิดีโอ ว่าจะมีวิธีคล้ายคลึงกับการขายโฆษณาบนทีวี ซึ่งอาจเป็นหนทางที่จะกำจัดรายการคุณภาพต่ำออกไป โดยรายการคุณภาพต่ำจะไม่ได้รับรายได้จากการโฆษณา และเป็นการโน้มน้าวให้แบรนด์ที่ลงโฆษณบนทีวีสนใจมาลงโฆษณาบนเฟสบุ๊คมากขึ้น สุดท้ายนี้เฟสุบ๊คยังคงคิดที่จะทำระบบการโฆษณาที่เหมือนกับระบบของยูทูบอย่างแน่นอน

 

ที่มา – DigidayCNBC, newsroom.fb.com, YoutubeMarketingdive

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save