Youtube

Avatar

Thesky June 9, 2025

อัปเดต ‘YouTube Algorithm 2025’ วิธีบูสต์คอนเทนต์แบบเข้าใจแพลตฟอร์ม

ปัจจุบัน YouTube ไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่การสร้างสรรค์คอนเทนต์สำหรับครีเอเตอร์ แต่เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ หรือใช้เพื่อรับชมเป็นความบันเทิงด้วย ทำให้อัลกอริทึมมีตัวเลือกในการนำเสนอผู้ชม ให้มีตัวเลือกมากขึ้น ซึ่ง RAiNMaker จะพามาเจาะอินไซต์ พร้อมพาไปอัปเดต ‘YouTube Algorithm 2025’ กัน!

เรื่องของอัลกอริทึมต่อให้จะเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรือยากที่จะทำความเข้าใจในบางช่วงว่ามีการทำงานอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามผู้ชมมักจะเป็นผู้ตัดสินว่าอัลกอริทึมควรจะเปลี่ยนไปอย่างไรด้วย

เช่นเดียวกับบน YouTube ที่เปรียบเสมือกับ Seach Engine ขนาดใหญ่ และผู้ชมก็มักจะเลือกรับชมสิ่งที่ถูกอัลกอริทึมแนะนำขึ้นมาก่อนเสมอ และยิ่งคอนเทนต์ถูกแนะนำมากขึ้นเท่าไหร่ คอนเทนต์นั้นก็จะยิ่งไวรัลมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วอัลกอริทึมของ YouTube ก็คือ

Recommended Content

วิดีโอที่ถูกแนะนำโดยอัลกอริทึมของ YouTube โดยจะอยู่ที่ตำแหน่ง ‘Home Page’ และ ‘Suggested Video’ ที่ถูกคำนวณ และอ้างอิงมาจากพฤติกรรมของผู้ชมบน YouTube

โดยจะทำการแทร็กกิงจากทั้งยอด Views, Watch Time, Like และ Dislike ไปจนถึงการ Skip หรือการกดตัวเลือก ‘Not interested’ ที่ช่วยให้เจอกับวิดีโอคอนเทนต์ที่ YouTube อยากจะแนะนำต่อไปยังผู้ชมคนอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง หรือความสนใจเดียวกัน

The selection of videos

หน้า ‘Home’ คือหน้าแรกที่ผู้ใช้เปิดมาก็จะเจอกับคอนเทนต์วิดีโอที่ตรงกับความสนใจ หรือใกล้เคียงกับสิ่งที่สนใจตามอัลกอริทึมแนะนำมา ที่จะปรากฎบนแอป YouTube หรือเว็บเบราว์เซอร์ YouTube.com. ซึ่งเป็นหน้าที่พาผู้ชมแต่ละคนจะได้รับการแนะนำที่แตกต่างกันทุกคน โดยเลือกจาก

  • Performance: การวิเคราะห์ว่า คอนเทนต์วิดีโอนั้นมีความดึงดูด และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ชมมากน้อยแค่ไหน โดยคำนวณจากยอดเอนเกจเมนต์ที่ได้รับ โดยเฉพาะยอดวิว
  • Watch & Search History: การวิเคราะห์จากจำนวนครั้งที่ผู้ชมมาส่องช่อง หรือแต่ละหัวข้อคลิปมากน้อนแค่ไหน ไปจนถึงจำนวนครั้งที่อัลกอริทึมแนะนำวิดีโอนี้ขึ้นมา แล้วผู้ชมเลือกที่จะคลิกไปดูไหมด้วย

Suggested Videos

แถบแนะนำคอนเทนต์วิดีโอที่มักจะแสดงด้านขวาข้าง ๆ กับจอคอนเทนต์ที่ผู้ใช้รับชมอยู่ ซึ่งอัลกอริทึมของ YouTube มีการจัดอันดับการแนะนำมาจากวิดีโอที่น่าจะอยากรับชมต่อไปมากที่สุด โดยคำนวณมาจาก

  • From: คอนเทนต์จากช่อง หรือครีเอเตอร์ที่รับชมอยู่
  • Related: คอนเทนต์ที่มีความเกี่ยวข้องกันเหมือนเป็นตอนต่อไป
  • Similar: คอนเทนต์ที่มาจากครีเอเตอร์ หรือช่องที่มีลักษณะคล้ายกัน
  • Recently Uploaded: คอนเทนต์จากช่องที่ติดตามพึ่งอัปโหลดใหม่
  • Watched: คอนเทนต์ที่รับชมจบไปแล้ว หรือคอนเทนต์ที่รับชมแล้วแต่ยังไม่จบคลิป

นอกจากนี้ยังมี ‘Category Keyword’ หรือคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับวิดีโอ ขึ้นมาเป็นคำให้เลือกกดรับชมได้ด้านขวาตรง Suggest Video เพื่อให้ใช้คำค้นหาคอนเทนต์วิดีโอที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ แต่จากการแนะนำของอัลกอริทึมทั้งหมดนี้ก็มีที่มาที่ไป โดยอ้างอิงมาจากสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้

  • Engagement: ยอดเอนเกจเมนต์ที่มาจาก Watch Time, Video Views, Likes, Dislikes และ Share ที่ผู้ชมสร้างอิมแพคให้กับวิดีโอนั้น จะถูกอัลกอริทึมแนะนำต่อไป
  • Direct Feedback: เพื่อทำให้ผู้ชมมีตัวเลือกที่ควบคุมเองได้ การมีฟีดแบ็กอย่างตรงไปตรงมาจาก ‘Not Interest’ และ ‘Don’t reccomend channel’ จะช่วยให้มองเห็นคอนเทนต์จากช่องนั้นน้อยลง และมีตัวเลือก Add to queue, Save to Watch later และ Share ที่แสดงว่าผู้ชมสนใจคอนเทนต์จากช่องนี้ ก็จะถูกแนะนำเพิ่มขึ้นอีก
  • Feedback Surveys: การรับฟีดแบ็กจากการทำแบบสอบถามสั้น ๆ เพียงแค่เลือกว่ามีความคิดเห็นกับคอนเทนต์นั้น ๆ อย่างไร ซึ่งจะเป็นการสำรวจที่สุ่มขึ้นมาก่อนวิดีโอจะเล่นนั่นเอง

youtube feedback surveys

Trending Videos

แท็บฟีด YouTube Trending ไม่ได้อ้างอิงมาจากพฤติกรรม หรือความชอบ และความสนใจของผู้ชมส่วนใหญ่เหมือนกับ Suggest Video แต่มีการตัดสินใจมาจากวิดีโอที่ได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็นคลิปสั้น หรือ Shorts ในแต่ละประเทศ พร้อมมีการรีเฟรชคอนเทนต์ให้สดใหม่ทุก ๆ 15 นาทีที่ขึ้นเทรนด์

ส่วนการคำนวณคอนเทนต์วิดีโอที่จะติดเทรนด์ได้ ก็มาจากการที่ YouTube วิเคราะห์ยอดวิว, ความเร็วที่ยอดวิวเพิ่มขึ้น, ที่มาของยอดวิวทั้งใน และนอกแพลตฟอร์ม, อายุของวิดีโอว่าโพสต์มานานแค่ไหน ไปจนถึงประสิทธิภาพโดยรวมของวิดีโอเมื่อเทียบกับวิดีโออื่น ๆ จากช่องเดียวกัน

ซึ่งหมายความว่าวิดีโอที่มียอดวิวสูงสุดภายใน 1 วันก็อาจจะไม่ได้ติด #1 on Trending หรือวิดีโอที่มียอดวิวเยอะก็สามารถเป็นอันดับติด Trending ต่ำกว่าวิดีโอที่มียอดวิวน้อยกว่า แต่ประสิทธิภาพที่อัลกอริทึมวิเคราะห์ได้ดีกว่านั่นเอง

อีกทั้ง YouTube ยังมีความเข้มงวดเรื่องกฎการทำคอนเทนต์ เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ชมโดยเฉพาะคอนเทนต์ที่คำหยาบเยอะ มีเรื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ หรือมีความรุนแรงก็อาจติดเหลือง หรือถูกลบคลิปได้ เนื่องจากไม่เข้าข่ายกฎชุมชนที่มี

YouTube Search

YouTube นับว่าเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอที่มี Search Engine ขนาดใหญ่ เพราะมี Google เป็นเจ้าของ แต่ผู้ใช้ YouTube จะสามารถควบคุมการเสิร์ช และเครื่องมือในการค้นหาคีย์เวิร์ด และตำแหน่งคอนเทนต์วิดีโอที่พบเจอได้ได้มากกว่าเล็กน้อย โดย YouTube จะจัดอันดับวิดีโอด้วยปัจจัย ดังนี้

  • ชื่อคลิป, คำอธิบายคลิป แมทช์กับคีย์เวิร์ดที่ผู้ชมใช้ค้นหา
  • คอนเทนต์วิดีโอไหนมียอดเอนเกจเมนต์เยอะที่สุดในการเสิร์ช

และเพื่อความชัวร์ว่าวิดีโอคอนเทนต์จะปรากฏในผลการค้นหาของผู้ใช้ แบรนด์หรือครีเอเตอร์จะต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับ YouTube มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องแน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไปนั้นถูกต้องด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ  YouTube SEO ด้วย

วิธีการทำความเข้าใจอัลกอริทึม

  1. อย่าคิดถึงแต่อัลกอริทึม แต่คิดถึงผู้ชมด้วย: เพราะ YouTube ออกแบบอัลกอริทึมมาให้ผู้ชมเจอคอนเทนต์วิดีโอที่ตรงกับความสนใจมากที่สุด แทนที่จะปรับคอนเทนต์ก็ควรทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ค้นหาจุดตัดระหว่างสิ่งที่แบรนด์ หรือครีเอเตอร์ต้องการ และสิ่งที่ผู้ชมอยากเห็น
  2. ระยะเวลาในการรับชมไม่ใช่ตัวตัดสิน: เพราะ วิดีโอที่มีความยาว 5 นาทีอาจมีคุณค่ามากกว่าวิดีโอที่มีความยาวเป็น 3 เท่า และควรวิเคราะห์อัตราการมีส่วนร่วม หรือความคิดเห็นจากผู้ชมร่วมด้วย เพราะเป็นสัญญาณที่จะถูกป้อนเข้าระบบคำแนะนำจาก YouTube
  3. ความไวรัลเป็นแค่จุดเริ่มต้น: สิ่งสำคัญที่สุดคือการเห็นเส้นทางต่อไป คือเน้นสร้างความประทับใจอย่างสม่ำเสมอ ผสมองค์รวมที่ผู้ชมชอบให้กลับมาดูซ้ำ ๆ และพยายามคิดเหมือนผู้ชม
  4. ทำคอนเทนต์หลายแบบอาจไม่ตอบโจทย์: ใครที่ทำทั้งคอนเทนต์วิดีโอสั้น และยาว หรือมีไลฟ์ และพอดแคสต์จนรู้สึกเยอะเกินไป ให้วิเคราะห์ว่ามีผู้ชมกลุ่มเดียวก็ทำคอนเทนต์หลายแบบในช่องเดียวได้ แต่ถ้ามีผู้ชมหลายกลุ่มก็ลองสร้างช่องใหม่แนกไว้ และคอนเทนต์จะถูกเจอตามธรรมชาติของอัลกอริทึมให้มีคอมมูนิตี้เอง
  5. หาจุดยืนเฉพาะให้ตัวเอง: โดยเฉพาะจุดตัด XY ที่คำนึงความแตกต่างของคอนเทนต์ที่มีแบรนด์ หรือครีเอเตอร์คนอื่นทำคล้ายกัน และหาช่องโหว่ที่จะทำให้ช่องแตกต่างได้
  6. ตรวจสอบก่อนโพสต์: ขั้นตอนธรรมดาที่มักจะถูกมองข้าม โดยเฉพาะการเช็กชื่อวิดีโอ คำอธิบายวิดีโอ ไปจนถึงการจัดกลุ่มคอนเทนต์ในเพลย์ลิสต์เพื่อให้ค้นหาเจอง่าย
  7. เพิ่มประสิทธิภาพคลิปด้วย Thumbnail: ภาพผกคลิปที่ดีคือ ภาพที่สะดุดตา และดึงดูดความสนใจตั้งแต่แรกเห็น ต้องเป็นฟอนต์ที่อ่านง่าย และสื่อถึงอารมณ์ และมู้ดโทนภายในได้เพียงแค่ดูปกคลิป

จากการทำความเข้าใจอัลกอริทึมสำคัญทั้งหมดบนแพลตฟอร์มของ YouTube เรียกได้ว่ามีความคล้ายกับ Instagram ตรงที่มีหลายโหมดให้ค้นหา และค้นพบคอนเทนต์ที่ต้องการ ซึ่งแต่ละตำแหน่งที่อัลกอริทึมคอยจับสัญญาณได้นั้น ก็จะมีวิธีการคำนวณ และเพิ่มยอดเอนเกจเมนต์แตกต่างกันไป

แต่โดยรวมแล้วผู้ชมทุกคนเป็นคนกำหนดให้มันเกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงในเวลาเดียวกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คงเป็ยนการรู้ว่ากำลังทำคอนเทนต์เสิร์ฟกลุ่มเป้าหมายแบบไหน และวิเคราะห์ความชอบ ไปจนถึงตัวตนของแบรนด์ให้มีจุดตัดระหว่างกันอยู่เสมอ และเรื่องของอัลกอริทึมก็จะไม่ยากอีกต่อไป

ที่มา: https://buffer.com/resources/youtube-algorithm/

Copyright © 2025 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save