6 เทคนิคการพูดใน Podcast เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ได้กับทั้ง Host และแขก

ทุกวันนี้ Podcast กลายเป็นรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก ๆ และสำคัญไม่แพ้วิดิโอ บทความ หรือรูปภาพบน Social Media ไปแล้ว ทำให้การทำ Podcast นั้นใกล้ตัวเรามากขึ้น เชื่อว่าใครที่เป็น Creator ก็น่าจะมีประสบการณ์กับ Podcast ไม่ว่าจะอัดเอง เป็น Host เอง หรือโดนชวนไปเป็น Guest พูดคุยในรายการต่าง ๆ

แต่เนื่องจาก Podcast นั้นไม่เหมือนวิดีโอ ไม่เหมือนการให้สัมภาษณ์ เราก็อาจจะลงว่าแล้วสรุปเราต้องทำตัวยังไง วันนี้เรามีเทคนิค 6 ข้อง่าย ๆ ที่จะช่วยให้การพูดใน Podcast ง่ายขึ้น

1. ใช้เสียงธรรมชาติ โฟกัสที่คู่สนทนา ให้รู้สึกเหมือนกำลังคุยสบาย ๆ

จริง ๆ แล้วรูปแบบของการคุย Podcast ออกแบบมาให้เป็นการคุยกับสบาย ๆ ไม่ได้จริงจังมาก ดังนั้นเราสามารถใช้น้ำเสียงปกติของเรา สไตล์การพูดปกติ เหมือนกับเราคุยกับเพื่อน วิธีการคือให้โฟกัสไปที่คู่สนทนา อันนี้สำหรับ Guest จะสบายหน่อยเพราะใจหัวจะไม่มีอะไรต้องคิดมาก ถามมาตอบไปสไตล์เรา

2. มีปากกาหรือมือถือคอยจดประเด็น หรือ Search Google เพื่อให้ Track ได้

การมีปากกาหรือมือถือคอยจดประเด็นต่าง ๆ รวมถึงคำถาม จะช่วยให้เราไม่หลุดประเด็น ทั้งในแง่ของการเสริมจากสิ่งที่คู่สนทนาพูด หรือการตอบคำถาม

อีกอย่างที่แนะนำเลยก็คือ สมมติว่าเรานึกอะไรไม่ออกหรือมีประเด็นอะไรที่จะพูดแต่ไม่แน่ใจ เราสามารถ Search Google รอไว้ได้ ปกติแล้วเราจะไม่จำข้อมูลพวก ตัวเลข ชื่อ หรือปี แต่การพูดชื่อที่ถูกต้อง ตัวเลขที่ถูกต้อง ก็เป็นประโยชน์กับคนฟังมาก เพราะไม่ต้องไปหาเอง ให้เราเตรียมมือถือมา Search Google ไว้เลย จะได้มีความมั่นใจ

3. ใช้การสรุปเป็นข้อ ๆ จะช่วยให้เนื้อหาไม่ไหลไปเรื่อย

พยายามใช้การสรุปเป็นข้อ ๆ เช่น “ผมมี 3 ประเด็น” หรือ “ผมแบ่งสิ่งนั้นออกเป็น 2 อย่าง” “วันนี้ผมมี 5 เทคนิค” การแบ่งแบบนี้จะช่วยให้เนื้อหาของเรามีกรอบชัดเจน ไม่ไหลไปเรื่อย ๆ แถมคนดูยังสามารถนึกถามได้ง่าย ๆ แล้วตอนท้ายถ้าเราสามารถสรุปได้ว่า กี่ข้อ กี่ประเด็นของเรามีอะไรบ้าง จะทำให้การจดจำนั้นง่ายขึ้นด้วย

4. การทวนคำถาม รีแคปประเด็น ช่วยให้ประเด็นไม่ตกหล่น

การทวนคำถามเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะบางทีเราเองนั่นแหละที่ลืม หรือบางทีคำถามยาวมาก ๆ การตอบแบบทวนคำถามทำให้เราตอบไปที่ประเด็นนั้นจริง ๆ แล้วยิ่งถ้าเกิดคำถามถูกส่งมาเป็นข้อ ๆ แบบด้านบน ก็จะช่วยให้ผู้ตอบรู้ว่าจะต้องตอบกี่คำถาม เป็นวิธีการควบคุมบทสนทนาให้ไม่ไหลไปเรื่อย ๆ แถมประเด็นก็จะไม่ตกหล่น

เมื่อตอบแล้วอีกฝ่ายก็อย่าลืมรีแคปประเด็นหรือสรุปว่าผู้ตอบตอบว่าอย่างไรบ้าง

5. กำหนดเวลาจบ และนัดแนะภาพรวมกันก่อน

ก่อนที่จะเริ่มอัดกัน กำหนดเวลาเลยว่าจะใช้เวลากี่นาที กี่ชั่วโมง และนัดภาพรวมกันก่อนว่าจะพูดถึงเรื่อยอะไรบ้าง ใครจะพูดตรงไหน แต่ไม่ต้องนัดแนะกันทั้งหมดเพราะเดี๋ยวจะเป็นการ spoil กันเอง ทำให้หมดความตื่นเต้นของการสนทนา อาจจะคุย ๆ ประเด็นแล้วเก็บไว้ก่อน

ที่สำคัญก็คือ ต้องรู้ว่าช่วงไหนใกล้จบแล้ว จะได้รีบสรุปประเด็นแล้วช่วยกันรีแคปประเด็นของทั้ง Podcast ให้ผู้ฟังได้ฟังอีกรอบ

6. รู้ว่า Audience เป็นใคร สไตล์ไหน ต้องการอะไร

สุดท้ายแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ ต้องรู้ว่า Audience หรือคนฟังเป็นใคร มีพฤติกรรมอย่างไร ทำให้เราสามารถควบคุมบทสนทนาไปในทางที่ผู้ฟังจะได้รับประโยชน์สูงสุด รวมถึงเราเองก็จะสามารถส่งต่อข้อความที่เราต้องการไปได้อย่างตรงประเด็น ตามวัตถุประสงค์ของคอนเทนต์นั้น ๆ

จะเห็นว่าการอัด Podcast นั้นอาจจะยากกว่าการอัดวิดีโอหรือเขียนบทความ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นสด ๆ ต่อให้ไม่ได้เป็นการ Live ก็ตาม แต่ถ้าไปตัดหรือไปยุ่งกะมันมากบทสนทนาก็อาจจะดูไม่เป็นธรรมชาติ ดังนั้นทักษะการอัด​ Podcast อย่างมีประสิทธิภาพก็เป็นอีกเรื่องที่คนทำคอนเทนต์ยุคนนี้ต้องหันมาให้ความสำคัญแล้ว

เรียบเรียโดย ทีมงาน RAiNMAKER

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save