เคล็ด(ไม่)ลับการวางแผนใช้แพลตฟอร์มที่ใช่ ทั้งคอนเทนต์ Paid และ Organic

ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ในรูปแบบ Paid หรือ Organic ก็ค้องมีการวางแผน โดยเฉพาะกับการโพสต์คอนเทนต์ให้ถูกที่ถูกแพลตฟอร์ม เนื่องจากยุคสมัยนี้มีแพลตฟอร์มและเครื่องมือมากมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับครีเอเตอร์และแบรนด์ได้นำเสนอความเป็นตัวเอง แต่แพลตฟอร์มไหนล่ะที่เป็นเป้าหมายของคุณจริง ๆ? วันนี้ RAiNMaker มีคำตอบให้!

แต่ก่อนที่จะไปถึงเรื่องการใช้แพลตฟอร์มให้ถูก อันดับแรกที่ต้องมีในการวางแผนก็คือ ‘การกำหนดเป้าหมาย’ โดยเฉพาะการตั้งเป้าหมายในโซเชียลมีเดียที่จะใช้ นั่นก็คือทิศทางที่วัดได้ และยอดที่ทำถึง

โดยยอดเหล่านั้นไม่ได้มีเพียงแค่การขายเท่านั้น แต่รวมถึงยอดทางโซเชียลมีเดียด้วย เล่น ยอด Reach, คอมเมนต์, ไลก์, แชร์ และยอดวิว เป็นต้น เพราะยอดเหล่านี้ที่วัดปริมาณจากกลุ่มเป้าหมายในแต่ละโพสต์ ต้องสอดคล้องและเป็นไปในทางเดียวกันกับแผนที่วางไว้นั่นเอง ซึ่งแพลตฟอร์มที่ใช่จะต้องดูจากอะไรบ้าง ไปเช็กกัน!

Goals of The Right Platform

  • Target Audience Active 

แพลตฟอร์มที่ใช่จะต้องมีกลุ่มเป้าหมายที่แอ็กทีฟอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ชข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ ค้นหาชื่อแบรนด์หรือแม้แต่มีการสร้างคอมมูนิตี้เกี่ยวกับแบรนด์ขึ้นมา ก็นับว่าเป็นแพลตฟอร์มที่น่าลงโพสต์เพื่อเรียกยอดเอ็นเกจเมนต์มาก ๆ

  • Value to Audience 

หากคอนเทนต์ของคุณที่ลงไปนั้นสามารถให้คุณค่าหรือเติมความรู้ เพิ่มประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับพวกเขาได้ แพลตฟอร์มนั้นย่อมเป็นแพลตฟอร์มที่ใช่ เพราะดีกว่าการที่คิดอะไรมาแล้วยอดเอ็นเกจเมนต์ไม่กระดิก เพราะกลุ่มเป้าหมายของคุณไม่ได้อยู่ที่นี่

  • Worth the Investment 

แม้แพลตฟอร์มแต่ละประเภทจะมีรูปแบบคอนเทนต์ หรือเป้าหมายในการเล่นโซเชียลต่างกัน หน้าที่ของแบรนด์คือต้องตามหาให้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราชอบที่จะใช้เวลาไปกับแพลตฟอร์มแบบไหน เพื่อให้คอนเทนต์ที่เราสร้างนั้นได้ผลตอบรับดีที่สุด

  • Surprise to Audience

การที่คอนเทนต์จะมีความแปลกใหม่และสามารถเซอร์ไพรส์กลุ่มเป้าหมายได้ จะต้องมีแพลตฟอร์มที่เข้ามือเสียก่อน เพราะถ้าเรารู้จักแพลตฟอร์มนั้นมากพอ ก็จะทำให้ใช้เครื่องมือหรือใส่ลูกเล่นให้คอนเทนต์ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

  • Top of Audience’s Mind 

ไม่ว่าใครก็คงอยากเป็นชื่อแรกที่กลุ่มเป้าหมายนึกถึง และปัจจัยนั้นต้องมาจากแพลตฟอร์มที่เอื้ออำนวยด้วย เพราะจะเป็นตัวช่วยทำให้คอนเทนต์ของเรามองเห็นได้มากขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นแบรนด์หรือครีเอเตอร์ก็จะมีแพลตฟอร์มหลักที่ตัวเองโดดเด่นอยู่เสมอ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายรู้ดีว่าจะอัปเดตข้อมูลข่าวสารได้ที่แพลตฟอร์มไหน

The Right Channels

การที่แบรนด์หรือครีเอเตอร์ลงไปเล่นกับทุกแพลตฟอร์มเป็นเรื่องที่ดี เพื่อที่จะได้กระจายคอนเทนต์หรือตกกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้หลายทาง แต่ก็อย่าลืมที่จะมีแพลตฟอร์มที่ใช่เป็นช่องทางหลักของตัวเองให้เหมาะสมกับคอนเทนต์ และการโปรโมตต่าง ๆ ด้วย ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มที่คุณมีนั้นใช่หรือยัง ลองเช็กดูตามด้านล่างนี้ได้เลย

  • Facebook 

– แพลตฟอร์มที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด 

– มียอด Reach Ads ถึง 1.2 พันล้านยูสเซอร์ 

– เน้นการใช้เพื่อตามข่าว และพูดคุยกับคอมมูนิตี้

– เหมาะสำหรับแบรนด์ที่อยากเรียกยอดการมองเห็น 

Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่ทุกแบรนด์และครีเอเตอร์ต้องมี เพราะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือ เนื่องจาก Google ไม่ใช่ที่ค้นหาชื่อแบรนด์อีกต่อไป แต่ Facebook จะเป็นแพลตฟอร์มแรกที่ผู้คนนึกถึงในการเสิร์ช

รวมไปถึงเหมาะที่จะสร้างคอมมูนิตี้ใหม่ ๆ ให้กับแบรนด์ด้วย เพราะกลุ่มเป้าหมายสามารถเรียกยอดเอ็นเกจเมนต์จากความคุ้นเคยของผู้คนที่ใช้โซเชียลได้ผ่านการไลก์ แชร์ คอมเมนต์และกดแสดงรีแอ็กชัน ไปจนถึงการ Live เพื่อพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายก็ทำได้

  • Instagram 

– แพลตฟอร์มที่ผู้ใช้ได้โชว์สไตล์ของตัวเอง

– มียอด Reach Ads ถึง 1.48 พันล้านยูสเซอร์

– เน้นการใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และภาพจำ

– เหมาะสำหรับการสร้างแบรนด์ดิ้งให้คนจำได้

Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นงานภาพเป็นหลัก เลยแสดงให้เห็นตัวตนและภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ออกมาเป็นมู้ดโทนได้อย่างชัดเจน ฉะนั้นการคุมโทนจึงค่อนข้างสำคัญสำหรับการสร้างแบรนด์ดิ้งบนแพลตฟอร์มนี้

นอกจากการคุมโทนเพื่อบ่งบอกความยูนีคของแบรนด์แล้ว ยังมีสตอรี่ไว้อัปเดตทำเป็นทีเซอร์หรือการเรียกน้ำย่อยเพื่อแปะลิงก์ไปยัง YouTube ได้ ในขณะเดียวกันก็มี Reels และ Instagram Shop ไว้ให้ขายของด้วย

  • Twitter 

– แพลตฟอร์มที่มีการอัปเดตตลอดเวลาทุกวัน 

– มียอดทวีตถึง 100 ล้านทวีตต่อวัน 

เน้นการใช้เพื่ออัปเดตเทรนด์และสร้างแฮชแท็ก 

– เหมาะสำหรับการเข้าไปเล่นกับเทรนด์ในโซเชียล 

Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่ขึ้นชื่อว่าเร็วและมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลาในทุก ๆ วัน เพราะมีแฮชแท็กจำนวนมากที่ถูกสร้างขึ้นและเกิดเป็นเทรนด์ประเทศไทยจากแพลตฟอร์มนี้

ดังนั้นการที่แบรนด์จะเข้ามาใช้ Twitter ต้องเรียนรู้ที่จะอัปเดต และสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายตลอดเวลา เสมือนกับการพูดคุย แม้จะเป็นเพียงแค่ทวีตข้อความก็ตาม แต่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกใกล้ชิด และเข้าถึงง่ายกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ไปด้วย

  • YouTube 

– แพลตฟอร์มที่ผู้ใช้ชอบใช้เวลาด้วย

– มียอดผู้เข้าใช้งานมากถึง 14.3 พันล้านยูสเซอร์

– เน้นการใช้เพื่อสนุกกับคอนเทนต์วิดีโอและเปิดเป็นเพื่อน

– เหมาะสำหรับสร้างคอนเทนต์แบบสตรีมและคลิปยาว

YouTube เป็นแพลตฟอร์มสำหรับคอนเทนต์วิดีโอที่ทุกนคุ้นเคย เช่นเดียวกับ Facebook และ Instagram แต่ในแง่ของแบรนด์นั้น YouTube จะเน้นลักษณะการรีวิวที่ยาว และมีการแสดงรายละเอียดได้มากกว่า พร้อมทั้งยังไลฟ์สตรีมได้ด้วย

หากแบรนด์ไหนอยากทำคอนเทนต์ที่นำเสนอเรื่องราว หรือมีอะไรที่ต้องอธิบายอย่างละเอียด YouTube จึงเป็นอีกแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์มาก เพราะถ้ามีใครสนใจกับคอนเทนต์นั้น พวกเขาก็จะใช้เวลากับมันต่อคลิปเลยทีเดียว

  • TikTok 

– แพลตฟอร์มมาแรงมัดใจเยาวรุ่น

– มียอดผู้ใช้เพิ่มขึ้น 1 พันล้านยูสเซอร์ทุกเดือน

– เน้นการใช้เพื่อสร้างเทรนด์และโน้มน้าวใจด้วยโฆษณา

– เหมาะสำหรับการครีเอทีฟคอนเทนต์ที่ไม่เหมือนใคร

TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ฮิตติดอันดับ 1 ในบรรดาแพลตฟอร์มทั้งหมดเลยก็ว่าได้ เพราะมีรูปแบบฟีดที่ไถง่าย และเข้าใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนในยุคนี้

ดังนั้นไม่ว่าจะลงคอนเทนต์หรือโฆษณาก็ตาม จะมีความเป็นกันเองโดยที่ไม่ต้องแต่งเติมหรือเสริมโปรดักชันให้น่าเชื่อถือแบบแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพราะ TikTok เน้นความจริงใจในคอนเทนต์เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญ แต่จะแตกต่างตรงที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และทำให้เข้ากับเทรนด์หรือแฮชแท็ก ณ ช่วงเวลานั้นอยู่เสมอ

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มไหน ๆ หากแบรนด์หรือครีเอเตอร์เรียนรู้ที่จะยืดหยุ่นและปรับตัวไปตามกระแสมากพอก็ไม่มีปัญหาเลย ขอแค่วางแผน และตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าอยากเดินไปในทิศทางไหนกับแพลตฟอร์มที่ใช่ก็พอ

ที่มา – Hootsuite  Digital Report

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save