สรุป 23 Content Marketing Checklist 2024 ลิสต์การตลาดที่แบรนด์ และนักการตลาดต้องมี

อีกไม่กี่วันก็จะปี 2024 แล้ว แบรนด์ และนักการตลาดไหนยังไม่เตรียมตัว หรือทำเช็กลิสต์ว่าปีหน้าต้องพัฒนา หรือนำอะไรใหม่ ๆ มาประยุกต์ในการสร้างกลยุทธ์บ้าง วันนี้ RAiNMaker สรุปมาให้แล้วทั้งหมด 23 ข้อแบบจุก ๆ รู้แล้วก็นำไปใช้ได้เลย!

เรื่องของแบรนด์ และการตลาด แน่นอนว่าไม่ได้มีแค่การสร้างคอนเทนต์วิดีโอสั้น หรือตามเทรนด์ และเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของตัวเองเท่านั้น เพราะในปีหน้าสนามของแบรนด์ และตลาดอุตสาหกกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการโปรโมตบนโซเชียลมีเดียก็น่าจะเดือดไม่แพ้กัน

วันนี้ RAiNMaker เลยสรุป 23 พอยท์สำคัญให้แบรนด์ และนักการตลาดลองไปเช็กลิสต์กันดูว่าข้อไหนทำแล้ว หรือข้อไหนยังไม่เริ่ม หรือกำลังจะเริ่ม แต่ที่สำคัญหลังจากเช็กลิสต์กันเสร็จแล้วก็อย่าลืมติดตามผลด้วยนะว่าข้อที่นำไปใช้ เหมาะกับการโปรโมตของแบรนด์ต้วเองมากน้อยแค่ไหน และแนะนำให้หาข้อที่ใช่ที่สุดก็พอ หรือขยันหน่อยก็ลองให้หมดก็ได้นะ ซึ่งแต่ละข้อจะมีอะไรสำคัญให้เช็กกันบ้าง ตามไปดูกันเลย!

Content Goals  

ตั้งเป้าหมายการสร้างคอนเทนต์

  • เพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ (Website Traffic): เพิ่มการมองเห็นบนเว็บไซต์ และสร้างคอนเทนต์ที่เอื้อต่อการค้นหาโดยใช้ SEO
  • สร้างการรับรู้ของแบรนด์ (Brad Awareness): หาตัวตนของแบรนด์ให้เจอว่าจะมีคาแรกเตอร์แบบไหน หรือตัวตนแบบไหนของแบรนด์ที่กลุ่มเป้าหมายจดจำได้
  • กระตุ้นยอดขายและคอนเวอร์ชัน (Drive Sales and Conversions): คอนเทนต์ที่สร้างควรมีคอนเวอร์ชันพอให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจ หรืออยากซื้อ ตั้งแต่การรับรู้ถึงแบรนด์ ไปจนถึงการมีความภักดี (Loyalty) ต่อแบรนด์
  • การรักษาลูกค้า (Customer Retention): ทำให้ลูกค้าที่มีในปัจจุบันมีส่วนร่วม และอัปเดตข้อมูลด้วยคอนเทนต์ที่มีคุณค่า (Value) อยู่เสมอ

Target Audience Researched 

รีเสิร์ช และเจอกลุ่มเป้าหมายตัวเอง

  • สร้างลักษณะกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง (Buyer Persona): พัฒนาลักษณะกลุ่มเป้าหมายทั้งในอุดมคติ และความเป็นจริง ทั้งข้อมูล Demographic, ปัญหาที่พบเจอ และความสนใจ ไปจนถึงพฤติกรรมการซื้อ
  • สำรวจ และสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย (Conduct Surveys and Interview): ติดต่อกับลูกค้าปัจจุบันเพื่อถามถึงความพึงพอใจ และความต้องการ และรับฟังความคิดเห็นของพวกเขาเสมอ
  • ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เชิงลึก (Analyze Analytics Data): ใช้เครื่องมือ เช่น Google Analytics วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมาย
  • วิจัยลักษณะคู่แข่ง (Competitor Research): วิเคราะห์คู่แข่งว่ามีการเอ็นเกจกับกลุ่มเป้าหมายอย่างไร แล้วนำมาประยุกต์กับกลยุทธ์ให้เหมาะกับแบรนด์ตัวเอง
  • จับตาเทรนด์โลกโซเชียล (Monitor Social Media): ส่องเทรนด์ ไวรัล และมีมในโซเชียลมีเดียเสมอ แล้วนำไปสร้างคอนเทนต์ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ และสร้างความนิยมให้แบรนด์

Content Gap Analyzed 

วิเคราะห์คู่แข่ง หาช่องว่างตลาด

  • วิเคราะห์คอนเทนต์คู่แข่ง (Competitor Analysis): ตรวจสอบคอนเทนต์ที่แมส และไม่แมสของคู่แข่ง พร้อมนำมาเปรียบเทียบกับคอนเทนต์ของตัวเองว่ายังขาด หรือต้องเพิ่มเติมอะไร รวมถึงพลิกหาโอกาสใหม่ ๆ ให้ตัวเองด้วย
  • หาช่องว่างคีย์เวิร์ดในตลาด (Keyword Gap Analysis): ใช้เครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดสคำคัญที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ตัวเอง แล้วประยุกต์ใช้
  • ฟังผลตอบรับจากลูกค้า (Customer Feedback): รับฟังเสียงกลุ่มเป้าหมาย ว่าเขาต้องการคำตอบอะไรเกี่ยวกับแบรนด์ แล้ว Take action ให้ไว
  • ประเมินแนวโน้มอุตสาหกรรม (Industry Trends): ติดตามการอัปเดตในวงการอุตสาหกรรมของตัวอง รวมถึงหัวข้อที่น่าสนใจใหม่ ๆ ที่คู่แข่งยังไม่เริ่มทำ ก็ชิงลงมือทำก่อนได้เลย

Created Content Calendar 

มีแพลนการโปรโมตคอนเทนต์

  • เจาะจงประเภทคอนเทนต์ (Identify Content Types): เลือกคอนเทนต์ที่จะสร้าง และมีผลดีกับยอดเอ็นเกจเมนต์ของแบรนด์มากที่สุด เช่น ข้อความ, รูปภาพ, วิดีโอ หรือพอดแคส์ และบทความพร้อมกราฟิก
  • กำหนดความถี่การลงคอนเทนต์ (Set Publishing Frequency): ตัดสินใจเวลาที่ควรเผยแพร่คอนเทนต์ โดยควรเลือกเวลาที่มีการมองเห็นมากที่สุด
  • กลยุทธ์การโปรโมต (Promotion Strategy): วางแผนการโปรโมต และการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของคอนเทนต์

Content Themes Development 

พัฒนาธีมหลักของคอนเทนต์

  • กำหนดธีมหลักคอนเทนต์ (Identify Core Themes): หาธีมหลัก หรือหมวดหมู่ของคอนเทนตที่เหมาะกับแบรนด์
  • กำหนดเสาหลักคอนเทนต์ (Content Pillars): นอกจากคอนเทนต์ที่มีธีม ก็ควรมีเสาหลักคอนเทนต์ไว้ด้วยว่าอยากสื่อสารอะไร กับใคร รูปแบบไหน และวัดผลแบบใดบ้าง
  • สร้างกลุ่มหัวข้อคอนเทนต์ (Trends Topics): กำหนดว่าคอนเทนต์ประเภทไหนบ้างที่ควรโพสต์แบบบทความ วิดีโอสั้น และวิดีโอยาว หรือพอดแคสต์

Keyword Researched 

หาคีย์เวิร์ดสำคัญให้คอนเทนต์

  • เครื่องมือวิเคราะห์คีย์เวิร์ดสำคัญ (Keyword Tools): ใช้เครื่องมือหาคีย์เวิร์ดสำคัญที่เกียวข้องกับแบรนด์ หรืออุตสาหกรรมที่ทำอยู่
  • สร้างสมดุลให้คีย์เวิร์ด (Keyword Difficulty): คำไหนที่ยากเกินไป และมีผลต่อการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดให้เปลี่ยน
  • กำหนดคีย์เวิร์ดแบบวลี (Long-Tail Keywords): บางครั้งการมีคีย์เวิร์ดแบบประโยค หรือวลีที่ยาวกว่าคำสั้น ๆ ก็อาจจะดีต่อกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มมากกว่า

Decided on Content Types 

ตัดสินใจเลือกประเภทคอนเทนต์

  • ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (Audience Preferences): พิจารณากลุ่มเป้าหมายก่อนว่าพวกเขาชอบคอนเทนต์ประเภทไหน ทั้งอ่านบทความ ฟังพอดแคสต์ หรือดูวิดีโอสั้น และยาว
  • พิจารณาการตัดสินใจก่อนซื้อผู้บริโภค (Consider Buyer’s Journey): วิเคราะห์เส้นทางก่อนตัดสินใจซื้อ และช่วงตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย
  • ประเมินความพร้อมของทรัพยากร (Resource Availability): ประเมินทรัพยากรทั้งคน เวลา และความรู้ว่าเพียงพอ หรือต้องเพิ่มเติมส่วนไหนให้แบรนด์พัฒนา

Content Creation Workflow 

สร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

เวิร์กโฟลว์ที่ว่านั้นหมายถึงทั้งระบบการทำงานของตัวเอง ของทีม และงานที่ส่งออกไป โดยเริ่มจากวิเคราะห์คอนเทนต์ว่าส่งตรงไปถึงกลุ่มเป้าหมายแบบมีประาิทธิภาพหรือไม่ รวมถึงมีขั้นตอนที่ตรวจสอบ และอนุมัติคอนเทนต์ก่อนโพสต์ หรือโปรโมตเพียงพอหรือยัง

Integrated SEO 

รวม SEO เข้ากับกลยุทธ์ของทีม

SEO ยังคงรากญานสำคัญของการทำคอนเทนต์ ฉะนั้นจึงควรนำเครื่องมือนี้มาช่วยวิเคราะห์ประสิทธิภาพบนเพจ เว็บไซต์ และคอนเทนต์ รวมถึงเช็กประสบการณ์ของผู้ใช้ด้วยว่ามีผลเชิงบวกต่อแบรนด์ เมื่อเข้าชมเพจ หรือเว็บไซต์มีการมองเห็นที่เพียงพอหรือไม่ โดยตรวจสอบ SEO ที่ดีทั้งบนเดสก์ท็อป และสมาร์ตโฟน

 Visual Element 

ใช้วิชวลดึงดูดคอนเทนต์

 ไม่ว่าจะทำคอนเทนต์นรูปแบบทความที่มีภาพประกอบ หรือวิดีโอ เรื่องของวิลวชก็สำคัญ จึงควรเช็กบทบาทในการดึงดูดความน่าสนใจของวิชวลให้ดี รวมถึงการสร้างวิชวลที่ดีจะต้องสอดคล้องไปในทางเดียวกันกับคอนเทนต์ เพราะอาจจะส่งผลกระทบทั้งเชิงบวก และเชิงลบต่อคอนเทนต์ได้ และไม่ควรให้ขนาดไฟล์ใหญ่จนเกินไปสำหรับการรับชมบนโทรศัพท์ด้วย

Unique Value Proposition 

หาเอกลักษณ์สร้างคอนเทนต์ให้ต่าง

โดยปกติแล้วการสร้างคอนเทนต์จะต้องโดดเด่นในเรื่องการนำเนอที่มีคุณค่าแตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งอาจโฟกัสไปที่จุดใดจุดหนึ่งก็ได้ เช่น

  • เอากลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง: มุ่งไปที่ความสนใจของผู้ชมเป็นหลัก สร้าง UVP ของแบรนด์เอง
  • เน้นสร้างความแตกต่าง: เน้นสร้างเอกลักษณ์ให้คอนเทนต์ หาวิจัย หรือมีหัวข้อแคมเปญพิเศษ
  • สื่อสารด้วยข้อความที่ชัดเจน: กลุ่มเป้าหมายต้องเข้าใจสารที่จะสื่อทันที โดยไม่ต้องคิดเยอะ และรู้ว่าทำไมคอนเทนต์ของเราถึงแตกต่าง

Multilingual Content 

ตระหนักเรื่องภาษา และวัฒนธรรมในคอนเทนต์

สำหรับแบรนด์ หรือนักการตลาดไหนที่คิดว่ามีความโกลบอลพอที่จะเจาะตลาดต่างประเทศได้ หรืออยากจะลองเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่ในประเทศ ก็ควรคำนึงถึงถึงความต่างของการใช้ภาษา คำเปรียบเปรย และวัฒนธรรมเป็นหลัก ซึ่งนอกจากรับบการจัดการเนื้อหาให้รองรับหลายภาษาแล้ว ก็ควรตระหนักถึงความอ่อนไหวทางวัฒนธรรมด้วยว่าเล่นอะไรได้บ้างในคอนเทนต์

Content Collaboration 

เริ่มคอลแลปกับพาร์ตเนอร์ หรืออินฟลูเอนเซอร์

กลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่บางที่มีกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง และแพลนด้วยตัวเองอาจจะยังไม่กระจาย หรือมีการมองเห็นที่มากพอ อาจจะต้องเรียนรู้ที่จะเพิ่มกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ จากการคอลแลปไปยังคอมมูนิตี้อื่น ๆ บ้าง เพื่อสร้างคอนเน็กชันใหม่ ๆ และเข้าไปตกกลุ่มเป้าหมายแบบข้ามด้อมกัน ทั้งการสร้างการโปรโมตร่วมกัน หรือมีคอนเทนต์ และแคมเปญพิเศษ

User-Generated Content 

สร้างแคมเปญ UGC ให้แบรนด์

แบรนด์ และนักการตลาดอาจจะคำนึงการสร้างคอนเทนต์ด้วยตัวเองมากไป จนลืมไปว่าคอนเทนต์ที่สร้างมาจากการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายก็สร้างคุณค่า และการรับรู้ของแบรนด์อีกมุมมองหนึ่งได้ แบรนด์จึงควรมีแคมเปญมาเรียกเอ็นเกจเมนต์ตรงนี้เพิ่ม และทำให้ UGC ที่รวมกันเป็นที่น่าจดจำที่สุด แต่ต้องมีเกณฑ์ และการตรวจสอบ หรือกรองคอนเทนต์ UGC ที่ชัดเจน

Content Quality 

สร้างเกณฑ์เพิ่มคุณภาพคอนเทนต์

คอนเทนต์ที่ดี มักจะต้องมาคู่กับการปรู๊ฟที่ดีด้วย โดยเฉพาะการสะกดคำที่ถูกต้อง และมีหลักด้านบรรณาธิการเข้ามาช่วย และ Fact Check ข้อมูลที่มีความถูกต้อง เป็นข้อเท็จจริง และมีแหล่งอ้างอิงที่ครอบคลุมน่าเชื่อถือได้  และควรมีการตรวจสอบการลอกเลียนแบบคอนเทนต์ด้วย SEO เสมือ เพื่อป้องกันการ copycat เกิดขึ้น

Content Accessibility 

ตรวจสอบการเข้าถึงเว็บไซต์

แบรนด์ที่จะเพิ่มการมองเห็นได้ การมีอคอนเทนต์ที่ดีก็อาจจะไม่เพียงพอ เพราะต้องมีมาตรฐาน และความสามารถในการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ง่าย และรวดเร็ว ไม่หน่วงหน้าฟีด หรือดาวน์โหลดนานเกินไป รวมถึงสามารถเอื้อต่อกลุ่มเป้าหมายที่พิการทางการได้ยิน หรือมองเห็น โดยการมีคำบรรยายเสียง และคำบรรยายตัวอักษรเพิ่มเติมด้วย

Strategy Promote Planned 

พัฒนากลยุทธ์การโปรโมต

กลยุทธ์การโปรโมตไม่ได้มีแค่เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม หรือสร้างคอนเทนต์ที่แตกต่างจากคู่แข่งได้ แต่ควรคำนึงถึงตั้งแต่การแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามความสนใจ หรือปรับแต่งกลยุทธ์ให้ยืดหยุ่นได้ พร้อมกระจาย และขยายช่องทางการโปรโมตไปยัง Email Marketing เพิ่มเติม

แต่ถ้าแบรนด์ไหนเน้นการทำยอดขาย ก็ควรมีการส่งเสริมการขายไปในคอนเทนต์ พร้อมชำระเงินได้เลยจะสะดวกกับกลุ่มเป้าหมายที่สนใจมากกว่า

Considered Community 

เพิ่มการมีส่วนร่วมแบบคอมมูนิตี้

จากความชอบความสนใจที่มีเหมือนกัน นำมาสู่การรวมกลุ่มเป็นคอมมูนิตี้กัน และเปลี่ยนมาเป็นความภักดี (Loyalty) ต่อแบรนด์ได้ ฉะนั้นแบรนด์จึงควรเน้นสร้างคอนเทนต์ที่กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมได้ พร้อมสร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวกให้กับพวกเขาได้เอ็นจอยไปกับคอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟ หาที่ไหนไม่ได้มากขึ้น พร้อมสิ่งจูงใจเช่น รางวัล หรือส่วนลด เป็นต้น

Repurpose Content 

นำแนวคิดคอนเทนต์กลับมาใช้ใหม่

แน่นอนว่าการคิดคอนเทนต์อาจจะไม่ได้มาจากความครีเอทีฟทุกวัน ฉะนั้นหากจับจุดถูกรู้ว่าคอนเทนต์แนวไหนดี ยอดเอ็นเกจเยอะ ก็นำกลับมาใช้ หรือลงโพสต์ใหม่เป็น “Evergreen Content” ได้ พร้อมเรียนรู้ที่จะโปรโมตข้ามช่อง ข้ามแพลตฟอร์มมากขึ้นไปด้วย

Track Content Performance 

ใช้เครื่องมือวิเคราะห์คอนเทนต์

การจะวิเคราะห์ประสิทธิภาพของคอนเทนต์ต้องมีเครื่องมือที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย และแพลตฟอร์มนั้น ๆ ด้วย โดยการตั้งเกณฑ์ KPI, CTR หรืออื่น ๆ ที่จะช่วยวัดผลแบรนด์ให้มีมีคุณภาพ และพัฒนาต่อไปได้ พร้อมติดตามตัววัดผลจากลูกค้า ผ่านการส่งแบบฟอร์ม QR Code หรือ ebook ไปให้ก็ได้

Update Relevant Content 

เพิ่มความถี่ในการเล่นกับเทรนด์

การทำคอนเทนต์มักจะมีความสดใหม่เป็นตัวตัดสินอยู่เสมอ ฉะนั้นแบรนด์ และนักการตลาดควรตามเทรนด์ไว้ พร้อมกำหนดความถี่ในการสร้างคอนเทนต์ที่ล้อไปกับเทรนด์ปัจจุบันให้เหมาะสม และรู้ว่าลิมิตการเล่นกับกระแสควรมีมากน้อยแค่ไหน

นอกจากนี้คอนเทนต์ที่มีอยู่แล้วก็ควรนำมาอัปเดตสถิติ หรือข้อเท็จจริงเพิ่มเติมด้วย เพื่อให้สอดคล้องไปกับ SEO ที่กลุ่มเป้าหมายมักจะใช้คีย์เวิร์ดค้นหา

Utilize Automation Tools 

พัฒนาการกระจายคอนเทนต์

 การโพสต์คอนเทนต์ให้ตรงแพลตฟอร์มที่ใช่เป็นเรื่องที่ดี แต่บางครั้งก็ต้องลองไปชิมลางแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ด้วย ซึ่งการปั้นตัวตนใหม่อาจจะยาก แต่อย่างน้อยก็ได้ลองเพื่อรู้ รวมถึงเนรียนรู้ที่จะใช้ระบบของแพลตฟอร์มในหารตั้งโพสต์คอนเทนต์ล่วงหน้าเพื่อให้เป็นไปตามแพลนคอนเทนต์มากขึ้น หรือโพสต์แบบ Cross-Platform ก็ทำได้เช่นกัน จากบทความก็อาจแปลงมาเป็นวิดีโอสั้นก็ได้

ROI Analyzed 

คำนวณผลตอบแทนจากคอนเทนต์

ความพยายามในการทำ หรือทดลองมาตลอดก็ต้องมีการวัดผลที่ชัดเจน ว่าผลตอบแทนในการสร้างคอนเทนต์แต่ละประเภทคุ้มหรือไม่ สร้างยอดขายให้เท่าไหร่ หรือมียอดการมองเห็นเพิ่มขึ้นบ้างไหม ซึ่งแบรนด์ควรเริ่มกำหนดเมตริก หรือเกณฑ์ในการวัด ROI อย่างจริงจัง พร้อมทำความเข้าใจส่วนที่ทำให้เกิด Conversion ด้วย

ที่มา: https://blog.red-website-design.co.uk/content-marketing-checklist-2024/

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save