TV Channel

Avatar

Passapornpor March 20, 2018

ย้อนหลังกรณี “ติ๋ม ทีวีพูล” บอกอะไรอนาคตทีวีดิจิทัลไทย

ข่าวใหญ่ของวงการทีวีดิจิทัลในตอนนี้ คือ บริษัท ไทยทีวี จำกัด ภายใต้การดำเนินงานของ นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ หรือ ติ๋ม ทีวีพูล เจ้าของ และประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยทีวี ชนะคดียื่นฟ้อง กสทช. ขอเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ และให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลได้ตัดสินว่า บริษัท ไทยทีวี จำกัด ผู้ฟ้องมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เนื่องจาก กสทช. ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศเชิญชวน และให้ กสทช. คืนหนังสือค้ำประกันที่ได้วางไว้แก่บริษัท ไทยทีวี ภายใน 60 วันนับแต่คดีถึงที่สุด มูลค่าราว 1,400 ล้านบาท

ซึ่งเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อวงการทีวีดิจิทัลที่ช่องต่างๆประมูลมาตั้งแต่ปี 2556 อย่างแน่นอน ปัจจุบันช่องทีวีดิจิทัลสำหรับธุรกิจ หรือช่องทีวีที่เราเสพย์สื่อบันเทิง และข่าวสารกันทั่วไป มีทั้งหมด 24 ช่อง ด้วยกัน เป็นจำนวนมากกว่าช่องฟรีทีวีเดิมที่มีเพียง 3, 5, 7, 9 และ NBT ส่งผลต่อการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างช่องทีวีด้วยกันเอง ยังไม่รวมถึงปัจจัยภายนอกจากสื่อออนไลน์อื่นๆที่เข้ามาแทนที่การดูทีวีในชีวิตประจำวันเดิมๆของเราอีกด้วย

 

ย้อนอดีตเส้นทางทีวีดิจิทัลของ ติ๋ม ทีวีพูล

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2556 บริษัท ไทยทีวี จำกัด ของ นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ ได้ทุ่มเงินจำนวน 1,976 ล้านบาทประมูลช่องทีวีดิจิทัลเอามาถึง 2 ช่อง คือช่องดิจิทัลทีวี ไทยทีวี และ โลก้า (LOCO) โดยผู้บริหารไทยทีวีฯ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับหลายสื่อถึงเป้าหมายว่าจะทำให้ช่องไทยทีวี” (ทีเอชวี) ภายใต้การบริหารของตนติดหนึ่งใน 5 ของทีวีดิจิทัลภายใน 3-5 ปี        

         พร้อมกันนี้ยัง คุณพันธุ์ทิพา ศกุณต์ ยังเคยตั้งเป้าไว้ว่าจะทำให้ธุรกิจทีวีคืนทุนได้ในปีแรกที่เริ่มออกอากาศ และจะคุ้มทุนภายในปีที่ 2 ส่วนปีที่ 3 จะเป็นปีที่ทำกำไรให้กับบริษัทในที่สุด และในจะนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นใน 5 ปี ซึ่งหมายความว่าปีที่ 5 ธุรกิจทีวีจะต้องมีรายได้ 1 หมื่นล้านบาท ภายใต้การเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% และกลายเป็นสัดส่วนรายได้หลักของบริษัท ไทยทีวี จำกัด

        

 

แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นหลังออกอากาศไปได้ไม่นาน เมื่อบริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)” ในเครือบางกอกโพสต์ ประกาศยุติการร่วมงานกับช่องไทยทีวี ท่ามกลางกระแสข่าวว่า ช่องไทยทีวีผิดข้อตกลงกับบริษัทโพสท์ ซึ่งทางไทยทีวีได้แก้เกมโดยการดึงเอาออม ปรีชา วศะกุลพนิต  บรรณาธิการบริหารฝ่ายข่าวจาก TNN มาร่วมดูแลด้านข่าวให้แทน คุณพันธุ์ทิพา ศกุณต์ ได้ชี้แจงต่อว่าไม่ได้มีการเซ็นสัญญากับบริษัทโพสต์แต่อย่างใด เนื้่องจากอยู่ในระหว่างการพูดคุย และทดลองทำงานร่วมกันเท่านั้น จนกระทั่งวันที่ 30 .. 2557 ทางโพสต์ได้บอกยกเลิกการผลิตรายการให้กับไทยทีวีโดยกะทันหัน

ต่อมาในวันที่ 25 .. 2558 บริษัท ไทยทีวี ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขอยกเลิกประกอบการทีวีดิจิทัลทั้ง 2 ช่อง เนื่องจาก กสทช. ไม่ดำเนินการตามที่ที่เคยประกาศเชิญชวนไว้ จนกระทั่งเกิดเป็นคดีความฟ้องร้องกันจนฝ่าย บริษํท ไทยทีวี ชนะคดีในที่สุด

 

การวัดเรตติ้งของฟรีทีวี และทีวีดิจิทัล มีผลต่อการขายโฆษณา

ธุรกิจสื่อโทรทัศน์ได้รายได้จากการโฆษณาเป็นหลัก และการวัดเรตติ้งบนทีวีก็ถูกใช้มาโดยตลอดเพื่อให้เสนอเอเจนซี่ต่างๆเก็บข้อมูลนำเสนอต่อลูกค้า แต่เมื่อทีวีดิจิทัลเข้ามาแทนที่ทีวีระบบอนาลอก ทำให้การวัดเรตติ้งมีผลที่แตกต่างกันไป 

เดิมการจัดอันดับเรตติ้งในช่องอะนาล็อคจะวัดอันดับโดยเอซีนีลเส็น แต่ในส่วนของการวัดเรตติ้งในทีวีดิจิทัลยังไม่มีการวัดผลได้อย่างชัดเจน และ กสทช. ไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำการวัดเรตติ้งเอง ซึ่งส่งผลต่อการสร้างรายได้อย่างแน่นอน

ทั้งนี้  นายสินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ  บริษัทเอจีบี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช จำกัด ได้ระบุว่า การวัดเรตติ้งทีวีดิจิทัล จะวัดโดยการติดตั้งกล่อง People Meter Curremt System ตามบ้านของกลุ่มตัวอย่าง คอยตรวจจับแบนเนอร์ที่ปรากฎบนจอเมื่อผู้ชมกดรีโมทเปลี่ยนช่องทีวี ซึ่งเป็นวิธีนี้ใช้วัดผลมากว่า 20 ปีแล้ว ครอบคลุม 2,200 ครัวเรือน หรือ 7,700 คน และยังมีเครื่องมือการวัดแบบใหม่ คือการตรวจจับด้วยเสียง ซึ่งใช้เฉพาะโทรทัศน์ที่สามารถรองรับดิจิทัลทีวีได้

       

 

การจัดอันดับของนีลเส็น ทำให้ ช่อง 7 มาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย ช่อง 3 และ Mono29 ในขณะที่ช่อง Workpoint จะอยู่อันดับที่ 4 สลับกับ ช่อง One และ ช่อง 8 ในบางวัน ในทางกลับกันที่เรตติ้งบนทีวีอาจยังคงไม่สามารถบอกผลตอบรับบนโลกโซเชียลได้อย่างชัดเจน เอเจนซี่เลือกที่จะใช้สื่อบนทีวีช่องหลักเพื่อเข้าถึงคนหมู่มาก ในขณะเดียวกันการใช้สื่อบนโลกโซเชียลยังคงต้องใช้การวัดผลแบบอื่นมาเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้าในการลงโฆษณาเช่นกัน

       

การคาดการณ์ที่ผิดพลาดว่าอนาล็อคทีวี ช่อง 3,5,7,9 จะต้องปิดตัวลง

คุณพันธุ์ทิพา ศกุณต์ เคยสัมภาษณ์ถึงการคาดการณ์ของเธอเอาไว้ว่า ทีวีอนาล็อคเองจะต้องปิดตัวลงในอนาคต จากการแจกกล่องดิจิทัลและยกเลิกระบบอนาล็อคภายในปี 2563 แต่บางทีเธออาจลืมไปว่า ช่องอนาล็อกทั้งหลายก็ต้องปรับตัวเพื่อสู้กันต่อในทีวีดิจิทัลเช่นกัน กลับกลายเป็นว่าคู่แข่งในตลาดยิ่งมากขึ้นไปกว่าเดิมไป นอกจากคู่แข่งที่เป็นลีดเดอร์ของอุตสาหกรรมเดียวกันอย่างช่อง 3 ช่อง 7 จะยังครองพื้นที่อยู่ในตลาด ยังเกิดช่องดิจิทัลใหม่ๆที่ทำเรตติ้งโด่งดังขึ้นมาแข่งกับช่องหลักเดิมได้อีก อาทิ ช่อง One, Workpoint, Mono29, ช่อง 8, ไทยรัฐ TV และอื่นๆ ที่ยังคงสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2560 อีกด้วย

 

9 อันดับช่องทีวีดิจิทัลที่มีรายได้เพิ่มขึ้น อ้างอิงจาก Positioningmag.com

 

ข้อมูลจากสมาคมมีเดียเอเยนซี และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (Media Agency Association of Thailand : MAAT) ยังคาดการณ์ว่างบโฆษณาของสื่อหลักทางทีวี วิทยุ และสิ่งพิมพ์ยังติดลบ 11% ในปี 2560 ที่ผ่านมา ในขณะที่สื่อออนไลน์โตขึ้น 24% อยู่เช่นเดิม ซึ่งหมายถึงการแข่งขันที่สูงขึ้นไม่ใช่จากสื่อบนทีวีเท่านั้น แต่เป็นสื่อออนไลน์ที่เข้ามาด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการในสื่อต่างๆมีโอกาสสร้างรายได้น้อยลงจากสื่อทีวีเพียงอย่างเดียว

 

ผลการดำเนินการของ กสทช. ไม่เป็นไปตามข้อตกลง นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของมาตรการผ่อนชำระในที่สุด

ที่ผ่านมาการประมูลทีวีดิจิทัลใช้เวลาทั้งสิ้น 2 วัน คือ วันที่ 26-27 ธันวาคม 2556 จากนั้น กสทช.เริ่มแจกคูปองล็อตแรกวันที่ 20 ตุลาคม 2557 จำนวน 4.6 ล้านครัวเรือน ใน 21 จังหวัดแรก จนถึงวันนี้ ข้อมูลจาก กสทช.ระบุว่า จำนวนคูปองทีวีดิจิทัลทั้งหมด ที่สำนักงาน กสทช.แจกออกไปตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันมีจำนวน 17,555,958 ใบ แต่ยอดคูปองที่ประชาชนนำมาแลกกล่อง set-top-box ทั้งหมดจนถึงวันที่ 19 .. 2560  มีเพียง 9,836,038 ใบ หรือ 56.03% ในขณะที่ระบบทีวีอนาล็อกจะยุติทั้งหมดอย่างช้าที่สุดไม่เกินปี 2563

นั่นหมายความว่าการขยายโครงข่ายที่ล่าช้า ส่งผลกระทบต่อสัดส่วนผู้ชม และรวมถึงรายได้โฆษณาที่ช่องทีวีดิจิทัลจะทำการออกขาย อีกทั้งยังไม่มีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลทั้งๆที่ต้องแบกต้นทุนจากค่าประมูล

ภายหลังเกิดเหตุการณ์นางพันธุ์ ศกุณต์ไชย์ ชนะคดี ฟ้องร้อง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยผลการประชุมว่า ในส่วนของทีวีดิจิทัล ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันในมาตรการให้พักชำระหนี้ ภายในเวลา 3 ปี โดยผู้ที่จะยื่นเรื่องพักชำระหนี้ จะต้องยื่นกับคณะกรรมการกสทช. ภายใน 30 วัน โดยต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะที่ กสทช.จะสนับสนุนเรื่องโครงข่ายภาคพื้นดิน ไม่เกินร้อยละ 50 ในเวลา 24 เดือน นับตั้งแต่วันที่ คสช.ออกคำสั่งตามมาตรา 44 ตามที่คาดไว้ภายในเดือน มี..นี้ โดยเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลให้ ยืดเวลาชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทีวีดิจิทัล เปลี่ยนงวดเงินก้อนที่เหลือใหม่เป็น 8 งวด (2 งวดสำหรับค่าประมูลขั้นต่ำ และ 6 งวดสำหรับส่วนที่เกินค่าประมูลขั้นต่ำ) รวมแล้วยืดระยะเวลาทั้งหมดจาก 6 ปีเป็น 9 ปี แต่จะคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากระยะเวลาที่ยืดเช่นกัน

 

พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ใช้พื้นที่โซเชียลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ออกอากาศควบคู่กันไปกับทีวีดิจิทัล

โดยสรุปแล้วผลประกอบการโดยรวมของทีวีดิจิทัลทำกำไรได้น้อยกว่าการเป็นทีวีอนาล็อกมาก ด้วยเทคโนโลยีออนไลน์ที่สร้างตัวเลือกในการดูมากขึ้น นั้นหมายความว่าพื้นที่ในการลงสื่อโฆษณามีให้เลือกมากขึ้น ดังนั้นสื่อโทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ ควรปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน อย่างเช่นหลายช่องที่หันมาออกอากาศสดบนทีวีควบคู่ไปกับการออกอากาศ Facbook Live ผ่านทางแฟนเพจของตน ซึ่ง Workpoint ทำสำเร็จมาแล้วกับรายการ The Mask Singer ซึ่งเคยทำยอดคนดูพร้อมกันสูงสุดถึง 850,000 คน กลายเป็นปรากฎการณ์ฟีเวอร์ที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในประเทศไทยเลยทีเดียว

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

Manager.co.th, pptvhd36.co.th, bangkokbiznews.com, TV Digital Watch, positioningmag.com

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save