10 แนวคิด พิชิตคู่แข่งบน Social Media

การทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย หรือที่เราคุ้นหูกับคำว่า ‘Social Marketing’ มีปัจจัยมากมายที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อให้เกิดการจัดการกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและนำเราไปถึงเส้นชัยแห่งความสำเร็จ

ซึ่งแน่นอนว่าบนเส้นทางย่อมต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ‘คู่แข่ง’ อยู่ในทุกเกม แต่ใช่ว่าคู่แข่งจะเท่ากับศัตรูเสมอไป เพราะบางครั้งบทเรียนสำคัญก็สามารถเรียนรู้ได้จากคู่แข่งเช่นเดียวกัน อยู่ที่ว่าเราจะบริหารจัดการกับสิ่งที่มีอยู่อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่านั้นเอง

วันนี้ RAiNMaker เลยลิสต์ 10 แนวคิด ที่จะช่วยให้คุณใช้สิ่งที่มีทั้งจากของตัวเองและคู่แข่ง เพื่อเสริมกลยุทธ์ในการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียได้อย่างมีศักยภาพมากขึ้นมาฝากกันค่ะ

ลิสต์คู่แข่งในระดับเดียวกัน

อย่างแรก เริ่มจากการลองลิสต์รายชื่อคู่แข่งออกเป็นเป็นลำดับ แล้วลองนั่งแยกแยะ หาเอกลักษณ์ของแต่ละคู่แข่งว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างจากเราอ่างไรบ้าง เพื่อจะได้รู้ว่าอีกฝ่ายเป็นคู่แข่งของเราในแง่ใดบ้าง

จุดประสงค์ของการทำเช่นนี้ไม่ใช่เพื่อการนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก เพราะคู่แข่งเหล่านั้นอาจจะมีเป้าหมายที่แตกต่างจากเราก็ได้ ดังนั้นจึงควรประเมินกับคู่แข่งในระดับที่ใกล้เคียงกัน ทางที่ดีควรเป็นคู่แข่งที่อยู่ในตลาดเดียวกันหรือคล้ายกันกับเรา เพื่อจะได้ศึกษาผลลัพธ์ ความเกี่ยวเนื่องกันของกลุ่มเป้าหมาย

สามารถเริ่มศึกษาข้อมูลคู่แข่งง่ายๆ ได้จากกูเกิล เพื่อดูข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคู่แข่งในแวดวงเดียวกัน ตั้งแต่การวิเคราาะห์เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์และบริการ วิธีที่ใช้ในการโปรโมต โปรโมชันต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการเอาชนะคู่แข่งได้

นิยามเป้าหมายและ KPI ของตัวเอง

ก่อนที่จะเริ่มวิเคราะห์คู่แข่ง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการนิยามเป้าหมายของตัวเองก่อน เพราะผลการวิเคราะห์ต่างๆ จำเป็นต้องตอบโจทย์เป้าหมายที่ตั้งไว้ การขุดค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ นอกจากจะทำให้เสียเวลาแล้วยังอาจก่อให้เกิดความสับสนในข้อมูลที่มากมายตามมาอีกด้วย

เพราะฉะนั้นควรที่จะตั้งเป้าหมายไว้ก่อน เช่น เพื่อพัฒนาการสื่อสาร, โฟกัสไปที่การใช้โซเชียลมีเดียที่เหมาะสม ใช้ paid media ให้เหมาะสม และพัฒนายอด organic reach เป็นต้น เพื่อดูว่าเราต้องการจะบรรลุเป้าหมายในด้านใด จะได้ง่ายต่อการประเมินผลในลำดับถัดไปนั่นเอง

เลือกใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียที่เหมาะสม

เมื่อเลือกคู่แข่งและวิเคราะห์ออกมาคร่าวๆ แล้ว จากนั้นลองหาว่าแพลตฟอร์มไหนที่เหล่าคู่แข่งใช้เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารมากที่สุด โดยสามารถเริ่มค้นหาได้ง่ายๆ จากหน้าโปรไฟล์เพจทั้ง Facebook, Instagram, YouTube, TikTok หรือช่องทางอื่นๆ รวมถึงเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน เพราะการหาข้อมูลเบื้องต้นเช่นนี้จะช่วยให้รู้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของคู่แข่ง ที่อาจมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มเป้าหมายของเราเองอยู่ที่แพลตฟอร์มใด มากน้อยเท่าไหร่บ้าง

ติดตามผลการเติบโตของแต่ละแพลตฟอร์ม

เมื่อเลือกช่องทางโซเชียลมีเดียที่เหมาะสมในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว ในที่นี้แนะนำให้เลือกมากกว่าหนึ่งช่องทาง เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างมากขึ้น ทีนี้เราก็ต้องเจาะลึกข้อมูลมากขึ้น เพื่อทำความเข้าใจว่าคู่แข่งมีการพัฒนาและเติบโตอย่างไร

ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องติดตามผลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนผู้ติดตาม, ความถี่ในการโพสต์คอนเทนต์, ช่องทางที่มีการ active มากที่สุด, ยอดไลก์ แชร์ หรือยอดเอนเกจเมนต์ต่างๆ ของคู่แข่ง

ทั้งนี้รวมไปถึงการติดตามและวิเคราะห์ในแง่ของคอนเทนต์ว่าคู่แข่งของเราทำคอนเทนต์ประเภทใดบ้าง มีการใช้แคมเปญโฆษณาไปมากน้อยเท่าไหร่ เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจกลยุทธ์ในการทำคอนเทนต์ของคู่แข่งมากขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ในแง่ของแบรนด์เอง ก็ควรที่จะสังเกตว่าคู่แข่งใช้โทนใดในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมายมี interact กับโพสต์มากน้อยแค่ไหน เป็นต้น

ทั้งนี้จากที่กล่าวมาทั้งหมดก็สามารถเลือกสังเกตได้ตามวัตถุประสงค์ของตัวเอง ว่าต้องการที่จะศึกษาและพัฒนากลยุทธ์ในด้านใด เพื่อนำผลมาปรับใช้ให้เหมาะสมนั่นเอง

เทียบกลยุทธ์ของตัวเองกับคู่แข่ง

content strategy หรือกลยุทธ์ในการทำคอนเทนต์เองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อกลุ่มเป้าหมายบนแพลตฟอร์มต่างๆ เพราะคนจะไม่สนใจคอนเทนต์ที่ไม่ตอบสนองความต้องการของตัวเอง ดังนั้นจึงควรศึกษากลยุทธ์การทำคอนเทนต์ เพื่อทำออกมาให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

และแน่นอนว่าเหล่าคู่แข่งก็คงคิดแบบนี้เช่นกัน เพื่อที่จะพยายามผลิตคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มยอดเอนเกจเมนต์มากขึ้นนั่นเอง นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องศึกษาว่าคู่แข่งใช้กลยุทธ์อย่างไร และได้ผลดีอย่างไร

หมั่นเช็กยอด Engagement ทั้งของเราและของคู่แข่ง

เนื่องจากยอดเอนเกจเมนต์เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการเติบโตและความสำเร็จได้ ทั้งนี้ควรเช็กทั้งขอองตัวเองและคู่แข่ง เพื่อที่จะสังเกตว่า performance ของคู่แข่งเป็นอย่างไร เราสามารถดูได้จากตัวเลขต่างๆ เช่น จำนวนโพสต์, ยอดเอนเกจเมนต์ ไม่ว่าจะเป็น ยอดไลก์ แชร์ รีแอ็กชัน รวมถึงคอมเมนต์

เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อว่าคอนเทนต์ประเภทไหน หรือการโปรโมตแบบใดที่ส่งผลดีต่อยอดเอนเกจเมนต์ได้ดี จะได้เป็นกรณีศึกษาให้ลองนำวิธีการเหล่านั้นมาปรับใช้และพัฒนากลยุทธ์ของตัวเองให้ดีมากยิ่งขึ้น

ทำความเข้าใจว่าทำไมคนถึงมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์

ดูกลยุทธ์ต่างๆ ประกอบกับยอดเอนเกจเมนต์ เพื่อวิเคราะห์ว่าเพราะอะไรคนถึงมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์นั้นๆ ซึ่งสามารถเลือกสังเกตและวิเคราะห์ได้ละเอียดตามความต้องการของเราเอง ควรใช้ข้อมูลอินไซต์มาวิเคราะห์ร่วมด้วย เนื่องจากจะให้ข้อมูลในเชิงลึก และจะช่วยทำให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นในหลากหลายแง่มุมนั่นเอง

รู้ช่วงเวลาที่คน active มากที่สุด

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการโพสต์ โดยเฉพาะช่วงที่มีคนใช้งานโซเชียลมีเดียจำนวนมาก ในส่วนนี้อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ไม่จำเป็นจะต้องยึดข้อมูลสถิติการใช้งานเพียงอย่างเดียว แต่ควรศึกษาข้อมูลอินไซต์ของแต่ละแพลตฟอร์มประกอบไปด้วย เพื่อเพิ่มความเข้าใจในพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละแพลตฟอร์ม จะได้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีมากขึ้น

เช็ก Paid media ของคู่แข่ง

อีกหนึ่งสิ่งที่ควรนำมาวิเคราะห์คู่แข่ง คือ การแข่งขันบนโซเชียลมีเดียผ่าน ‘Paid Media’ หรือการซื้อสื่อเพื่อโปรโมตนั่นเอง หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคู่แข่งใช้จ่ายกับการโปรโมตไปเท่าไหร่ แน่นอนว่าเราไม่สามารถรู้ข้อมูลตรงนั้นได้ แต่สิ่งที่ทำได้คือการสังเกตและเก็บข้อมูลว่าคู่แข่งของเราได้มีการทุ่มเงินเพื่อโปรโมตให้มีคนติดตามหรือไม่ ผ่าน Ad ต่างๆ นั่นเอง

วิธีการสังเกตง่ายๆ คือการคอย momitor หน้าโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ แต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อดูว่ามีโฆษณาของคู่แข่งที่ได้รับการโปรโมตหรือไม่ อย่างเช่น มีการขึ้นแนะนำให้กดติดตาม หรือมีโฆษณาปรากฏเมื่อค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ก็จะทำให้เราพอจะทราบข้อมูลเบื้องต้นได้ว่าคู่แข่งได้ใช้จ่ายงบไปกับการโฆษณาแบบใด และสัดส่วนมากน้อยประมาณไหนบ้าง

ใช้เครื่องมือ Analytics ให้เหมาะสม

การรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และประเมินผล เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญมากๆ เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถส่งผลต่อความล้มเหลวและความสำเร็จได้ เพราะฉะนั้นการเลือกเครื่องมือในการช่วยวิเคราะห์ผลต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

สิ่งแรกคือต้องตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าต้องการอะไรจากผลการวิเคราะห์ มีข้อมูลส่วนไหนที่จำเป็นต้องใช้บ้าง เพื่อที่จะได้เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการประมวลผลได้อย่างครอบคลุมและตอบวัตถุประสงค์ได้อย่างตรงจุดที่สุด จะได้เป็นการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

ที่มา: Socialinsider

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save