14 ทิปส์ เขียน SEO แบบมือโปร

เมื่อการแข่งขันทางด้านการตลาดดิจิทัลได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เว็บไซ์จากอุตสาหกรรมทุกภาคส่วนล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน คือการขึ้นหน้า Search Engine อย่าง Google แต่ถึงแม้จะมั่นใจว่าทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้แล้ว ก็ยังไม่สามารถอยู่ในหน้าแรกสักที หรือว่ากำลังพลาดอะไรไปหรือเปล่า? ลองมาดู 14 ทิปส์ เขียน SEO แบบมือโปร เพื่อพัฒนาทักษะในการเขียนคอนเทนต์สำหรับด้านการตลาดกัน

โดยทั้ง 14 ทิปส์ ได้รวบรวมโดยทีมงาน SEMRush  ที่ได้ทำการวิเคราะห์ถึงส่วนสำคัญ สำหรับการเขียนคอนเทนต์ และสอดคล้องกับหลักการ SEO ที่สำคัญอีกด้วย

Keyword ที่ใช้ ใช่แล้วหรือยัง

หลายคนใช้คำที่ไม่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้แม้เรื่องจะดีแล้ว ก็ยังไม่ได้รับยอดวิวเท่าที่ควรอยู่ดี ดังนั้นต้องหมั่นเช็คทุกครั้งว่าคำที่เลือกใช้นั้น เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแล้วหรือยัง และต้องดูว่าคำสำคัญที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น มีในเนื้อหาหรือยัง เพื่อไม่ให้หลุดจากการค้นหานั่นเอง

Headline ก็สำคัญ

ส่วนที่ดึงความสนใจได้ไม่แพ้กันกับตัวเนื้อหา ก็คือหัวข้อเรื่อง หรือ Headline โดยต้องมี Keyword สำคัญอยู่ในนั้น ควรลองตั้งหลายๆ แบบก่อนเลือก เพื่อหาประโยคที่ดีที่สุด  และต้องมีความกระชับ มองเห็นภาพ และเรียกความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายได้

จับคนดูให้อยู่หมัด

แม้ว่าการมีคำสำคัญอยู่ในเนื้อหาจะเป็นหัวใจของการสร้างคอนเทนต์ แต่ก็ต้องไม่ลืมปรับให้เหมาะสมกับรูปประโยค อ่านแล้วไม่รู้สึกขัดตา รวมไปถึงการใช้คำที่อาจถามความเห็น หรือสร้างอารมณ์ร่วม เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึก “อิน” และคล้อยตามไปกับเนื้อหา ไม่เกิดการเลิกอ่านกลางคันได้

ความยาวเนื้อหาต้องเหมาะสม

หลายคนเขียนเพลินจนเนื้อหายาวเกินกว่าที่กลุ่มเป้าหมายจะอ่าน หรือบางครั้งก็สั้นจนไม่ครบใจความสำคัญ อะไรที่เกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้น ดังนั้นก่อนจะเริ่มต้นเขียน ต้องไม่ลืมวางโครงเรื่อง รวมไปถึงกำหนดความยาว และจำนวนพารากราฟ เพื่อความสมบูรณ์แบบของเนื้อหา หากไม่แน่ใจว่าเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ก็อาจวิเคราะห์จากเนื้อหาประเภทเดียวกันจากหลายๆ ที่ก่อนก็ได้เช่นเดียวกัน

ไม่หลงประเด็น

เขียนไปเขียนมาก็ดูเหมือนจะมีเรื่องอื่นให้เขียนแทรกเป็นเกร็ดเล็กผสมน้อยไปซะหมด จนอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าเป็นคอนเทนต์ที่จะสื่อถึงอะไรกันแน่ ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าวัตถุประสงค์ของการเขียนเรื่องนี้คืออะไร หรือหากต้องการอธิบายเพิ่มเติมให้ละเอียด ก็อาจทำเป็นอีกหนึ่งคอนเทนต์แยกออกมาเป็นภาคต่อ น่าจะดีกว่า

ความยากง่ายต้องพอดี เพราะคนอ่านมีหลายระดับ

หนึ่งความหมายเลือกใช้ได้หลายคำ แม้จะตรง Keyword ที่ต้องการ แต่บางทีไม่ได้รับความสนใจ เพราะเลือกใช้คำที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายก็ได้ ก่อนจะเรียบเรียงเนื้อหา ต้องไม่ลืมวิเคราะห์ว่าผู้อ่านส่วนใหญ่เป็นใคร มีความสามารถในการอ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีมากน้อยแค่ไหน ควรมีคำอธิบายเพิ่มเติมละเอียดหรือไม่

1 พารากราฟขนาดกระชับ และอย่าลืมเว้นประโยค

หลายคนอ่านออกเสียง หลายคนอ่านในใจ ไม่ว่าอ่านแบบไหนก็ต้องมีช่วงจังหวะหยุดพักกันบ้าง ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนประโยคแบบติดกันยาวๆ และหากเขียนจน 1 พารากราฟเริ่มหนา (ประมาณ 2-4 แถว) ก็อาจจะเคาะบรรทัดเพื่อให้ผู้อ่านได้พักทำความเข้าใจเรื่องราวที่พึ่งอ่านได้เช่นกัน

รักษาคาแรคเตอร์ให้ดี

ไม่ว่าจะเขียนเนื้อหาแนวไหน เปลี่ยนผู้เขียนหรือไม่ ก็ควรรักษาความเป็นคาแรคเตอร์ของแบรนด์ไว้ไม่มีหลุด ไม่ว่าจะเป็นเพศ โทนอารมณ์ที่ใช้ รวมไปถึประโยคที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์

เพิ่มลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

การเพิ่มลิงก์จากภายนอก ทำให้ Google มองว่าเนื้อหาของคุณมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น รวมไปถึงยังทำให้ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องที่สนใจ ที่สำคัญยังเป็นการให้เกียรติในด้านจริยธรรม และความถูกต้องของการสร้างเนื้อหาอีกด้วย

ใส่สีและมีภาพ

แม้ว่าจะเป็นคอนเทนต์จริงจัง ก็ควรเพิ่มสีสันเพื่อสร้างความน่าสนใจ อาจเป็นการตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ หรือเพิ่มภาพประกอบเนื้อหา ที่สำคัญต้องไม่ลืมให้ที่มาของรูป กราฟิก หรือวิดีโอประกอบด้วย

อย่าลืมรับฟังฟีดแบค

หลังจากมีผลงานหลายคอนเทนต์ อย่าลืมกลับมาฟังความคิดเห็นของผู้อ่าน ตรงไหนสั้นเกินไป ตรงไหนควรอธิบายเพิ่ม เพื่อการสร้างผลงานที่ดีและตรงใจผู้อ่านที่สุดในอนาคต

เขียนและดีไซน์เพื่อต่อยอด

หลังจากเขียนเกริ่นไปแล้ว เข้าสู่เนื้อหาไปแล้ว ก็อย่าลืมปิดจบด้วย Call to action หรือการสร้างเส้นทางที่เปลี่ยนจากผู้อ่าน สู่การเป็นลูกค้านั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการใส่ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ หรือช่องการสั่งซื้ออื่นๆ ที่สำคัญต้องทำให้โดดเด่น เห็นได้ชัด มีวิธีการที่ไม่ซับซ้อน และอยู่ในที่ที่เหมาะสมอีกด้วย

สวมมงเป็นคนอ่าน

แต่ละคนมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน ตัวผู้เขียนที่คลุกคลีอยู่ในวงการนั้นๆ ดี อาจทำให้เผลอใช้คำยากโดยไม่รู้ตัว ต้องไม่ลืมว่าบางครั้งผู้อ่านไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ดังนั้นควรทำความเข้าใจข้อมูลผู้อ่าน และเขียนให้เข้าใจง่าย ต้องใส่รายละเอียดตรงไหนมาก ตรงไหนน้อย พร้อมทั้งปิดจบด้วยการใส่ลิงก์สู่สินค้าอย่างสวยงาม

ปิดจบอย่างสวยงาม

เกริ่นแบบไหน ก็ควรจบแบบนั้น เพื่อเป็นการรักษาความสม่ำเสมอของเนื้อหา (เว้นแต่จะเป็นภาพยนตร์พล็อตทวิส) และต้องคำนึงอยู่เสมอว่าบทความนี้ จะทำให้ชีวิตผู้อ่านดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง เพราะหากเรามีเจตนาในการเขียนที่ดี วางแผนโครงเรื่องอย่างสวยงาม ย่อมกลายเป็นบทความที่ดี และทำให้ผู้อ่านชื่นชอบได้แน่นอน

ที่มา SEMrush,SocialMediaToday 

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save