NewsSocialTips

Avatar

doyoumind August 3, 2021

Content Creation vs Content Curation คืออะไร? แบบไหนดีกับโซเชียลมีเดีย?

‘คอนเทนต์’ นอกจากจะเป็นผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์จากคอนเทนต์ครีเอเตอร์แล้ว ยังเรียกว่าเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับการทำ social media marketing เลยก็ว่าได้ และที่สำคัญหากคอนเทนต์ออกมาดี ยังช่วยให้ perfomance บนโซเชียลมีเดียออกมาดีอีกด้วย

ซึ่งคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ก็มีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น บทความ ภาพ เสียง วิดีโอ เป็นต้น แต่วันนี้เราจะชวนมาพูดคุยถึงคอนเทนต์ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ที่ไม่ใช่การเจาะลึกไปถึงประเภทคอนเทนต์แบบที่กล่าวไป

นั่นก็คือ Content Creation และ Content Curation นั่นเอง หลายคนอาจเคยได้ยินบ้าง แต่ยังไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร และแตกต่างกันยังไงอย่างแน่ชัด ก่อนอื่นมาทำความรู้จักคอนเทนต์ทั้ง 2 ประเภทที่ควรมีบนโซเชียลมีเดียของเรากันก่อนดีกว่า

Content Creation

คอนเทนต์ที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง หรือที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า Original Content เป็นคอนเทนต์ที่มีเพียงหนึ่งเดียว ที่เราเป็นคนทำขึ้นมาเองทั้งเขียนบทความ ทำภาพกราฟิก วิดีโอ หรืออะไรต่าง ๆ ที่ไม่มีการหยิบยืมของคนอื่นมาใช้ (สำหรับ asset ต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ได้แต่ต้องระวังเรื่องของ licences และเงื่อนไขการใช้งานให้ดีก่อน!) และสามารถเคลมว่าเป็นงานของเราได้อย่างสมบูรณ์

แน่นอนคอนเทนต์ประเภทนี้สำคัญมาก เพราะจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของเรา องค์กร หรือแบรนด์นั่นเอง

ข้อดี

  • ช่วยสร้าง brand awareness ให้กับเรา องค์กร หรือแบรนด์
  • ช่วยให้เป็นที่จดจำในแบบของเราเอง
  • เป็นตัวยืนยันว่าเราเป็นผู้นำหรือมีความเชี่ยวชาญในคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับด้านนั้น ๆ จริง
  • สร้างความแตกต่าง และโดดเด่นจากคู่แข่ง
  • เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเรา องค์กร หรือแบรนด์
  • เมื่อเป็นคอนเทนต์ที่ผลิตเอง ก็สามารถปรับแต่งให้เข้ากับแนวทางของตัวเอง องค์กร หรือแบรนด์ที่ดูแลดูได้อย่างอิสระ ที่จะทำให้มีโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดนั่นเอง
  • บางคอนเทนต์ที่เป็น Evergreen Content สามารถนำมาโพสต์ซ้ำและช่วยเพิ่มยอดการเข้าชมได้เรื่อย ๆ
  • ช่วยเรื่อง SEO ในแง่ของการจัดอันดับเว็บไซต์

ข้อเสีย

  • ต้องใช้เวลาในการศึกษารวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาประกอบเป็นคอนเทนต์
  • อาจมีค่าใช้จ่ายในการผลิตคอนเทนต์ ไม่ว่าจะค่าใช้จ่ายที่เป็น Fixed Cost อย่างการจ่ายให้กับบริการซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น Adobe ที่ต้องสมัครใช้งาน หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ คิดเป็นแต่ละชิ้นงาน

แนะนำว่าคอนเทนต์ที่ผลิตเองควรจะอิงความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมมากขึ้น หากเป็นแบรนด์ที่ต้องขายสินค้าและบริการก็ไม่ควรที่จะเน้นคอนเทนต์ที่เป็นการขาย หรือโปรโมชันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ควรมีคอนเทนต์อื่น ๆ เช่นการให้ข้อมูล ความรู้ วิธีการใช้งานต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อกลุ่มเป้าหมาย

Content Curation

เป็นคอนเทนต์ที่แชร์มาจากแหล่งอื่น โดยที่เราไม่ได้เป็นคนผลิตคอนเทนต์เหล่านั้นเอง และไม่สามารถเคลมว่าเป็นผลงานของตัวเองได้ เช่น แชร์ข่าวจากแหล่งอื่นมายังเพจของตัวเอง ซึ่งบางทีอาจจะมีเรื่องของการยอมรับหรือขออนุญาตจากเจ้าของคอนเทนต์นั้น ๆ ก่อน

คอนเทนต์ประเภทนี้อาจพบได้มากในรูปแบบของ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลสถิติต่างๆ เป็นต้น

ข้อดี

  • สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องใช้เวลาเท่าการผลิตคอนเทนต์ขึ้นมาเอง
  • เป็นคอนเทนต์ที่เติมเต็มตารางงาน ในยามที่ไม่มีเวลาผลิตคอนเทนต์ของตัวเองมากนัก อาจใช้กลยุทธ์การแชร์จากแหล่งอื่นเป็นตัวช่วย เพื่อไม่ให้โซเชียลเงียบเหงา เป็นการรักษาตารางเวลาไม่ให้ทิ้งว่างนั่นเอง
  • สร้างความเป็นผู้นำทางความคิด แชร์สิ่งที่มีคุณค่ากับกลุ่มเป้าหมาย
  • มอบข้อมูลหรือมุมมองที่หลากหลายให้กลุ่มเป้าหมาย แชร์สิ่งที่มาจากแหล่งอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อเป็นการเปิดโลกให้กับกลุ่มเป้าหมายบ้าง
  • บางข้อมูลเป็นข้อมูลที่ช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือให้กับเรา แชร์แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ
  • เป็นการเชื่อมต่อและสร้างความสัมพันธ์กับสื่อหรือองค์กรอื่น ๆ โดยการแชร์คอนเทนต์ของเขา

ข้อเสีย

  • หากไม่ตรวจสอบแหล่งที่มาว่าข้อมูลถูกต้อง เชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด อาจมีปัญหาภายหลังได้
  • ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์หรือการขออนุญาตแชร์ซำ้
  • การใช้คอนเทนต์ประเภทนี้บ่อย ๆ อาจทำให้ขาดเอกลักษณ์ของแบรนด์ และดูไม่มีความเป็นผู้นำทางความคิดเท่าไหร่นัก เพราะไม่ใช่สิ่งที่ส่งโดยตรงจากความคิดสร้างสรรค์ที่แบรนด์เป็นคนผลิตเอง
  • อาจส่งผลต่อ SEO เนื่องจาก Search Engine จะชอบคอนเทนต์ที่มาจากต้นฉบับมากกว่าการแชร์ซ้ำ จึงอาจมีส่วนส่งผลให้เว็บไซต์ไม่ติดอันดับได้

แนะนำให้เลือกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรา องค์กร หรือแบรนด์ มาแชร์ เหมือนเป็นการเสริมความรู้ ข้อมูลเพิ่มเติม และคอนเทนต์นั้นจะต้องมีประโยชน์และสร้างคุณค่าให้กลุ่มเป้าหมายได้ เพราะฉะนั้นควรรู้จักกลุ่มเป้าหมายให้ดี

ควรลิงก์ และแท็กไปยังแหล่งข้อมูล เพื่อให้คนรู้ถึงต้นฉบับที่แท้จริง และสามารถกดเข้าไปได้ หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ทั้งนี้เป็นการให้เครดิตและให้เกียรติเจ้าของคอนเทนต์นั่นเอง

แล้วควรเลือกคอนเทนต์ประเภทไหนดีล่ะ?

ตามความเป็นจริงไม่จำเป็นต้องเลือกคอนเทนต์ประเภทใดประเภทหนึ่ง แต่แนะนำให้มีคอนเทนต์ทั้ง 2 ประเภทบนโซเชียลมีเดีย และวางแผนในการโพสต์ ปรับสัดส่วนตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์และบรรลุตามเป้าที่ตัวเองตั้งไว้นั่นเอง

และแทนที่จะแชร์เฉย ๆ การเพิ่มข้อมูล หรือความคิดเห็นของเราลงไปด้วยจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น พวกเขาจะได้รู้ว่าเรามีความคิดอย่างไรกับคอนเทนต์นั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องเขียนยาวเป็นบทความ แต่สามารถอธิบายสั้น ๆ ให้เข้าใจ และทำให้คอนเทนต์ที่แชร์มามีคุณค่ามากขึ้นก็เพียงพอแล้ว หากสามารถเสริมข้อมูลบางส่วนเพิ่มเติมได้ ก็จะยิ่งดีมากข้ึนไปอีก

การมีคอนเทนต์ทั้งสองแบบ จะช่วยให้สามารถสร้างเอกลักษณ์ของตัวเอง และเป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้นำทางความคิดในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้

นอกจากนี้ยังทำการผสมคอนเทนต์ 2 ประเภทนี้เข้าด้วยกันได้ในโพสต์เดียวกันอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น อาจทำภาพอินโฟรกราฟิกขึ้นมา โดยอิงข้อมูลจากแหล่งอื่นและให้เครดิตให้เหมาะสม แบบนี้ก็ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์ภาพอินโฟกราฟิกในแบบของเราเอง ภายใต้ข้อมูลจากที่อื่น

เรียกว่าได้ประโยชน์จาก Content Creation ที่เป็นคนผลิตออกมาเอง และมี Content Curation แหล่งข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริงมาช่วยสนับสนุนข้อมูลให้น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ที่มา: Giraffe Social Media

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save