ย้อนดูเครื่องมือที่ Facebook ออกแบบมาสู้ข่าวปลอม และแนวคิดการรู้ทันสื่อโซเชียล

สำหรับช่วงนี้จะสังเกตว่า ทีมงาน RAiNMAKER นำเรื่องราวของการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) มานำเสนอเยอะเป็นพิเศษ เนื่องจากใกล้จะเป็นช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งนับว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวตอของอนาคตของประเทศเลยก็ว่าได้ ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้ชวนเปิดประเด็นเรื่อง ทำไมเราถึงควรตระหนักเรื่องการหาเสียงบนโซเชียล และทำความรู้จักกับ Echo Chamber เสียงก้องแห่งโลกโซเชียล ไปแล้ว ซึ่งปัจจัยในเรื่อง Echo Chamber นั้นนับว่าสามารถควบคุมได้ด้วยตัวเรา แต่จะมีอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ได้เกิดจากอัลกอริทึม แต่เกิดจาก ผู้ไม่ไม่หวังดี สิ่งนั้นคือข่าวปลอม หรือ Fake News

หลายคนคงจะทราบกันดีแล้วว่าข่าวปลอมเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาจากกรณีการชนะการเลือกตั้งของ Trump ที่เกิดจากการใช้วิธีการสร้างข่าวปลอมบนโลกโซเชียลมาจากฝั่งรัสเซีย ทำให้บรรดาโซเชียลต่าง ๆ ต้องปรับนโยบายและสร้างเครื่องมือที่ใช้สร้าง (และกระตุ้น) Media Literacy ขึ้นมา

กำเนิด 3rd-Party Fact Checking

ในช่วงปี 2016 Facebook ได้เริ่มทำ 3rd-Party Fact Checking ซึ่งในข่าวต่าง ๆ ที่เป็นข่าวปลอมจะมีการแจ้งเตือน ซึ่งการแจ้งเตือนจะเน้นไปที่เนื้อหาแบบคอนเทนต์ต่อคอนเทนต์

  • Links Facts Check เป็นการ แจ้งเตือนข่าวปลอมในรูปแบบของลิ้งค์ ถ้าเกิดเพจโพสต์ข่าวที่เป็นข่าวปลอมจะมีการแจ้งเตือน โดนแบ่งเงื่อนไขของ “ความปลอม” ออกเป็น 8 กรณี เช่น False เป็นข่าวปลอมทั้งหมด, Mixture เป็นข่าวที่เอาความจริงมาปนแต่นำไปสู่การเข้าใจผิด หรือแม้กระทั่งบอกว่าเป็นแบบ Parody หรือ Prank (ข่าวตลกหรือข่าวปลอมเล่น ๆ) โดยสามารถดูรูปแบบการจัดหมวดหมู่ของ Facebook Facts Check ได้ที่ Third-Party Fact-Checking on Facebook

  • Photo and Video Facts Check ในรูปแบบของรูปภาพและวิดีโอ เป็นสิ่งที่ Facebook เพิ่งเพิ่มเข้ามาใหม่ เมื่อเดือนกันยายน 2018 ที่ผ่านมา ในส่วนนี้จะฉลาดขึ้นและสามารถอ่าน + วิเคราะห์ ตัวอักษรและภาพที่ปรากฏได้ เนื่องจากว่าข่าวปลอมบางครั้งก็มาในรูปแบบของการนำภาพมาใส่กับตัวอักษร ซึ่งบางทีภาพและเนื้อหาที่บรรยายนั้นก็คงละเรื่องกันเลย แต่ถูกนำมาใช้สร้างความเข้าใจผิด Facebook ใช้เทคนิค OCR หรือ Optical Character Recognitionโดยแบ่งรูปแบบของข่าวปลอมที่เป็นรูป 3 ลักษณะได้แก่ Manipulated ถูกสร้างหรือมโนหรือตัดต่อขึ้นมาใหม่หมด, Out of Context ข้อความและภาพอยู่นอกบริบทหรือไม่เกี่ยวข้องกัน และ Text or Audio Claim เป็นการใส่คำอธิบายหรือคำพูดปลอมเข้าไป

จะพบว่าก่อนหน้านี้ Facebook พยายามใช้อัลกอริทึมต่าง ๆ รวมถึงโปรแกรม และ 3rd-Pary ในการตรวจจับว่าข่าวนี้เป็นข่าวปลอม มีบทความบนเว็บไซต์ Social Media Today เขียนโดยคุณ​ Andrew Hutchinson บอกว่าสุดท้ายแล้วสิ่งที่จะขับเคลื่อนการสู่กับข่าวปลอมคือ Skepticism

การต่อสู้กับข่าวปลอมที่ดีที่สุดก็คือการเอื้ออำนวยให้เกิด Skepticism ที่ภาษาไทยเรียกว่า วิมตินิยม ซึ่งเป็นการตั้งคำถามกับสิ่งที่เห็น (โดยไม่เชื่อตั้งแต่แรก)

วิธีการนี้คือ เราจะไม่มองเฉพาะตัวคอนเทนต์นั้น ๆ เป็นข่าวปลอมแต่จะเจาะลึกไปถึง Hidden Agenda หรือวัตถุประสงค์แอบแฝงของตัส Publisher ด้วย

เครื่องมือแห่งวิมตินิยม

สำหรับวิธีการที่ใช้มาดูในฝั่ง Facebook กันก่อน Facebook เป็น Social Media ที่มีความไวจริง แต่ก็ยังน้อยกว่า Twitter ดังนั้น Facebook จึงพยายามเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถเห็น Background ของสื่อนั้น ๆ ได้มากกว่าเดิม จากเดิมเราอาจจะประเมินความน่าเชื่อถือของเพจที่จำนวนคนกดไลค์, จำนวนคนที่แชร์ แต่มันก็ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกว่าข่าวนั้นเป็นความจริง Facebook จึงได้เปิดเครื่องมือขึ้นอีก 1 ชุด

  • Page Info  แสดงข้อมูลว่าเพจนี้คืออะไร มาจากไหน ก่อตั้งเมื่อไหร่ เคยเปลี่ยนชื่อมาก่อนไหม รวมถึงข้อมูลที่บอกว่าคนที่ดูแลเพจ (แอดมิน) มาจากไหนบนโลก (บอกจำนวน Admin ทั้งหมด และประเทศที่อยู่) เป็น overview ของเพจโดยรวม ซึ่ง Page Info สามารถเข้าถึงได้จาก Icon รูป i บนขวาบนของเพจ
  • Active Ads ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเมนูที่เข้าถึงได้จากการกด Icon รูป i บนขวาบนเพจ ซึ่งในส่วนนี้จะบอกว่าเพจนี้มีแคมเปญโฆษณาอะไรรันอยู่บ้าง ไม่ว่าโฆษณานั้นจะ Target เราหรือไม่ก็ตาม ซึ่งในกรณีนี้ก็ทำให้เรารู้ได้ว่า เพจมีการ Targeting Ads แบบแปลก ๆ ที่เหมือนจะเป็นการชี้นำหรือมี Hidden Agenda อะไรหรือเปล่า

Key Takeaway ของการรู้ทันสื่อโซเชียล

อย่างที่ทีมงาน RAiNMAKER เน้นย้ำเสมอว่า พื้นที่โซเชียลเป็นพื้นที่แห่งการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่พื้นที่ของข่าวความเป็นจริง ซึ่งเต็มไปด้วยความ Bias, การทำ agenda setting (การกำหนดวาระให้สังคมหันมาสนใจเรื่องนี้) หรือ hidden agenda (การมีวาระบางอย่างซ่อนอยู่) ที่ไม่ได้จบเพียงแต่มนุษย์ต่อมนุษย์ แต่ยังถูกย้อมแต่งแต้มด้วยอัลกอริทึมที่ชาญฉลาดเพื่อให้สื่อโซเชียลคือโลกในกะลาอันสวยหรูที่เราเลือกที่จะรับรู้สิ่งที่เราอยากจะรู้หรือรับฟังได้เท่านั้น

ไม่ใช่แค่เฉพาะ Facebook แต่ใด ๆ ก็ตามที่เป็นอัลกอริทึม ตั้งแต่ Twitter, Google ล้วนแต่สร้างความ Bias ให้กับการรับข่าวสารของเรา อย่างที่บอกไปว่า เราอาจจะแก้ให้ Facebook หรือ Twitter หรือ Google เลิกลำเอียงไม่ได้ แต่เราก็ต้องพยายามที่จะเข้าใจธรรมชาติของมัน และไม่ตกเป็นเหยื่อของการถูกชักจูงด้วยระบอบอำนาจนิยมที่ทุกวันนี้กลายรูปแบบจากมีศูนย์กลางเป็นรัฐ มาอยู่ในระดับที่เข้ากับปัจเจกบุคคลได้อย่างแนบเนียน

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save