Case StudyNews

Avatar

Thesky April 10, 2023

กรณีศึกษา: ถอดบทเรียนจากประเด็น “คิวเทโอปป้า -ฟุกุโอกะ มินามิ”

จากประเด็นร้อนของ “Kyutae Oppa” ผู้เป็น YouTuber ชื่อดังของไทย และ “ฟุกุโอกะ มินามิ” ดารา เน็ตไอดอลชาวญี่ปุ่นพร้อมผู้จัดการส่วนตัว “อาโออิ” ที่มีปัญหาเรื่องการลงคลิป และโต้ตอบกันไปมา วันนี้ RAiNMaker จึงอยากมาสรุปสิ่งที่ได้จากกรณีศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจชาวครีเอเตอร์กัน

เหตุการณ์เร่ิมมาจากการร่วมงานของทั้งคู่ ที่ตกลงว่าจะมาถ่ายคอนเทนต์ร่วมกันที่ประเทศไทย เพื่อเป็นการโปโมตให้คนไทยได้รู้จักมินามิมากขึ้น โดยมีการแบ่งคลิปออกเป็น 4 EP. ด้วยกัน

โดยในตอนแรกที่ทางคิวเทลงสตอรีว่าจะโพสต์คลิป EP.1 ในวันถัดไป ทำให้ทางมินามิได้ติดต่อไปก่อนจะโพสต์คลิปว่าอยากจะเช็กคลิปก่อนลง เพราะมีฉากโชว์เนื้อหนังชุดว่ายน้ำ และฉากอื่น ๆ รวมถึงมีข้อมูลพาสปอร์ตถูกถ่ายติดในคลิปด้วย

แต่เพราะมันกะทันหันไปทางคิวเทเลยปฏิเสธการเช็กคลิปก่อนลงของพวกเธอ โดยที่ EP.2 ก็ยังเช็กคลิปก่อนลงไม่ได้เช่นเดิม จนกระทั่งมาถึงคลิป EP.4 ทางมินามิก็โพสต์ลงสอตรีถึงการลงคลิปโดยไม่ได้รับอนุญาต และถูกอีกฝั่งหนึ่งบล็อกโซเชียลทำให้ติดต่อไม่ได้ และไม่มีการติดต่อกลับมา

ต่อมาทางคิวเทก็ลบคลิปทั้ง 3 อีพีเพราะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ชั่วคราว เลยต้องทำการแก้ไข และยืนยันว่าคลิปที่ลงไปนั้นยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของช่อง Kyutae Oppa อยู่

พร้อมทำคลิปออกมาชี้แจ้งเพิ่มเติมว่า คลิปจากสตอรีของเน็ตไอดอลสาวที่นำมาประกอบ ก็เพื่ออยากทำให้คลิปมีความน่ารัก และมีคนไปตามไอจีพวกเธอมากขึ้น แต่กลับถูกแจ้งว่าเป็นการละเมิดสิทธิ

ส่วนการถ่ายคอนเทนต์ร่วมกัน ก็ได้มีการตกลงเรื่อง Policy ในการถ่ายแล้ว “ว่าถ่ายแล้วลงได้” รวมถึงมีการถ่ายคอนเทนต์กันเองโดยที่ไม่ได้บอกฝั่งคิวเทด้วย แต่ด้านคิวเทก็ออกมาชี้แจง และขอโทษพวกเธออีกครั้ง พร้อมบอกจะระวังในการทำงานให้มากขึ้น

ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ไม่ได้มีการทำสัญญาตกลงกันตอนถ่ายคลิปให้ชัดเจนแต่แรก ทำให้ดราม่านี้เกิดจากการทำงานที่ขาดความรอบคอบในการตกลงก่อนทำงาน และหลังลงคลิปไปแล้วด้วย ซึ่งจากกรณีดังกล่าว จึงได้ข้อสรุปสำหรับครีเอเตอร์ ดังนี้

Pre-Production

ก่อนที่จะทำการถ่ายทำคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างครีเอเตอร์ แบรนด์ เอเจนซี หรือดารา และเน็ตไอดอล ก็ควรมีการทำสัญญา และ Policy ในการถ่ายทำไว้ก่อน ว่าจะมีคอนเทนต์หรือคลิปทั้งหมดกี่ตัว และใช้ระยะเวลาในการถ่ายเท่าไหร่ รวมถึงแก้ไขในการถ่ายได้กี่ครั้ง

เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบ และมีการถ่ายทำหลายดราฟจนเกินไป รวมถึงมีการตกลงถึงรายละเอียดของเรื่องค่าใช้จ่าย และขอบเขตการสร้างคอนเทนต์ที่ชัดเจน โดยไม่ควรคิดเข้าใจอีกฝ่ายจากมุมมองตัวเอง แต่ควรฟังความคิดเห็น และมีข้อตกลงระหว่างกันเป็นลายลักษณ์อักษร

นอกจากนี้ควรระวังในการทำงาน หรือสร้างคอนเทนต์ร่วมกับดารา หรือเน็ตไอดอลที่มีต้นสังกัดชัดเจนด้วย เพราะหากเป็นคอนเทนต์เชิงพาณิชย์ ทำเพื่อการโฆษณา หรือคอลแลบกับแบรนด์ที่ทางต้นสังกัดไม่เห็นชอบ ก็ควรคุยรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติมก่อน มิฉะนั้นคอนเทนต์ที่สร้างไปอาจสูญเสียต้นทุนเปล่า และต้องลบคอนเทนต์ออกจากช่อง ป้องกันการฟ้องร้องในภายหลัง

รวมถึงป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายที่เป็นครีเอเตอร์เหมือนกัน มีการถ่ายทำซ้อนกันระหว่างคิวงานด้วย เพราะหากไม่ทำข้อตกลงกันตั้งแต่แรก อาจมีการเข้าใจผิดกันได้ ฉะนั้นรายละเอียดข้อตกลงก่อนถ่ายทำจึงสำคัญมาก เพื่อนำไปสู่ข้อตกลงในกระบวนการถัดไป จนกระทั่งช่วงเวลาที่คลิปออนแอร์

Production

หลังจากมีการตกลงรายละเอียด และเข้าใจขอบเขตในการทำงานตรงกันแล้ว ก็ควรปฏิบัติตามโดยไม่ทำสิ่งใดนอกเหนือสัญญาที่ลงลายลักษณ์อักษรไว้ นอกจากจะเกิดเหตุสุดวิสัย และมีการตกลงร่วมกันอีกครั้ง

ถึงแม้ช่วงโปรดักชันจะเป็นช่วงที่มีปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้นมามากที่สุด ก็ควรมีการแก้ปัญหาที่ไม่ได้ทำให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเสียหาย หรือได้รับประโยชน์มากจนเกินไป

รวมถึงหากมีข้อผิดพลาดในช่วงที่ถ่ายทำ หรือตัดต่อ ในส่วนที่ครีเอเตอร์ หรือแขกรับเชิญไม่สามารถให้ออกอากาศได้ ก็ควรรีมาร์กไว้ เพื่อป้องกันการผิดพลาดในส่วน Post Production ในภายหลังด้วย

Post-production

เมื่อทำการถ่ายทำตามที่ตกลงกันไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ว่าถ่ายแล้วจบเลย แต่มันคือการเข้าสู่ขั้นตอนของ Post-production ไม่ว่าจะเป็น การคัดกรองเนื้อหาส่วนที่จะปล่อยออกไป การตัดต่อคลิปวิดีโอเพื่อร้อยเรียงเรื่องราว

ไปจนถึงทิศทางการโปรโมตซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องมีการตกลงกันแล้วตั้งแต่ขั้นตอน Pre-production แต่แน่นอนว่าในระหว่างถ่ายทำก็อาจมีเหตุการณ์บางอย่าง หรือการปรับเปลี่ยนเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่นอกเหนือจากที่ตกลงกันไว้

ทำให้ต้องมีการตรวจสอบเนื้อหาอย่างละเอียดอีกครั้ง รวมถึงการตัดต่อที่อาจส่งผลให้เรื่องราวที่สื่อสารออกไปบิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้ จึงต้องมีการตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดออกไปเหมือนเวลาที่ครีเอเตอร์ร่วมงานกับแบรนด์ที่ต้องมีการส่ง Draf ให้ตรวจสอบ และรอการ Approve จากแบรนด์ก่อนโพสต์คลิปวิดีโอ

เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด และเพื่อป้องกันความเสื่อมเสียที่อาจกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้เช่นเดียวกันกับครีเอเตอร์ ถึงแม้แขกรับเชิญจะไม่ใช่แบรนด์หรือลูกค้า และลงช่องของตัวเองก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วแขกรับเชิญก็มีสิทธิ์ที่จะให้ความยินยอนก่อน

เนื่องจากคอนเทนต์ที่เผยแพร่ออกไปมีเขาอยู่ด้วย อาจมีสิ่งที่เขาไม่สบายใจที่จะเผยแพร่ เรื่องสัญญาหรือผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งอาจกระทบถึงภาพลักษณ์ จึงต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายก่อน เพื่อเป็นการเคารพสิทธิ์ และให้เกียรติอีกฝ่าย รวมถึงเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบตามมาถึงทั้งตัวเราและแขกรับเชิญในภายหลังอีกด้วยทั้งหมดนี้

เรียกได้ว่าเป็นเหมือนบทเรียน Collaboration 101 สำหรับครีเอเตอร์เลยก็ว่าได้ แต่มีหลายคนที่หลงลืมความสำคัญเหล่านี้จนเกิดปัญหาในการทำงานตามมา เพราะฉะนั้นก่อนจะร่วมงาน ไม่ว่าจะกับแบรนด์ หรือครีเอเตอร์ด้วยกันเอง ก็อย่าลืมท่องให้ขึ้นใจถึงแนวทาง 3 สเต็ปหลักข้างต้น

ทั้งการเตรียมตัวในช่วง Pre-production, Production และการตรวจสอบตอน Post-prouction เพื่อให้การทำงานราบรื่น ไร้ดราม่า!

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save