รวมกลยุทธ์เจาะ Niche Marketing 2023 คอมมูนิตี้แห่งอนาคตที่เล็กแต่เน้นฐานแฟน

หากพูดถึงความนิยมของ Niche Marketing ที่กำลังแพร่กระจายมากขึ้นในยุคนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการที่แบรนด์ หรือครีเอเตอร์สามารถเจาะจงไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ลึก และตรงที่สุด ก็จะทำให้พวกเขารู้สึกมีคุณค่า และเป็นคนที่ใช่มากขึ้นเมื่อมีคนสร้าง หรือผลิตบางอย่างเพื่อพวกเขาออกมา

ใน Mass Marketing เมื่อก่อน การจะผลิตคอนเทนต์ หรืออะไรบางอย่างออกมาอาจจะนึกว่าทำอย่างไรให้คนมองเห็นเยอะ ๆ เป็นสิ่งแรก แต่สำหรับยุคนี้การตลาดแบบ “Niche Marketing” กลับกำลังแมสมากกว่าเสียอีก

เนื่องจากผู้คนเริ่มให้คุณค่ากับสิ่งที่แตกต่าง และถูกผลิตออกมาเพื่อความชอบ หรือไทป์ และไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนมากขึ้น ฉะนั้นครีเอเตอร์ แบรนด์ และเอเจนซีควรโฟกัสไปที่การตลาดแบบเฉพาะเจาะจงนี้เอาไว้ให้ดี เพราะมันจะส่งผลต่อความภักดี (Loyalty) ของเราด้วย

เพราะในการแบ่งเซกเมนต์ของตลาด การทำการตลาดแบบ Niche Market จึงต้องคำนวณสัดส่วนของกลุ่มเป้าหมายให้ดีว่ามีมากน้อยแค่ไหน จากนั้นค่อยสร้างบางอย่างออกมาเสิร์ฟความต้องการของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น

  • ราคา: หรูหรา, ชนชั้นกลาง, โปรโมชันลดราคา
  • ประชากรศาสตร์: เพศ, อายุ, รายได้, ระดับการศึกษา
  • ระดับคุณภาพ: พรีเมียม, แฮนด์เมด
  • ภูมิศาสตร์: เมือง, ประเทศ หรือแม้แต่กระทั่งเพื่อนบ้าน

จากข้างต้นเป็นเพียงแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ส่วนการตามหา Niche Market ของตัวเองจะเป็นอย่างไร สามารถมาลองเช็กตามกระแสโลกได้ที่นี่เลย!

Lifestyle & Consciousness

ความยั่งยืนนับเป็นโจทย์ที่แบรนด์ และเอเจนซีต่างต้องเจอในยุคนี้ เพราะผู้บริโภคจะยอมเสียเงินจ่ายให้กับแบรนด์ที่มองเรื่องสิ่งแวดล้อม และรักษ์โลกเป็นเรื่องสำคัญ

ซึ่งกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ นับเป็นตัวเบิกทางให้เทรนด์รักษ์โลก และสิ่งแวดล้อมเติบโตขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ eco-friendly หรือ cruelty-free เริ่มแพร่หลาย

ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่การช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมมีแค่การบริจาคตามแคมเปญ หรือองค์กร แต่ครั้งนี้ผู้บริโภค แบรนด์​และเอเจนซีสามารถเป็นส่วนหนึ่งกับกการรักษ์โลกได้ด้วยตัวเองแล้ว

Health & Wellness

ตั้งแต่โควิดระบาดช่วงปี 2019 มาจนถึงตอนนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพใจ สามารถสร้างมูลค่าให้กับตลาดในปี 2020 ได้มากถึง 3.31 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว

เพราะผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับทั้งร่างกาย และจิตใจของตัวเองมากขึ้น ทั้งยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพนิวเทรียน หรือผลิตภัณฑ์ gluten-free ได้รับความนิยมมาก

ส่วนเรื่องของสุขภาพใจ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว, เทียนหอม, น้ำหอม, สบู่ ไปจนถึงนมข้าวโอ๊ต ก็เริ่มบูมมากขึ้นกับคนยุค Gen Z ถึง Gen Y เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ออแกนิกเพื่อผ่อนคลายจิตใจได้

หรือหากอยากสร้างเอ็นเกจให้กับผลิตภัณฑ์ ก็ควรมีเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับที่มาที่ไป หรือส่วนผสมของการฮีลลิ่งเอาไว้ด้วย แม้กระทั่งการ์ดใบเล็ก ๆ ที่มีประโยคให้กำลังใจแนบไปกับผลิตภัณฑ์ ก็นับว่าเข้ากับเทรนด์ในช่วงนี้มาก ๆ

The LGBTQIA+ community

แม้ความเคยชินของโลกจะมีแค่ 2 เพศ คือ ชาย และหญิงในทางกายภาพมาโดยตลอด แต่ยุคนี้เพศไม่มีขีดจำกัดแล้ว

เพราะเรื่องรสนิยมความชอบในเพศต่าง ๆ ของทั้งโลกเริ่มเปิดกว้าง คอมมูนิตี้เรื่องกลุ่มเป้าหมายจึงกว้างขึ้นมาก ทำให้แบรนด์ และเอเจนซีสามารถสร้างสินค้าให้ตอบโจทย์กับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น

โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมแฟชั่นที่ต้องมีการเปิดกว้างมากขึ้น เช่นการมีเสื้อแบบ Unisex หรือกระโปรงที่สามารถใส่ได้ทุกเพศ โดยไม่สนว่าทางกายภาพเป๋นเพศชายหรือเพศหญิง เป็นต้น

Travellers

ช่วงโควิดที่คนมักจะโหยหาการออกไปท่องโลกกว้าง ทำให้สินค้าเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เดินป่า หรือแคมป์ปิ้งในช่วงนี้เติบโตขึ้นมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เดินป่า หรือแคมป์ปิ้ง ไปจนถึงเครื่องแต่งกายที่ใช้เดินทาง

แต่สิ่งที่ต่างออกไป อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นต้องทำจากวัสดุที่รักษ์โลก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสัตว์ต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบด้วย ส่วนเสื้อผ้าต้องมีสีแบบเอิร์ธโทนที่มินิมอล และใส่แล้วกลมกลืนไปกับป่า หรือธรรมชาติ

ฉะนั้นผู้บริโภคกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับเรื่องของแบรนด์ และลิขสิทธิ์ของผลิตภัณฑ์มาก ๆ ยิ่งมีความท้องถิ่น (Local) และเป็นมิตรกับธรรมชาติก็ยิ่งดี แบรนด์จึงควรปรับตัวให้เข้าใจทั้งกลุ่มเป้าหมาย และธรรมชาติไปด้วย

Gamers

ในโลกที่เทคโนโลยีค่อย ๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำของผู้คน ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับแก็ดเจ็ต และเกมเมอร์ต่าง ๆ จึงบูมมากขึ้น เพราะมีผู้บริโภคกลุ่มนี้มากถึง 2.7 ล้านล้านคนที่มีงานอดิเรกเป็นการไลฟ์แคสต์เกม

นอกจากนี้บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็มีการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อมาตอบโจทย์คนกลุ่มนี้มากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็น PlayStation 5 ที่พรีออเดอร์เป็นเดือนจนของขาดตลาด และทาง Apple กับ Meta ที่กำลังทดสอบ และพัฒนาแว่นตา AR/VR อยู่เสมอ เพื่อมอบประสบการณ์ในยุคที่ Metaverse เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น

หรือแม้กระทั่งสมาร์ตโฟนก็เริ่มมีชิปที่เร็ว และแรง จนมีรุ่นที่สร้างมาเพื่อเหล่าเกมเมอร์โดยเฉพาะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้แม้จะจัดอยู่ใน Niche Market แต่ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่หากทำการตลาดด้วย แบรนด์ก็จะรู้สึกคุ้มค่าแน่นอน เพราะเทคโนโลยี และเกมต่าง ๆ ล้วนมีการพัฒนาในตัวเองอยู่เรื่อย ๆ นั่นเอง

Homeowners

แม้เทรนด์สามาร์ตโฮมอาจจะไม่ได้โตในไทยมากนัก แต่นับวาเป็นอีกกระแสหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเริ่มมีกลุ่มผู้บริโภคนี้ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องบ้าน และความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากขึ้น โดยที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง

ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สมาร์ตโฮม, สวิตช์ไฟแบบคำสั่งเสียง, ลำโพงอัจฉริยะ และการตกแต่งบ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่ปรับให้เหมาะกับห้องคอนโด และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งส่งผลให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรม และการบริการเกี่ยวข้องกับการพักอาศัย และท่องเที่ยวด้วย เช่น Airbnb, Traveloka หรือ Agoda เป็นต้น

How To ตามหา Niche Target  

ก่อนจะตามหา Niche Target ของตัวเอง เราต้องรู้จัก Positioning ของแบรนด์ก่อนว่าอยู่ส่วนไหนของตลาด หรือราคาเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้วอยู่ระดับไหน และมีเซกเมนต์อย่างไร และหากทำความเข้าใจในแบรนด์ตัวเองมากพอแล้ว ก็จะสามารถตามกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงของตัวเองได้ง่ายขึ้น

หรือหากมีแบรนด์ไหนที่มี Positioning ของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาดแมสอยู่แล้ว ก็สามารถลงไปเล่นใน Niche Marketing ได้เช่นกัน แต่จะมีวิธีไหนบ้าง ตามไปเช็กเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กันได้เลย!

Search Market Needs

วิธีที่ดีที่สุดในการเริ่มหาไอเดียที่จะเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น คือการเริ่มเสิร์ชจาก Google คลัง Search Engine ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะนอกจากจะได้รู้ว่าการค้นหาแบบไหนติด SEO บ้าง เรายังได้รู้ด้วยว่าผู้บริโภคยุคนี้กำลังต้องการอะไร และในตลาดยังมีช่องโหว่อย่างไรบ้างให้แบรนด์ของเราเข้าไปเติมเต็ม หรือแก้ปัญหาได้บ้าง

หรือแม้กระทั่งเจอมุมมองของฝั่งคู่แข่ง ก็ยังเป็นข้อมูลชั้นดีที่นำมาวิเคราะห์ให้เกิดความแตกต่างในตลาดที่มีไลน์สินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการเหมือนกันได้ แต่ขอให้จำไว้เพียงแค่ต้องค้นหาคำตอบอย่างเจาะจงที่สุด ไม่ใช่การค้นหาแบบทั่วไปที่สามารถเจอได้บนหน้าเสิร์ช Google เท่านั้น

นอกจากนี้แบรนด์ก็ควรติดตามเทรนด์ทางการตลาด หรือข่าวสารอัปเดตที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมของแบรนด์ตัวเองด้วย เพื่อให้เข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั้งบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย หรืออินไซต์จาก Nielsen

Keyword Research 

สำหรับประเภทของสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการ การใช้คำแนะนำในการเสิร์ชของ Google ก็นับเป็นอีกวิธีที่ทำได้ง่าย และมีประโยชน์กับแบรนด์มาก ๆ เพียงแค่พิมพ์ประโยค หรือคำที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ หรือกลุ่มเป้าหมาย บน Google ก็จะมีคำแนะนำขึ้นมาตามหลังคำที่เราพิมพ์ให้

ซึ่งคำเหล่านั้นแหละจะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถมีไอเดียในการตามหาเซกเมนต์ของกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น เพราะเพียงแค่คำเดียวก็มีคำต่อท้ายตามที่ผู้บริโภคค้นหากันนับสิบประโยคแน่นอน หน้าที่ของแบรนด์คือเลือกใช้ให้เหมาะสมก็พอ

Find Social Communities  

หากการเสิร์ช และใช้คีย์เวิร์ดยังไม่เพียงพอ การตามหากลุ่มเป้าหมายใน Niche Marketing บนแพลตฟอร์ม และโวเชียลมีเดียต่าง ๆ ก็ช่วยได้ ไม่ว่าจะเป็น TikTok, Instagram, YouTube, Facebook และ Twitter ต่างก็มีหลากหลายคอมมูนิตี้รอให้แบรนด์ไปค้นพบอยู่

เพราะแต่ละแพลตฟอร์มต่างก็มีที่ประจำในแต่ละคอมมูนิตี้แตกต่างกันไป เช่น TikTok มักจะเจอคนชอบตามสูตรอาหาร  หรือการไลฟ์ตลอด 24 ชั่วโมง ส่วน Twitter จะเป็นคอมมูนิตี้ที่มีท็อปปิกเปลี่ยนไปทุกวัน ส่งผลให้เกิดคอมมูนิตี้ใหม่ ๆ ทุกวันด้วย

และหากอยากเจาะลึกอินไซต์ของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นไปอีก ทางแบรนด์กสามารถศึกษาพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของพวกเขาได้ด้วย เช่น เพจ และแบรนด์ที่ผู้บริโภคติดตาม หรือการโพสต์ลงโซเชียลมีเดียก็สามารถนำมาประยุกต์เป็นแผนทางการตลาดได้เช่นกัน

Dropshopping Products

 

เป็นอีกวิธีทางอ้อมที่มีความ win-win ระหว่างแบรนด์ และกลุ่มเป้าหมาย โดยแบรนด์สามารถจัดการทดสอบผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าเพื่อให้เป็นที่รู้จักก่อนได้ เพราะจะเกิดการบอกปากต่อปาก หรือลงโปรโมตทางโซเชียลของกลุ่มเป้าหมายเอง และหากแบรนด์มีแฮชแท็กก็สามารถเข้าไปหาเซกเมนต์ของกลุ่มเป้าหมายได้ในนั้นด้วย ส่วนทางด้านผู้บริโภคก็จะได้รู้จักสินค้า และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มากขึ้น

และนอกจากจะได้รู้จักกับกลุ่มเป้าหมายที่ชอบในแบรนด์ของเราแล้ว ก็ยังได้รับฟีดแบ็กเกี่ยวกับแบรนด์ เพื่อนำไปพัฒนาสินค้า และบริการได้ด้วย

Build Mind Map

วิธีการทำมายด์แมปปิงนับเป็นการริเริ่มไอเดียใหม่ ๆ แบบพื้นฐานที่แตกไอเดียไลน์ผลิตภัณฑ์ และสินค้าได้ดีที่สุด เพราะมีการจัดระบบความคิดให้เป็นระเบียบได้ โดยจะทำให้เรารู้ว่าแต่ละผลิตภัณฑ์มีซับเซตย่อยอะไรบ้าง แล้วจากนั้นค่อยจับลงตามความต้องการของตลาดได้ดียิ่งขึ้น

ฉะนั้นหากสำรวจตลาดแล้ว ก็สามารถจับคู่กับผลิตภัณฑ์ที่แบรนด์แตกไลน์ย่อยออกมาได้เลย ซึ่งจะทำให้เจาะจงกลุ่มเป้าหมายใน Niche Market ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

อ้างอิงจาก: Shopify

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save