สอวช. – คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จับมือ Tellscore และ The Zero Publishing เปิดตัวโครงการวิจัยและ Thai Creator for Real Business Workshop ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจครีเอเตอร์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท เทลสกอร์ จำกัด (Tellscore) และบริษัท เดอะ ซีโร่ พับบลิชชิ่ง จำกัด (The Zero Publishing) จัดงานเสวนา “Future of Creator Economy: การขับเคลื่อนนโยบายและเปิดโครงการ Thai Creator for Real Business Workshop”
เพื่อเปิดตัวโครงการวิจัยและพัฒนาแนวนโยบาย อววน. และกลไกขับเคลื่อน Creator Economy ของไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันเศรษฐกิจครีเอเตอร์ให้เติบโตอย่างเป็นระบบผ่านการออกแบบนโยบาย พัฒนาทักษะและสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพของครีเอเตอร์อย่างยั่งยืน
โดยมีดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ที่เล็งเห็นความสำคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในฐานะซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ โดยมองว่า Creator Economy คือกลไกสำคัญที่จะยกระดับศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย
และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม รองคณบดี (ด้านวิชาการ) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยใช้แนวทางวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Research) ร่วมกับครีเอเตอร์ ผู้ประกอบการ SME แพลตฟอร์ม ภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ เพื่อวิเคราะห์ภาพรวม ศักยภาพ ช่องว่างในระบบนิเวศของ Creator Economy ในประเทศไทย
เพราะเศรษฐกิจครีเอเตอร์ไม่ใช่แค่การผลิตคอนเทนต์หรือการหารายได้ของครีเอเตอร์ระดับปัจเจก แต่เป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ต้องการการออกแบบเชิงโครงสร้างอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นของการพัฒนาเนื้อหา (Content Development) ไปจนถึงปลายน้ำของการสร้างรายได้ (monetization) และทรัพย์สินทางปัญญา (IP)
โครงการนี้จึงมีทั้ง Value Chain และ Ecosystem cacการวิจัยเชิงระบบจะดำเนินงานควบคู่กับการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ สู่กุญแจสำคัญที่จะทำให้ครีเอเตอร์ไทยไม่เพียงเติบโตในฐานะผู้ผลิตเนื้อหา แต่สามารถสร้างธุรกิจ สร้างอาชีพ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีระบบเศรษฐกิจที่หลากหลาย และขับเคลื่อนด้วยศักยภาพของครีเอเตอร์
เช่นเดียวกับคุณวรพจน์ ประสานพานิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันการเป็นผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องเริ่มจากธุรกิจขนาดใหญ่ ก็สามารถเติบโตเป็นผู้ประกอบการที่แท้จริงได้
โดย คุณสุวิตา จรัญวงศ์ จาก Tellscore มองว่าบทบาทของครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ขยายตัวจากผู้ผลิตคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ สู่การเป็นผู้ประกอบการสื่อ แต่เป็น ‘Creative Workforce’ ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล หากได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ
การมีนโยบายและกลไกที่ชัดเจนในการส่งเสริม Creator Economy จะไม่เพียงแค่ผลักดันอุตสาหกรรมนี้ให้เติบโต แต่ยังเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่จำนวนมากได้ใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการพัฒนาธุรกิจ สร้างรายได้ และเติบโตอย่างยั่งยืน
อีกทั้งคุณขจร เจียรนัยพานิชย์ กรรมการผู้จัดการ The Zero Publishing ยังเสริมว่า การผลักดันวงการครีเอเตอร์ไทยอย่างต่อเนื่องของ RAiNMaker รวมถึงการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนให้มากขึ้น เพื่อให้วงการครีเอเตอร์ไทยได้มี Ecosystem ที่แข็งแรง ไม่แพ้ในวงการอื่น ๆ
และสุดท้ายภายในงานยังได้รับเกียรติจาก คุณซอฟ รษิกา พาณีวงศ์ เจ้าของช่อง ‘Soft Raziqaa’ ครีเอเตอร์ที่เติบโตอย่างมั่นคง มาร่วมแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ โดยกล่าวว่า “ความสำเร็จในยุคนี้ คือการยืนระยะได้อย่างเข้าใจจุดแข็งของตนเอง และทุกตัวตนมีหน่วยวัดความสำเร็จที่แตกต่างกัน
โดยคาดว่า “Thai Creator for Real Business Workshop” จะสร้างทักษะด้านธุรกิจให้แก่ครีเอเตอร์ไทย ให้สามารถเติบโตในฐานะผู้ประกอบการ และก้าวสู่ระบบการสนับสนุนทุนจากภาครัฐและเอกชนได้อย่างมั่นคง พร้อมยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ลงมือคิด ทดลอง และพัฒนาแนวคิดของตนเอง พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายกับผู้ร่วมวงการ ทั้งเพื่อนครีเอเตอร์ ผู้ประกอบการ และภาคีผู้สนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะจัดทั้งหมด 3 จังหวัด ได้แก่
- ขอนแก่น: 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2568
- พิษณุโลก: 7 – 8 มิถุนายน 2568
- กรุงเทพมหานคร: 14 – 15 มิถุนายน 2568
โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมเพียง 120 คน ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 30 เมษายน 2568 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมได้ที่: https://forms.gle/YH516aSmF3PkFAS56
Create Media Value Chain: Gap and Opportunity for Value Creation
MODULES for WORKSHOP
เมื่อพูดถึง Creator Economy เหล่าครีเอเตอร์ก็คือผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ และสามารถสร้างมูลค่าได้ โดย Journey จะเริ่มจากสิ่งที่ชอบ และทำให้สม่ำเสมอ จากนั้นก็เข้าสู่ช่วงเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการ หรือ “Entrepreneur” เพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้นใน Ecosystem นี้ ก็จะต้องทำความเข้าใจระบบนี้ก่อน โดยขั้นตอนการสร้างผู้ประกอบการมีทั้งหมดใน Workshop: Thai Creator for Real Business: ปั้นครีเอเตอร์ให้โตไวในโลกธุรกิจ นี้แล้ว
- Creator Economy
- ออกแบบธุรกิจหา Value
- ข้อควรรู้ในการทำธุรกิจ
- การเป็น ‘Solopreneur’
- หารายได้ และการสร้างแผนธุรกิจ
- Visual & Production เพื่อเสริมธุรกิจ
- Solo-preneur สู่ SME
- AI กับการสร้างธุรกิจ
- Success Case / Policy Recommendation
- Networking
Creator Media Value Chain: โอกาสการสร้างมูลค่าของครีเอเตอร์ไทย
- Content Development: ครีเอเตอร์เริ่มจาก Viral Content เลยขาดการวางแผนระยะยาว และ Mentor เพื่อหาจุดแข็งให้ไปต่อได้
- Content Production: ขาดการสนับสนุนด้านอุปกรณ์ เทคโนโลยี ทุนการผลิต
- Platform Optimization: ครีเอเตอร์ไทยต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง ขาด Dashboard วิเคราะห์ในระดับท้องถิ่น
- Distribution & Network: ระบบ Creator ไทยยังไม่เกิด Network แบบมืออาชีพ และการ Collabotion เชื่อมต่อกับภาคอื่นน้อย
- Audience Engagement: ครีเอเตอร์ยังมองหา Value จาก Attention Economy (Beyond Engagement) และระบบรองรับการสร้างแฟนคลับให้เป็น ‘Fandom’ ในระยะยาว
- Monetization & IP: รายได้ครีเอเตอร์ยังผูกกับแพลตฟอร์ม และ Sponsor ทำให้ขาดการเข้าใจ IP และ Licensing หรือหาแหล่งเงินทุน (Funding) ไม่ชัดเจน
เรียนรู้ และ Workshop จริงกับเหล่าผู้ประกอบการ ‘Solopreneur’ ตัวท็อปของไทย
- คุณรษิกา พาณีวงศ์ เจ้าของเพจ Soft Raziqaa
- คุณณัฐศิษฏ วาจาสิทธิศิลป์ เจ้าของเพจ paulnathasit
- คุณสิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม จาก CREATIVE TALK
- คุณวงศกร ธนูถนัด เจ้าของเพจ หัวหน้าแบงค์ Full Funnel
- คุณวิศวโยธิน Co-founder Debuz & GAMEINDY
- คุณกุลขวัญ โอษะคลัง เจ้าของเพจ ครูขวัญฝรั่งเศส
- คุณธนบดี พงษ์ประพันธ์ เจ้าของเพจ พิดโลกจัดเต็ม
- คุณศรัณย์ แบ่งกุศลจิต เจ้าของบริษัท Uppercuz และช่องการตลาดการเตลิด
หมายเหตุ: รายละเอียด Agenda และสถานที่จะประกาศเพิ่มเติมอีกครั้งหลังประกาศผล 120 คน
กติกาการรับสมัคร
- ผู้สมัครต้องเป็นคนไทยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
- ผู้สมัครต้องมีช่องทางของตัวเอง และผู้ติดตาม 1,000 คนขึ้นไป บนโซเชียลมีเดียหลัก หรือแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง (Facebook, Instagram, YouTube, TikTok, X, Lemon8, Twitch, Podcast หรืออื่น ๆ)
- ผู้สมัครต้องเดินทางมาเข้าร่วม Workshop ณ สถานที่จริงเท่านั้น เนื่องจากไม่มีการเรียนออนไลน์หรือบันทึกให้รับชมย้อนหลัง
- หากผู้สมัครเป็นสื่อ เพจ หรือมีบริษัทที่ดูแลมากกว่า 1 คนขึ้นไปเข้ามาสมัครพร้อมกัน *แต่ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ผู้เข้าร่วม ให้ 1 สิทธิ์ต่อ 1 สื่อเท่านั้น*
- ผู้สมัครที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 120 คน จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมตลอด 2 วันเพื่อได้รับประกาศนียบัตร
- การคัดเลือกผู้เข้าร่วม Workshop เป็นสิทธิ์ของทางคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บริษัท Zero Publishing และ บริษัท Tellscore ซึ่งการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- RAiNMaker: facebook.com/rainmakerth
- Tellscore: facebook.com/Tellscore
- คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ: facebook.com/commartschulaofficial
#FutureofCreatorEconomy #ThaiCreatorforRealBusinessWorkshop