อย่างที่ทุกคนรู้กันดีว่า YouTube เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอที่อยู่ครีเอเตอร์มานาน อีกทั้งยังเป็นแพลตฟอร์มแจ้งเกิดสำหรับครีเอเตอร์ไทยชื่อดังหลายคน รวมไปถึงทั้งฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เรียกว่า Creator Economy บน YouTube เติบโตขึ้นจนถึงจุดสูงสุด ทั้งในอินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์
การเติบโตของตัวเลขผู้ติดตาม และครีเอเตอร์สะท้อนให้เห็นว่า Creator Economy ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แข็งแรงขนาดไหน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งโอกาสสำคัญสำหรับแบรนด์ที่กำลังมองหาครีเอเตอร์ที่จะร่วมงาน และสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้เข้าถึงผู้ชมจำนวนมหาศาลได้ ซึ่งไม่เพียงแต่แบรนด์ที่จะได้รับโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ และสร้างคอมมูนิตี้เท่านั้น แต่ครีเอเตอร์เองก็ได้มีช่องทางใหม่ในการสร้างรายได้อีกด้วย
วันนี้ RAiNMaker ได้มีโอกาสเข้าไปฟังงานแถลงข่าวออนไลน์ของ YouTube ในหัวข้อ “YouTube and the Rise of Creator-led Commerce in Southeast Asia” เราเลยอยากนำสถิติที่น่าสนใจทั้งภาพรวมการใช้งาน YouTube จากทั่วโลก ไปจนถึงข้อมูลการใช้งานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เจาะลึกถึง Video Commerce มาฝากทุกคนกันค่ะ!
ภาพรวมสถิติการเติบโตของ YouTube ล่าสุด
- มีการอัปโหลดวิดีโอมากกว่า 20 ล้านคลิปทุกวัน
- วิดีโอบน YouTube ได้รับยอดไลก์กว่า 3.5 พันล้านครั้งต่อวัน
- มีผู้ใช้ดู YouTube Shorts ถึง 2 พันล้านคนในทุก ๆ เดือน
- มีผู้ใช้พอดแคสต์มากกว่า 1 พันล้านคนทุกเดือน
- ยอดวิวเฉลี่ยของผู้ใช้ที่ดู YouTube ผ่านทีวีทุกวัน รวมกันมากกว่า 1 พันล้านชั่วโมง
สถิติการเติบโตของ YouTube ใน SEA
- ครีเอเตอร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนมีจำนวนถึง 7,600 ช่อง และมีช่องที่มีผู้ติดตามถึง 100,000 คน กว่า 77,000 ช่อง
- 85% ของผู้ชมไทย และ 67% ของผู้ชมอินโดนีเซีย มองว่า คอนเทนต์ของครีเอเตอร์บน YouTube น่าเชื่อถือ
- ผู้ใช้ Gen Z ดูคอนเทนต์บน YouTube และใช้แพลตฟอร์มในการนำทาง และแชร์เรื่องราวในชีวิต
- 98% ของผู้ใช้เชื่อในคำแนะนำของครีเอเตอร์ ทำให้ครีเอเตอร์บน YouTube ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้มากกว่าแพลตฟอร์มอื่นถึง 4 เท่า
- Video Commerce เป็นที่นิยมอย่างมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- YouTube ยังคงหาทางพัฒนาช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้ครีเอเตอร์ ทั้งการสร้างรายได้จากโฆษณา, การสมัคร Membership, Brand Partnership และ YouTube Shopping
การเติบโตของ YouTube Shopping ใน SEA
- เนื่องจากผู้ใช้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักชอบชอปปิงออนไลน์ จึงทำให้ YouTube Shopping เปิดตัวในแถบนี้เป็นที่แรก ๆ ของโลก
- ไทยร่วมมือกับ Shopee เชื่อมแคตตาล็อกสินค้าเข้ากับวิดีโอ โดยครีเอเตอร์สามารถติดแท็กสินค้าในวิดีโอเพื่อสร้างรายได้
- คนดูในไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ เชื่อถือ Google และ YouTube มากที่สุดตลอด Purchase Journey
- Video Commerce คิดเป็น 20% ของ GMV ของ E-commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าจากปี 2022
- ครีเอเตอร์เกินครึ่งที่ตรงตามคุณสมบัติ สมัคร YouTube Shopping ในประเทศที่เปิดใช้งาน
YouTube TV โอกาสใหม่ของแบรนด์
- ผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดู YouTube ผ่านทีวี กว่า 79 ล้านคน
- YouTube มอบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานได้มีส่วนร่วมผ่านจอที่ใหญ่ขึ้น
- ปีก่อน YouTube Ads มียอดวิวการดูผ่านทีวีมากถึงขนาดที่สร้างยอด Conversion มากกว่า 1 พันล้านครั้งทั่วโลก
- YouTube TV เพิ่ม QR Code เพื่อให้ผู้ใช้เข้าไปชอปปิงได้สะดวกขึ้น
ถอดรหัสความสำเร็จจากครีเอเตอร์อินโดฯ
คุณ Yudist Ardhana หนึ่งในครีเอเตอร์แถวหน้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากอินโดนีเซีย ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์บน YouTube มานานกว่า 10 ปี ได้ให้คำแนะนำในการสร้างฐานแฟนให้แข็งแรง และทำคอนเทนต์ให้ประสบความสำเร็จ โดยเขาเล่าว่าการเป็นตัวของตัวเอง สร้างความน่าเชื่อถือ รวมถึงความจริงใจ จะช่วยทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างครีเอเตอร์และคนดูยั่งยืนขึ้น นอกจากนี้เขายังฝากเคล็ดลับการทำคอนเทนต์มาให้ครีเอเตอร์ทุกคนอีกด้วย
- Think Global, Act Locally: คิดให้กว้าง แต่ทำให้เข้าถึงคนในพื้นที่
- Solutions to Everyday Problems: คอนเทนต์ที่บอกวิธีแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
- Tapping into the Community: ใช้ Storytelling ในการเบลนเข้าหากลุ่มคนดู และให้พวกเขามีส่วนร่วมในคอนเทนต์
คำแนะนำในการเลือกครีเอเตอร์สำหรับแบรนด์
คุณญาดา ศาสตรสาธิต (ประธานบริหารฝ่ายดิจิทัลและการตลาด L’Oréal) เองก็ใช้ YouTube เป็นช่องทางในการสื่อสารแบรนด์ รวมถึงร่วมมือกับครีเอเตอร์บน YouTube เพื่อสร้างความจริงใจ เข้าถึงง่าย และช่วยให้แบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งคุณญาดายังฝากคำแนะนำในการหาครีเอเตอร์ให้เหมาะกับแบรนด์ไว้ดังนี้
- หาคนที่เหมาะในการเล่าเรื่องของแบรนด์
- ใช้รูปแบบคอนเทนต์ และครีเอเตอร์ให้เหมาะสมกับสิ่งที่แบรนด์ต้องการ
- เลือกครีเอเตอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถถ่ายทอดคุณค่า และเรื่องราวของแบรนด์ไปยังกลุ่มคนดูได้
จากข้อมูลทั้งหมด เห็นได้ว่า YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางสำหรับทั้งครีเอเตอร์ แบรนด์ และคนดู ให้เชื่อมต่อการ รวมถึงเป็นพื้นที่ที่สร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับทุกฝ่าย โดยเฉพาะด้าน E-commerce ที่ Video Commerce เติบโตอย่างพุ่งทะยานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนทำให้ YouTube กลายเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของ Digital Economy ในภูมิภาคนี้