Tips

Inthanon Panyasopa November 6, 2018

วิธีการเลือกใช้ฟอนต์ให้เข้ากับสไตล์ของงาน

ฟอนต์มีมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่ละแบบมีสไตล์ที่แตกต่างกันออกไป การเลือกหยิบฟอนต์สักตัวมาใช้ในงานออกแบบสำหรับ Non-designer แล้ว อาจจะเป็นเรื่องที่ยากในช่วงแรก เพราะไม่รู้ว่างานที่เรากำลังทำอยู่นั้นควรเลือกใช้ฟ้อนต์แบบไหนดี

การเลือกใช้ฟอนต์ไม่มีหลักการตายตัวว่าควรจะเลือกแบบไหนถึงจะออกมาสวยและดีที่สุด การเลือกใช้ฟอนต์ก็จะต้องดูอารมณ์ของงานและกลุ่มเป้าหมายของผู้อ่านเป็นส่วนประกอบด้วย ฟ้อนต์มีหัวหรือไม่มีหัวก็เป็นอีกเรื่องที่จะต้องระบบในกรณีที่มีข้อความเยอะพอควรก็ควรเลือกฟอนต์แบบมีหัวให้อ่านได้ง่าย

ประเภทและสไตล์ของงานออกแบบก็มีหลากหลายแตกต่างกันไป ถ้าใครยังหาฟอนต์ที่เข้ากับสไตล์งานของตัวเองไม่เจอมาลองดูไปพร้อมกันเลย


1. งานสไตล์ Minimalist เรียบง่ายแต่แฝงด้วยความหมาย

งานแบบ Minimalist เป็นงานที่ใช้กราฟิกน้อย แต่เน้นไปที่เชิงความหมาย ฟอนต์ที่ใช้ในงานสไตล์นี้จะดูเรียบและแข็งแรงดูมั่นคง การจัดวางจะจัดแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง เว็บไซต์ Apple ที่เน้นรูปภาพมากกว่าตัวอักษร แต่จุดไหนที่มีตัวอักษรประกอบอยู่ภาพและตัวจะเข้ากันอย่างลงตัว

สังเกตว่าฟอนต์ภาษาไทยและอังกฤษจะค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกัน(ในกรณีที่แยกฟอนต์คนละตัว) แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเลือกให้เป็นตัวเดียวกันเพื่อประหยัดเวลาในการออกแบบ

ตัวอย่างฟอนต์ที่แนะนำ

Montserrat

Roboto Condensed

Raleway

 


2. งานสไตล์ Luxury ดูหรูดูแพง

งานที่ดูแพงเหมือนจะเลือกใช้ฟอนต์ง่ายแต่จริงๆแล้วไม่เลย งานสไตล์นี้ถึงแม้ว่าฟอนต์จะมีให้เลือกใช้เยอะ แต่ก็ควรเลือกให้เหมาะสม บางฟอนต์อ่านยากและนำมาจัด Layout แล้วไม่ค่อยสวยนัก เทคนิคการเลือกอาจจะต้องลองเลือกมา 4-5 แบบ มาวางเทียบกันแล้วดูว่าตัวไหนดูแล้วดีที่สุด รวมไปถึงสังเกตขาของฟอนต์ว่ามีความแข็งแขงขนาดไหน ฟ้อนต์สไตล์ Luxury ควรดูมั่นคงแข็งแรง ขาของฟอนต์ต้องคมและสวย

https://pin.it/ds7msfmblpd2ft

ตัวอย่างฟอนต์ที่แนะนำ

Lora

Arapey


3. งานสไตล์ Corporate น่าเชื่อถือแต่ต้องไม่น่าเบื่อ

ฟอนต์ของ Corporate ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การสื่อสารและการเล่าเรื่องราวเป็นหลัก ฟอนต์สไตล์ที่เลือกควรมีลักษณะแข็งแรงอ่านง่ายแต่ต้องดูทันสมัย (อย่าพยายามใช้ Tahoma หรือ Angsana New ถ้าไม่จำเป็น) เทคนิคการเลือกลองเลือกฟอนต์ที่ไม่มีหัวเพื่อใช้กับ Headline ผสมกับฟอนต์มีหัวที่ใช้สำหรับการสื่อสารหรือข้อความยาวๆ ฟอนต์ต้องมั่นคงแข็งแรง

https://www.behance.net/gallery/19950679/DocuShare-Website-Design

ตัวอย่างฟอนต์ที่แนะนำ

Karla

Archivo Narrow


4. งานสไตล์ Variety ดูสนุกและผ่อนคลาย

เป็นงานที่เลือกฟอนต์ได้อย่างอิสระมากกว่าทุกสไตล์ที่กล่าวมา แต่ก็ไม่ได้หลายความว่าจะเลือกฟอนต์ตัวไหนมาใช้ก็ได้ เพราะสุดท้ายความง่ายในการอ่านก็ยังเป็นสิ่งสำคัญเสมอสำหรับการสื่อสาร งานสไตล์นี้สามารถเลือกฟอนต์แบบ Display มาใช้ผสมกับฟอนต์อื่นๆก็ได้แต่ไม่ควรเลือกฟอนต์ที่ดูแข็งจนเกินไปและจะต้องจัดลำดับความสำคัญให้ของฟอนต์ให้ดี ไม่เช่นนั้นความสนุกอาจจะหายไปจากงานของเรา

https://pin.it/72lqwh6kyogylc

ตัวอย่างฟอนต์ที่แนะนำ

Lobster

Fredoka One

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save