RAiNMaker TipsSocial

Avatar

Thesky February 28, 2022

แชร์ 4 สเต็ปรู้ทันกลโกงโลกโซเชียล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกก่อนเชื่อ

โลกโซเชียลมีเดียนั้นความจริงแทบไม่ต่างกับโลกมายากลเลย แม้จะมองเป็นโลกที่เหมือนกับเหรียญเพราะมีสองด้าน แตก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันเป็นโลกที่ชวนสับสนกับตัวตนของผู้คนไม่น้อยเลย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากในยุคปัจจุบันมีหลายครั้งที่ผู้คนมักจะหลงเชื่อไปกับกลโกง และคำหลอกลวงบนโลกโซเชียล

ต้นเหตุของ Fake News หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้โลกโซเชียลมีแต่ความไม่แน่นอน และแปรผันกับคนในสังคมอยู่ตลอดเวลานั้นไม่สามารถโทษได้ว่าเป็นความผิดของใครแบบเฉพาะเจาะจงได้เลย นอกจากกลุ่มคนที่ชอบเล่นกับความเชื่อใจ และไว้ใจของผู้อื่น โดยใช้กลโกงและคำลวงเป็นเครื่องมือในการทำให้เชื่อใจ และไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล องค์กร รัฐบาลหรือระดับประเทศ ต่างก็มีโอกาสตกเป็นเหยื่อของโลกกลโกงในโซเชียลมีเดียได้

เพราะบางสิ่งก็เป็นสัญญาณได้ว่าความเชื่อใจของเรากำลังจะเป็นตัวขับเคลื่อน Fake News และข่าวลือเหล่านั้นให้แพร่กระจายออกไป ดังนั้น RAiNMaker เลยอยากมาแชร์ 4 สเต็ปรู้ทันกลโกลในโลกโซเชียลให้กับผู้อ่านทุกคนสามารถจับสังเกต Red Flag หรือสัญญาณเตือนเหล่านั้นให้ทันกัน!

STEP 1: รู้จักกังวลให้ถูกช่วง

แม้การระวังตลอดเวลาในโลกโซเชียลจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีสัญญาณเตือนบางอย่างที่ทำให้เราพอจะรับรู้ได้ว่าสิ่งที่เรากำลังเห็นขณะท่องโลกอินเทอร์เน็ตอยู่นั้นไม่น่าเชื่อถือ

เริ่มจากการสัมผัสจากเซนส์ของตัวเองก่อนว่าบางคอนเทนต์นั้นมีเนื้อหาที่ดีเกินไป หรือแย่เกินไปแบบไม่มีตรงกลาง เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้ง่ายจากพาดหัวข่าว ดังนั้นเมื่อเจอคอนเทนต์ไหนบนโลกออนไลน์ให้ตั้งสติเข้าไว้

พร้อมทั้งพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าคอนเทนต์นั้นสร้างอารมณ์และความรู้สึกขณะอ่านมากเกินไปไหม หรือคอนเฟิร์มความเชื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไปแบบไม่มีเหตุผลมาซัพพอร์ต รวมถึงคอนเทนต์ที่จะทำให้เราต้องเสียเงินก่อนถึงจะเข้าถึงได้ก็ควรปัก Red Flag ไว้ได้เลย

ซึ่งวิธีการเช็กว่าคอนเทนต์นั้นควรกังวลในความน่าเชื่อถือหรือไม่ให้วัดจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ หรือข้อมูล ลิงก์แบบปฐมภูมิต่าง ๆ ของคอนเทต์ที่สามารถเช็กข้อเท็จจริงได้ หรือมีสื่อไหนนำคอนเทนต์ไปลงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมจริง ๆ ไม่ใช่เล่นกับความเชื่อของผู้คน

STEP 2: เช็กลิงก์เสมอ

เพราะโลกของโซเชียลมีเดียมีการเขียนซ้ำ หรือรีโพสต์ต่อกันเสมอ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่จะมีใจความสำคัญบางอย่างของข้อความหรือคอนเทนต์ถูกตัดทอนออกไป ทำให้การสื่อสารผิดพลาด และเปลี่ยนความหมายไปได้

ขั้นตอนแรกในการเช็กควรเริ่มตรวจสอบจากการหาวันที่ และแหล่งของข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่ของคอนเทนต์นั้นมาจากไหน รวมถึงมีการการแชร์ลงแพลตฟอร์มโซเชียลอื่น ๆ เช่น Facebook หรือ Twitter บ้างหรือไม่ นอกจากนี้การเช็ก Timestamp ก็สำคัญ เพื่อจะได้รู้ว่าคอนเทนต์นั้นถูกโพสต์ลงเมื่อไรก็สำคัญ

เพราะหากเป็นคอนเทนต์หรือข้อมูลเท็จจะไม่มีรายละเอียดว่าแหล่งข้อมูลมาจากไหน หรือใครเป็นคนนำมาโพสต์ นอกจากตัวอักษรที่โฯ้มน้าวใจผู้คนได้เท่านั้น

STEP 3: มองหาบริบทให้ละเอียด

บางครั้งบริบทคอนเทนต์ก็สามารถหลอกเราให้หลงหลจนเชื่อได้ ด้วยการเริ่มจากการพรรณนาข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเพื่อหล่อเลี้ยงความน่าเชื่อถือไปเรื่อย ๆ พร้อมกับใส่ข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจแทรกลงไป ทำให้ผู้คนหลงเชื่อได้ง่ายขึ้น

แม้จะไม่มีหลักสูตรไหนสามารถเป็นไกด์ไลน์ชัดเจนสำหรับคอนเทนต์ที่มีบริบทกลโกงของคอนเทนต์ได้ แต่สิ่งที่เราชาวโซเชียลมีเดียจะสามารถทำได้ คือการวิเคราะห์ และพิจารณาว่าคอนเทนต์นั้นมีการฝักฝ่ายใด ตั้งใจโน้มน้าวให้เชื่อไปตามที่โพสต์ หรือว่ามีการเสียสี และเหน็บแนมหรือไม่ เป็นต้น

แต่หากเป็นแคมเปญหรือโปรดักต่าง ๆ ก็ควรหาความเชื่อมโยงเกี่ยวกับบุคคลหรือองค์กรที่เป็นเจ้าของแคมเปญ หรือผู้มีส่วนร่มให้เจอด้วยแอคเคาท์โซเชียลมีเดียที่ให้ข้อมูลไว้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เราเสียเงินไปกับกลโกงในโลกโซเชียล เราจึงต้องเช็ก และตรวจสอบความเป็นไปได้ในทุก ๆ ทางนั่นเอง

STEP 4: ชั่งน้ำหนักหลักฐานให้เป็น

เพราะการเสพข้อมูลข่าวสาร หรือคอนเทนต์ต่าง ๆ ในโลกโซเชียลเป็นเรื่องที่สะดวก ง่าย และรวดเร็ว หลายคนอาจจะมองข้ามสเต็ปนี้ไปโดยปริยาย นั่นก็คือการชั่งน้ำหนักของหลักฐานในสิ่งที่ได้ฟัง หรืออ่านในชีวิตประจำวัน

แต่การจะมองกลโกงนั้นให้ทะลุปรุโปร่งก็ไม่ได้ง่ายนัก เพราะถ้าหากทุกคนทำได้ โลกนี้ก็คงไม่มีใครต้องกลายเป็นเหยื่อของโลกโซเชียลแน่นอน ดังนั้นวิธีสุดท้ายนี้จึงควรชั่งน้ำหนัก และวิเคราะห์ก่อนเชื่อให้เป็นเข้าไว้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีรีเสิร์ชหาแหล่งข้อมูล หรือการถกเถียงกับความคิดภายในตัวเองว่าคอนเทนต์นั้นมีอะไรผิดวิสัย หรือเกินความเป็นจริงไปบ้าง

ซึ่งบางครั้งเราเองก็กลายเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแบบไม่รู้ตัวเช่นกัน ดังนั้นก่อนแชร์ก็ควรคิด และพิจารณาให้ดีว่าแชร์แล้วจะเกิดประโยชน์ให้กับผู้คนที่ติดตามเราอย่างไรบ้าง หรือว่าจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไร

การวิเคราะห์สื่อเพื่อให้รู้เท่าทันกลโกงโลกในโซเชียลทั้ง 4 วิธีนี้ แม้บางเรื่องจะรู้กันอยู่แล้ว แต่เจตนานี้ไม่ได้อยากจะโน้มน้าวให้ตรวจสอบ หรือสังเกต ขุดเจาะเป็นจอบเสียม แต่ทว่าไกด์การแนะนำวิธีวิเคราะห์เบื้องต้นนี้จะช่วยให้พวกเราชาวเน็ตรู้จักระวังตัวกับสิ่งที่เสพทุกวันเพิ่มมากขึ้น เพื่อไม่ให้ข้อมูลผิด ๆ และคนที่หวังดีแต่ประสงค์ร้ายมีอิทธิพลกับในชีวิตอีก

ที่มา: The Verge

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save