Gatekeeper แนวคิดว่าการเลือกนำเสนอ ของสื่อสร้างกระแสสังคม ผลจากข่าวโซเชียลในไทย

ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา เราได้เจอประเด็นหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเกมแคสเตอร์ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรงในหมู่เยาชน หรือการนำเสนอประเด็นที่สุดท้ายกลายเป็นการสร้างหรือกระตุ้นความเกลียดชังจนเกิดสถานการวุ่นวายบนโลกแห่งความจริงนอกจอ เวลาที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ความรับผิดชอบก็จะถูกโยนให้เป็นหน้าที่ของผู้รับข่าว หรือ Audience เอง ว่าไม่มีการแยกแยะ หรือมีพฤติกรรมที่ถูกชักจูงโดยปัจจัยอื่นที่เหนือการคิดวิเคราะห์ของตน

วันนี้เราจะมาดูกันว่าทำไม การโทษ Audience ว่าไม่รู้จักแยกแยะหรือไม่มี Litereacy สามารถทำได้แต่ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมดอยู่ดี เพราะสื่อเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องเลือกสรรเนื้อหา กลั่นกรอง และทำนายผลที่อาจจะตามมาจากการเลือก Content มานำเสนอด้วยเช่นกัน

ใครที่เคยเรียนเรื่องแนว ๆ Journalism ก็อาจจะเคยได้ยินทฤษฎีที่บอกว่าตัวสื่อนั้นทำหน้าที่เหมือนกับเป็น Gatekeeper หรือเป็นคนเฝ้าประตู เป็น Filter ที่คอยเลือกนำเรื่องราวต่าง ๆ มาบอกเล่า โดยถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยนักจิตวิทยาชื่อ Kurt Lewinซึ่งจริง ๆ จริง ๆ แล้วแนวคิดนี้นั้นอาจจะดูเก่า ๆ ซักนิด ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะมันพัฒนาขึ้นมาในยุคที่ Media นั้นยังเป็นในเชิง Mass อยู่ คือ Audience ไม่สามารถเลือกที่จะควบคุมว่าตัวเองอยากรับรู้อะไรเพราะสื่อมีไม่กี่ช่องทาง และเป็นการสื่อสารในระดับใหญ่ (ทุกวันนี้เป็นยุคของการเลือก Content จนเกิดเป็น Echo Chamber )

ประเด็นก็คือ แล้วเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา ที่ความรับผิดชอบถูกโยนให้เป็นหน้าที่ของผู้รับข่าวตรงนี้เราเอา แนวคิดเรื่อง Gatekeeper มาอธิบายได้อย่างไร ถ้าให้ลองวิเคราะห์ก็คือทุกวันนี้เป็นยุคที่เรื่องราวที่เกิดขึ้นถูกส่งผ่านกันต่ออย่างรวดเร็วผ่าน Social Media ที่ใครก็สามารถอัพโหลดอะไรขึ้นมาก็ได้ ซึ่งในช่วงแรกก็จะเกิด attention หรือความสนใจแค่ในกลุ่มกลุ่มหนึ่งก่อน แต่ด้วยโอกาสของ Social Media ที่จะรวมกลุ่มคนที่มี interest เหมือนกันให้มาอยู่ใกล้กันในทางออนไลน์เยอะกว่า (หรือลักษณะสังคมแบบเดียวกันที่บทสนทนาไปในทางเดียวกัน) ทำให้แค่คนหลักพันหลักหมื่น (เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศแล้ว) กลายเป็นว่าเรื่องนั้นถูกให้ความสนใจขึ้นมาซะงั้น เลยเกิดเป็นข่าวแนว ๆ Social เกิดขึ้น และเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “ชาวเน็ต” ซึ่งพอพูดว่าชาวเน็ตก็ไม่ได้บอก interest ย่อยว่าเป็นกลุ่มไหน กลายเป็นว่าคนก็เข้าใจว่าเป็นประเด็นใหญ่อีก

มีเหตุการณ์แบบเดียวกันเกิดขึ้น 100 เคส ทำไมเคสนั้นถึงถูกยกขึ้นมา

ดังนั้นปัญหาอยู่ที่กระบวนการได้มาซึ่งข่าว ที่มองตื้น ๆ ว่าการที่ประเด็นนั้นถูกจุดขึ้นมาบน Social Media ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนที่มาจากกลุ่มก้อนหนึ่ง กลายเป็นว่าเรื่องนั้นเป็นประเด็นใหญ่ที่ควรนำมาเสนอ เรื่องที่ “ไม่ต้องรู้ก็ได้” จึงถูกเลือกสุ่มมานำเสนอผ่านปรากฎการณ์เหล่านี้ ทั้งที่ความรุนแรงก็เกิดขึ้นทุกวัน ความขัดแย้งก็เกิดขึ้นทุกวัน และคนก็มีหัวร้อนกันทุกวัน แต่พอสื่อนำเรื่องมานำเสนอ ทำให้เกิดการวิจารณ์กันในขนาดกว้าง (ขึ้นกับขนาดของสื่อนั้น ๆ)

คำถามก็คือ ถ้ามีเหตุการณ์ใกล้เคียงกันเกิดขึ้น 100 เคส แต่มี 1 เคส ที่ถูกนำมานำเสนอ แล้วเหตุผลอะไรที่ทำให้เคสนั้นถูกนำขึ้นมา ความบังเอิญ ? หรือว่าสื่อเลือกแล้ว ก็ต้องถามอีกว่าเลือกอย่างไร ด้วยกระบวนการแบบไหน คอนเทนต์นั้นเกิดประโยชน์อย่างไร

ดังนั้นเราจะเริ่มเห็นความสำคัญของการทำ Gatekeeping หรือการเลือก Filter สิ่งที่จะนำมาเสนอนั้น ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณยานของสื่อเองด้วย และต้องมองในหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ใช่แค่ง่าย ๆ ว่า เรื่องนี้มีคนสนใจเยอะ (ซึ่งเยอะจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้) และประเด็นต่อมาก็คือเมื่อเรื่องนั้นถูกปล่อยออกมาแล้ว เราสามารถ Control บทสนทนาที่จะเกิดขึ้นได้หรือเปล่า

ในบทความเรื่อง ก็อป วาง แล้วให้เครดิต แบบนี้ผิดหรือไม่ ไขข้อสงสัยคนทำคอนเทนต์ออนไลน์ เราเคยแบ่งการทำคอนเทนต์ออกเป็น 2 กลุ่มง่าย ๆ ว่าคือ Curator และ Creator คนเลือกคอนเทนต์ หรือคนทำคอนเทนต์ ซึ่งการเป็น Curator ก็ไม่ใช่แค่การก็อปมาวางอย่างเดียว ในทางเดียวกัน การเป็น Curator ก็ไม่ใช่การอยู่ดี ๆ ก็แชร์อย่างเดียว แต่ต้องมีกระบวนการเลือกสรร ถามว่าเลือกสรรอย่างไร ก็เลือกสรรสิ่งที่เป็นไปตามแนวทางการทำคอนเทนต์ ซึ่งแต่ละ Media ก็จะมีเป้าหมายอยู่แล้วว่าทำคอนเทนต์ไปเพื่ออะไร เพื่อใคร

สุดท้ายแล้ว ความสำคัญมันอยู่ตรงที่ว่า การที่ประเด็นบางเรื่องกลายมาเป็นกระแสสังคมนั้น จะโทษ Audience อย่างเดียวก็ไม่ได้ แต่ก็เป็นความรับผิดชอบของคนทำคอนเทนต์เองด้วยเพราะแม้กระทั่งการนำเรื่องราวมานำเสนอ ก็มีส่วนในการควบคุมหรือสร้างกระแสสังคม หรือบทสนทนาที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นแล้ว หลาย ๆ สำนักทำคอนเทนต์ง่าย ๆ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “ข่าวโซเชียล” ซึ่งก็ไม่ได้บอกว่าไม่ดี แต่ถ้ากระบวนการหาข่าวมันได้มาง่ายแล้ว เราก็ควรจะต้องไปลงทุนลงเวลากับการคัดสรรเนื้อหาที่จะมานำเสนอบ้างก็ดีว่าสิ่งนั้นเกิดประโยชน์จริงหรือเปล่า ไม่ใช่แค่ใช้จำนวนไลค์แค่หลักพันหลักหมื่น มาตัดสินสิ่งที่คนทั้งประเทศควรจะได้รู้ โดยไม่ได้เข้าใจธรรมชาติของ Social Media

 

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save