สรุปประเด็นจาก iCreator Clubhouse : เทรนด์ Beauty Blogger ปี 2021 กับ Erk-Erk

สรุปประเด็นจาก iCreator Clubhouse เมื่อวันอังคารที่ 6 เมษายน 2021 กับ พบกับคุณ เอิ๊ก (Erk-Erk) บิวตี้บล็อกเกอร์ชื่อดัง ตัวแม่สายดีเทลประจำวงการความงามที่จะมาพูดคุยเกี่ยวกับเทรนด์ การเป็นบิวตี้บล็อกเกอร์ในปัจจุบัน และเรื่องราวในวงการบิวตี้บล็อกเกอร์ทั้งในปีนี้และอนาคต

วันนี้ RAiNMaker เลยสรุปคำทริก และคำแนะนำดีๆ สำหรับใครที่สนใจอยากจะเข้าสู่วงการบิวตี้บล็อกเกอร์ หรืออยากจะพัฒนาตัวเองในการเป็นบิวตี้บล็อกเกอร์ให้ดีขึ้นตามเทรนด์ในปี 2021 นี้ จะมีสาระสำคัญอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

เป็นบิวตี้บล็อกเกอร์ได้ยังไง?

  • เป็นคนถนัดการเขียน เริ่มเขียนไดอารี่ตั้งแต่มัธยมปลาย แล้วค่อยๆ ผันมาเป็นการเล่าเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ให้คนอื่นเลยกลายเป็นบล็อกเกอร์ จากนั้นค่อยพัฒนาการพูดทีหลัง มันเริ่มจากงานอดิเรกจนค่อยๆ สร้างเป็นอาชีพอิสระที่สร้างรายได้

งานประจำที่เคยทำ?

  • กราฟิกดีไซน์ มาร์เก็ตตีิง MC เลขา เรียกว่าผ่านมาเยอะ แต่สุดท้ายคิดว่าการทำธุรกิจให้คนอื่น มันดีไม่เท่ากับทำเอง เพราะทั้งเงิน และเวลาเป็นของเรามากกว่าเลยมาปักหลักกับอาชีพที่สร้างรายได้แบบนี้แทน

จุดเปลี่ยนตอนที่ออกจากงานประจำมาเป็นบิวตี้บล็อกเกอร์เต็มตัว?

  • ครั้งแรกมีแบรนด์ชวนไปงาน เราก็ตื่นเต้นและรู้สึกดีที่ได้เจอคนดัง เลยเป็นจุดเริ่มต้น แต่จริงๆ เริ่มเป็นบล็อกเกอร์จากการรีวิวของที่มีก่อน เอามานำเสนอในแบบของตัวเอง งานแรกเป็นคอลัมนิสต์ ได้ค่าจ้างงานแค่ 500 บาท แต่ตอนนั้นดีใจมากว่า 1 ปีที่ผ่านมาที่เราเขียนบล็อกมันมีคนเห็นค่าเราแล้ว
  • เพราะสมัยก่อนไม่ได้มีแพลตฟอร์มรองรับเยอะเหมือนปัจจุบัน ก็ต้องสิงบล็อก พันทิป jeban ต้องไปโผล่ในแพลตฟอร์มให้คนอ่านเห็นบ่อยๆ คนถึงจำได้
  • แรกๆ เขียนฟรี ด้วยความสนุก พอเริ่มมีคนมาติดตามก็ดีใจ เราต้องรู้สึกยินดีกับความสำเร็จของตัวเอง พอช่วงวัยที่ผ่านมาได้ร่วมงานกับแบรนด์ ก็ได้รับความไว้ใจจากแบรนด์มากขึ้น จากแค่เขียนบล็อกก็ได้เริ่มทำภาพ ถ่ายภาพ ออก Pocket Book ต่างๆ ได้ทำอะไรมากขึ้น
  • ที่สำคัญต้องอย่าท้อ ต้องทำต่อเนื่อง และต้องมีลายเส้นของตัวเองชัดเจน
  • ภาพรวมวงการบิวตี้บล็อกเกอร์ตอนนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
  • 1. Red Ocean (Nano Influencer / Micro Influencer) เหมาะสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นในวงการประมาณ 1-2 ปี ส่วนมากจะเป็นการรีวิวสินค้าที่เข้าถึง และจับต้องง่าย ไม่เน้นภาพลักษณ์ของคนรีวิวมาก มีคนติดตามประมาณ 1,000 คนขึ้นไป
  • จริงๆ ใครก็เป็นบิวตี้บล็อกเกอร์ได้ แค่ทำให้คนเห็นแล้วเกิดการบอกต่อ คนไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือชอบเรา เพราะเขาจะชอบเราที่รูปแบบการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้น่าซื้อน่าใช้ การมีคนตามไม่ถึงหมื่นไม่ได้แปลว่าเราจะไม่มีอิทธิพลต่อการซื้อ
  • ถ้าทำให้ตัวเองเป็น Niche Market เช่น กลุ่มคนที่เช็กส่วนผสมของครีม เป็นกลุ่มเล็กๆ ที่มีความฉลาดทางการเลือกซื้อ จะทำให้เราเจอคนที่มีคุณภาพ ทำให้อยากซื้อตาม และจะทำให้ปิดยอดขายได้ ไม่ได้ขึ้นกับยอดผู้ติดตามทั้งหมด ถ้าทำต่อเนื่องก็จะมีเอเจนซีเข้ามาหาเราเอง แต่อาจโดนกดราคาได้
  • ทุกวันนี้ก็มีระบบหางาน มีเว็บไซต์รีวิว ที่ทำงานเป็นระบบ มีค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือเป็นของแล้วแต่ผลิตภัณฑ์
  • 2. กลุ่มที่อยู่ในวงการมาสักพัก และมี Personal Brand หรือคาแร็กเตอร์ชัดเจน มีผู้ติดตามตั้งแต่ประมาณ 5 หมื่น – 1 ล้านขึ้นไป ต้องอยู่ในวงการมานานประมาณนึง ถึงจะสามารถสร้างเงื่อนไข หรือข้อต่อรองกับแบรนด์ในการรับรีวิวได้
  • ส่วนใหญ่แบรนด์ที่มาจ้าง มักเป็นสินค้าที่มีภาพลักษณ์ชัดอยู่แล้ว การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ซื้อในกลุ่มนี้ก็จะม่ีเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวด้วย เช่น ชอบตัวบล็อกเกอร์เลยซื้อตาม
  • ในกลุ่มนี้ผลิตภัณฑ์เป็นอะไรก็ได้ ตั้งแต่สิ่งที่แมสไปจนถึงสิ่งที่ไม่แมส และแบรนด์ส่วนมากที่มาจ้างจะค่อนข้างรายใหญ่กว่ากลุ่มแรก

เงื่อนไขการรับงานและการต่อรอง?

  • เราต้องบอกเงื่อนไขกับแบรนด์ และขอรายละเอียดส่วนผสมผลิตภัณฑ์เพื่อเช็กให้ละเอียด จากนั้นดูภาพลักษณ์แบรนด์ ดู Physical ต่างๆ เครดิตและข้อตกลงในการจ่ายเงิน
  • ต้องฝึกมีเงื่อนไขให้ชัดเจนตั้งแต่แรก ข้อเสียคืออาจกรองงานให้เหลือน้อยลง เนื่องจากเรามีเงื่อนไขเยอะ แต่จะเป็นผลดีในระยะยาวเพราะเราจะสามารถมีภาพลักษณ์ชัดขึ้น มีโอกาสได้ทำงานกับโปรมากกว่า และมีจุดยืนเป็นของตัวเอง
  • เด็กรุ่นใหม่ชอบพูดว่าบิวตี้บล็อกเกอร์มักพูดในสิ่งที่เขาสั่ง แต่จริงๆ ถ้าเราอยู่ในจุดที่เลือกได้แล้วเราจะไม่ต้องทำตามเขาสั่งเลย เพราะเราจะมีจุดยืนของตัวเอง
  • วิธีการคุยกับแบรนด์ อย่างแรกให้ถามถึงงานวิจัยที่สามารถนำมายืนยันผลิตภัณฑ์ได้ คุยเรื่อง Key Messages กันตรงๆ ว่าต้องการอะไร พอเรามีเงื่อนไข แบรนด์เราชัด และจะทำให้คุยกับแบรนด์ง่ายขึ้น ตกลงกันว่าถ้าแบรนด์ไม่มีหลักฐานตรงตามที่เราสงสัย ตอบคำถามเราไม่ได้ ก็ไม่รับ
  • ไม่ใช่แค่เราดูแบรนด์ แต่แบรนด์เองก็ดูเราเหมือนกันว่านิสัยเราตรงแบรนด์มั้ย เราทำตัวเองให้ชัดแล้วมันจะมีสินค้าที่มี Mood & Tone ใกล้เคียงเราเข้ามาเอง
  • ต้องเป็นตัวเองได้ในแบบที่มีความสุข ทำสื่อต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เน้นช่องทางหลากหลาย แล้วจะมีเอเจนซีหรือแบรนด์เข้ามาเอง หรือเข้าเว็บไซต์ช่วยหางาน
  • หรือถ้าอยากได้งานที่ใช่ อาจต้องสำรวจตลาด ดูว่าเรามีสไตล์แบบไหน พัฒนาต่อจนเป็นเอกลักษณ์ เราต้องทำการบ้านตลอดว่าเราสามารถทำได้ตรงตามเป้าที่เราตั้งไว้มั้ย มีวิเคราะห์ SWOT เพื่อดูจุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนา
  • บางคนอาจไม่สะดวกในการถ่ายคลิป อย่างเราตอนนั้นอยู่คอนโดไม่ค่อยมีที่ถ่ายเลยทำกรีนสกรีนเอา ที่สำคัญคือต้องหา Unique Selling Ponit ต้องชัด อย่างของคือ เราต้องดูแลตัวเองดี ข้อมูลแน่น และถูกต้อง ต้องนำเสนอข้อมูลซื่อสัตย์ต่อคนดูและแบรนด์
  • ที่ขาดไม่ได้คือต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนแต่ละกลุ่ม แต่ละสื่อ ดูความดีความไม่ดีของแต่ละที่แล้วเอามาปรับ ที่สำคัญต้องมีการสื่อสารต่อเนื่อง

แบรนด์มองหาบิวตี้บล็อกเกอร์ยังไง?

  • ดูที่วัตถุประสงค์ว่าต้องการอินฟลูเอนเซอร์มาเพื่ออะไร สร้าง Awareness หรือเพิ่มยอดขาย เป็นต้น ดูว่ามีคาแร็กเตอร์สอดคล้องกับแบรนด์มั้ย กลุ่มผู้ติดตามเขาเข้ากับกลุ่มผู้ติดตามของแบรนด์มั้ย
  • และต้องมีความเป็น 2 Ways Communication กับผู้ติดตาม ไม่ใช่ลงรีวิวลงขายแล้วจบ แต่เขาต้องเป็นกระบอกเสียงให้เราได้ เพื่อรีพรีเซนต์ความเป็นแบรนด์ สามารถนำเสนอเมสเสจตรงตามที่เราต้องการ เอาง่ายๆ คือต้องศึกษาคนๆ นั้นลงลึกก่อนเลือก
  • แต่ถ้าเน้นสร้าง Awareness หรือให้คนเห็นเยอะๆ แล้วเกิดการบอกต่อ ส่วนมากจะเป็นสินค้าที่แมสอยู่แล้ว ที่คนใช้ทั่วไป คนที่เลือกมาอาจไม่ต้องมีคุณสมบัติตามด้านบน แต่ก็ต่างกันไปตามวัตถุประสงค์
  • อาจจะจ้างคนที่มียอดผู้ติดตามประมาาณพันคนหลายๆ คน เพื่อให้คนบนโซเชียลเห็นบ่อยๆ จนเขาก็มาซื้อเอง
  • บิวตี้บล็อกเกอร์จะแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
  • 1. Trend Setter คือ คนที่มีภาพลักษณ์ที่ดีอยู่แล้ว อาจจะแค่ไทอินของคนก็อยากใช้ หรืออีกแบบคือโพสต์แค่ของแต่ไม่มีหน้าตาเข้ามาช่วย เพราะฉะนั้นใครบอกว่าอยู่ตรงนี้ต้องมี Beauty Standard ต้องบอกเลยว่าไม่เสนอไป
  • 2. Detail Teller สายรีวิวละเอียด เน้นข้อมูลแน่น มีบอกส่วนผสมต่างๆ แบบรู้ลึกรู้จริง
  • 3. Daily User ของใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องใช้ความเข้าใจเยอะ เน้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ง่าย
  • ซึ่งเราสามารถเป็นบิวตี้บล็อกเกอร์ได้ทั้ง 3 อย่าง ไม่ต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ต้องมีเมนหลัก และตั้งให้มั่นให้ลึกไปในสายนั้นเลย

ความยากและคำเตือนสำหรับบิวตี้บล็อกเกอร์?

  • 1. เวลาจะโพสต์ต้องคิดก่อนว่าจะไม่เสียใจในภายหลัง
  • 2.น้อมรับคำชม เลือกรับฟังการติเพื่อก่อ คอมเมนต์ไหนที่พูดเกี่ยวกับเราแก้ไขไม่ได้ก็ต้องปล่อยแล้วไปโฟกัสเสียงคนที่ให้เกียรติ ติเพื่อสร้างสรรค์ และนำมาพัฒนาแทน
  • 3.เรียนรู้เรื่องภาษี การลงทุน เพราะเป็นอาชีพที่รายได้ไม่เท่ากันทุกเดือน ควรเรียนรู้เรื่องการเอาเงินไปใช้ ไปลงทุนกับสิ่งต่างๆ ว่าจะเอาเงินไปลงที่ไหนถึงจะได้ผลตอบรับที่คุ้มค่า และควรมีเงินสดเก็บไว้ระดับนึงเผื่อฉุกเฉิน เนื่องจากเป็นอาชีพที่เงินเข้าไม่แน่นอน

ช่วง Q&A

อยากเป็นบิวตี้บล็อกเกอร์แต่อยู่ต่างจังหวัดและไม่ได้เป็นคนสวย?

  • เราสามารถเป็นบิวตี้บล็อกเกรอ์ได้โดยที่ไม่ต้องมีหน้าตาเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจจะนำเสนอผลิตภัณฑ์โดยการใช้เสียง หรือแฮนด์โมเดลก็ได้ มันอาจจะเรื่อง Beauty Standard คนสวยที่ได้รับ Privillage
  • แต่ให้ดูที่พื้นฐานของคนที่คล้ายเรา คนที่มีสเน่ห์ไม่ใช่แค่ที่หน้าตา อาจจะมีสเน่ห์ที่ความมั่นใจก็ได้ พยายามหาจุดดีแล้วพัฒนา จะทำให้เรามีความสุขในการทำงาน โฟกัสแค่เราแค่นั้นพอว่าเราอยากเป็นแบบไหนก็ให้ไปทางนั้น โพสต์โดยที่ไม่ต้องใช้หน้าก็ได้

เทรนด์บิวตี้ในปี 2021?

  • 1. กลุ่มคนที่คาดหวังในรายละเอียดและส่วนผสมของสกินแคร์จะมีมากขึ้น คนมองหา Niche Market มากขึ้น
  • 2. เรื่องการแต่งหน้า การทำการตลาด เช่น Trend Setter เหมือนที่ศรีจันทร์เอา Personal Color มาทำการตลาดเพื่อโปรโมตลิปคอลเล็กชันใหม่
  • 3. การทำสีผมที่ปัจจุบันเน้นแบบที่มีแอมโมเนียน้อยลง รักษาสุขภาพเส้นผมมากยิ่งขึ้น
  • 4. การทำเล็บ สปา ต่อขนตา นวด ที่มีเทคนิดต่างๆ เพิ่มเข้ามามากขึ้น ต้องคอยติดตามและจับธุรกิจต่างๆ มารีวิว
  • 5. เทคโนโลยีความงาม พวกเลเซอร์ โบท็อกซ์ ร้อยไหม มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามามากขึ้น อาจติดตามได้โดยไปถามและพูดคุยกับแพทย์ผิวหนังเพื่อนำมาเล่า
  • 6. เทรนด์ศัลยกรรมที่เน้นทำแบบธรรมชาติมากขึ้น
  • 7. วิตามินต่างๆ และเทคโนโลยีชะลอวัย

การเริ่มเป็นบิวตี้บล็อกเกอร์?

  • เลือกรีวิวจากของที่แมสก่อน แล้วค่อยบุกทุกสื่อ ทุกแพลตฟอร์มที่มี
  • คุณสมบัติ 3 สิ่งที่บิวตี้บล็อกเกอร์ควรมี
  • 1.เป็นตัวของตัวเอง หรือสิ่งที่ตัวเองอยากเป็น
  • 2. ควรทำหลายสื่อ เพราะแต่ละสื่อมีนิสัยของตัวเอง เราอาจจะโดดเด่นจากในแพลตฟอร์มนึงได้ และควรต้องมีคอมมูนิตี้ในเฟซบุ๊ก เพื่อหาคนมาร่วมแชร์ด้วยจะได้เกิดเป็นคอมมูนิตี้ขึ้นมา
  • 3. พัฒนางานตัวเองตลอด ทั้งเทคนิคพูดเขียน ฝึกมองมุมอื่นนอกเหนือจากบรีฟของแบรนด์ เพื่อที่จะได้เป็นคนที่ไม่ธรรมดา นอกจากแบรนด์จะชอบแล้ว วิธีนี้ยังทำให้เราเก่งในการใส่ใจรายละเอียดและนำเสนอได้ดีขึ้นอีกด้วย

และนี่ก็เป็นเบื้องหลังและเทคนิคต่างๆ ของบิวตี้บล็อกเกอร์ตัวจริงในวงการอย่างคุณเอิ๊ก ที่ได้มาแชร์ให้ทุกคนฟังในวันนี้ ยังไงก็อย่าลืมติดตาม iCreator Clubhouse ทุกวันอังคาร และวันพฤหัส เวลา 21.00 – 22.00. น. สัปดาห์หน้าแขกรับเชิญจะเป็นใคร มาคุยในหัวข้ออะไร รอติดตามกันได้นะคะ!

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save