สรุปประเด็น iCreator Clubhouse : เจาะลึก The MATTER สื่อออนไลน์ขวัญใจคนรุ่นใหม่

สรุปประเด็นจาก iCreator Clubhouse เมื่อวันอังคารที่ 1 เมษายน 2021 กับ คุณธัญ-ธัญวัฒน์ อิพภูดม บรรณาธิการข่าวแห่ง The MATTER ที่เป็นทั้งนักเขียน และโฮสต์พอดแคสต์ Untitled Case กับ ‘เจาะลึก The MATTER สื่อออนไลน์ขวัญใจคนรุ่นใหม่’ ที่จะชวนมาเจาะลึกถึงการทำคอนเทนต์ในแบบ The MATTER ที่ถูกใจคนคนยุคใหม่บนโลกออนไลน์

วันนี้ RAiNMaker เลยสรุปคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับการทำสื่อออนไลน์ในแบบของคุณธัญ และ The MATTER มาฝากกันค่ะ

  • เมื่อก่อนสมัยที่พี่แชมป์–ทีปกร วุฒิพิทยามงคลอยู่ ก็เข้ามาทำข่าว จากนั้นก็ได้มาเป็นบรรณาธิการบริหารภาพรวมเนื้อหาทั้งหมดของ The MATTER
  • The Matter จะแบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ขา คือ ทีมข่าว และทีมคอนเทนต์ ส่วนทีมอื่นๆ ก็จะมีทีมวิดีโอ ทีมกราฟิก และทีมสเตชัน ที่จะดูแลการจัดรายการพอดแคสต์ต่างๆ

แกนหลักของ The MATTER คือ?

  • เราพยายามมองข่าว หามุมข่าวที่สามารถดึงให้คนดูรู้ว่ามันสำคัญยังไงกับตัวคุณ พยายามตอบคำถามของสังคมให้ได้ตามที่คนดูต้องการคำตอบ ซึ่ง The MATTER อยากเป็นหนึ่งในทางเลือกที่จะอธิบายให้คนดูฟัง และนี่คือแก่นหลักของเรา
  • สำหรับ Mood & Tone จะขึ้นอยู่กับแต่ละข่าวว่าจะใช้น้ำเสียงแบบไหนในการสื่อสารออกไป

ถ้าเทียบ The MATTER เป็นคน คาแร็กเตอร์จะเป็นยังไง?

  • เป็นเด็กเกือบหลังห้อง แต่ก็ไม่ใช่เด็กที่นั่งกลาง หรือหน้าห้อง เป็นเด็กที่มีความสนใจในการเรียนอยู่ แต่ก็กี่งร้ายๆ กับเด็กเรียน เหมือนเล่นๆ เรียนๆ แสบๆ หน่อย
  • The MATTER อยากเป็นคนที่พูดจารู้เรื่อง ทำเรื่องเนิร์ดให้คนเข้าใจ เราคิดตลอดว่าจะเปลี่ยนข้อมูลให้คนเข้าถึงได้ยังไง คือ เราต้องรู้ลึก สื่อสารให้ถูกต้อง นึกภาพเหมือนเป็นวงกลม 2 วงที่ intersect กันระหว่างสิ่งที่เราอยากพูด และสิ่งที่คนอื่นอยากรู้ 

กระบวนการทำงาน?

  • หลักๆ ก็จะมีประชุมตอนช่วงเที่ยง มานั่งโยนประเด็นกันว่าจะทำอะไรบ้าง ในสัปดาห์นี้จะมีข่าวอะไรบ้าง ต้องดูความสำคัญ ดูวิธีการสื่อสาร ที่สำคัญต้องเร็ว และทำให้ต่าง ทีมงานทุกคนค้องแสตนด์บายแต่ละวัน เผื่อมีเหตุการณ์ สถานการณ์อะไรที่เกิดขึ้น หรือเกิดเรื่องที่คาดเดาไม่ได้ ก็ต้องปรับตัวตลอดเวลา จะต้องมานั่งคุยกัน เพราะฉะนั้นเวลาการทำงานอาจไม่ได้เป็นเวลาชัดว่าจะต้องมาคุยกันวันไหนเวลาไหน

เรื่องที่ The MATTER ไม่ค่อยทำ?

  • พวกข่าวอาชญากรรม และข่าวเชิงธุรกิจ ส่วนมากจะเลือกทำข่าวที่ผู้คนสนใจและเข้าถึงได้ แล้วก็ต้องขึ้นกับสถานการณ์ ณ ตอนนั้นด้วย ถ้ามันเกี่ยวข้องกับความสนใจของคนในสังคมมากๆ ก็จะทำ

ขึ้นชื่อว่าเด่นเรื่องข่าวการเมืองมาก มีวิธีการทำหรือการจัดการยังไงบ้าง?

  • เมื่อก่อนก็ไม่ได้เด่นเรื่องการเมืองขนาดนั้น แต่ The MATTER จะมีจุดยืนชัดเจนว่าเราจะไม่เล่นที่ตัวบุคคล ไม่เล่นข่าวตีปิงปอง ที่เป็นการตอบโต้กันไปมาระหว่างนักการเมือง แต่จะมองที่ภาพใหญ่เชิงนโยบาย หลักการ หรือโครงสร้างของสังคม การเมืองแทนมากกว่า
  • เมื่อทำเรื่องการเมืองเยอะก็กลายเป็นต้องทำงานด้วยความท้าทายมากขึ้น ต้องพูดยังไงไม่ให้คนเกลียดชัง และต้องไม่ไปล้มความเป็นมนุษย์คนอื่นด้วย ในเชิงกฎหมายเองเราก็ต้องระวัง และปรับให้เหมาะสมในการนำเสนอแต่ละข่าว
  • เนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างของไทยมีมากขึ้น ผู้คนเริ่มเห็นความสำคัญของปัญหาเหล่านี้ เราไม่จำเป็นต้องอยู่ฝ่ายไหน แต่การที่เราออกมาทำข่าวที่สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง ก็เพื่อต้องการแสดงอะไรบางอย่าง ที่อาจยังไม่ได้เห็นผลในเร็วๆ นี้ แต่เราคงรู้สึกผิดถ้าทำงานข่าว แต่ไม่พูดถึงเรื่องโครงสร้างอะไรเลย

คอนเทนต์ที่ประทับใจมากที่สุด?

  • ข่าวเชิง Data ที่เอาสิ่งที่เกิดในสังคมมารายงานเป็นข้อมูล อย่างเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วที่ พี่เสกโลโซมาไลฟ์บ่อยๆ ตอนนี้คิดว่าจะทำข่าวยังไงดี เลยคิดว่าการที่พี่เสกมาไลฟ์เยอะแบบนี้มันจะส่งผลกับร่างกายอะไรบ้าง บวกกับตอนนั้นมีประเด็นที่หลายคนคิดว่าพี่เสกมีความซัฟเฟอร์อะไรอยู่ถึงมาไลฟ์ถี่และนานขนาดนั้น ผมเลยนั่งดูไลฟ์พี่เสกตลอดทั้งปี ดูว่าไลฟ์กี่ชั่วโมง ยาวสุดเท่าไหร่ แล้วสรุปออกมาเป็นอินโฟกราฟิก
  • อีกอันทำ Data การ์ตูนโคนัน ที่มันไม่จบซักที เลยตั้งทีมเฉพาะกิจขึ้นมาเพื่อดูโคนัน 100 เล่ม แล้วแตกประเด็นออกมาว่าการ์ตูนมันสะท้อนสังคมญี่ปุ่นยังไงบ้าง ใครเป็นเหยื่อบ้าง อาชญากรส่วนใหญ่ทำอาชีพอะไร การฆ่าแบบไหนที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นได้บ้าง เราแบ่งทีมกันอ่านแล้วมาสรุป ตั้งตาราง Excel ขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนเข้ามากรอกข้อมูลต่างๆ จากเรื่องที่อ่านเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ แต่ก็ถือว่าเป็นอะไรที่สนุกดี
  • นอกจากนี้ยังมีข่าวเชิง Culture เมื่อก่อนในออนไลน์นอดเอนเกจอาจจะไม่มากเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันคนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น ในปีนี้ก็คิดว่าอยากพูดถึงการศึกษาไทย เคยคิดอยากพูดถึงระบบการศึกษาที่ทำร้ายนักเรียนไทย
  • มีหลายงานที่มีการวางแผนระยะยาวเป็นรายปีก็มี

จุดกำเนิดรายการใหม่กับคุณจอมขวัญ?

  • เคยทำข่าวด้วยกันมาก่อน เลยคุยกันมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วว่าถ้าพี่ขวัญออกจากการเป็นนักข่าวแล้วมาทำงานด้วยกันนะ สุดท้ายเลยจัดรายการ MTJQ ขึ้นมา
  • ชื่อรายการมีที่มาที่ค่อนข้างซับซ้อนมาก อ่านว่า ‘มาเถอะจะคุย’ มาจากตัวย่อของชื่อภาษาอังกฤษระหว่าง The MATTER กับ Jomquan เลยเป็น MTJQ แล้วมันดันไปคล้องกับคำว่ามาเถอะจะคุยได้พอดี
  • เนื่องจากเป็นรายการแบบรายอาทิตย์ ก็จะต้องมีโปรดักชันที่จริงจังในระดับนึง ค่อนข้างเป็นกองใหญ่ โชคดีที่เรากับพี่ขวัญมีจุดร่วมกัน คือ พี่ขวัญอยากทำสิ่งที่ทำไม่ได้ในทีวี เช่น แขกรับเชิญบางคนก็เชิญมายากในทีวี แต่ถ้าบางคนเชิญมาออนไลน์ได้ง่ายมาก และเหมาะกับแพลตฟอร์มออนไลน์มากกว่า เป็นต้น
  • ที่สำคัญโลกออนไลน์จะทดลองอะไรก็ได้ ไม่เหมือนกับทีวี คือ ประเด็นไม่ต้องจริงจังเหมือนในทีวีขนาดนั้นก็ได้ สมมติมีข่าวคุกคามทางเพศในสังคมไทย ถ้าเป็นข่าวทีวีคงจะไปสัมภาษณ์ตำรวจ เหยื่อ แค่นั้น แต่พอเป็นในออนไลน์จะสามารถพูดถึงภาพรวมของปัญหาในสังคมได้กว้างขึ้น เจาะลึกว่าปัญหานี้มันมีเยอะแค่ไหน สามารถพาคนดูไปได้ไกลกว่าในทีวี
  • อย่างเรื่องการสอบ TCAS ที่เคยทำไป ประเด็นที่น้องๆ อยากให้เลื่อนสอบ ถ้าเป็นทีวีก็คงเขิญเด็กนักเรียนมาพูดคุยและก็จบ แต่พอเป็นออนไลน์ต้องไปให้ไกลกว่านั้น ต้องรับฟังความคิดเห็นจากน้องๆ ตอนนั้นเราเชิญอาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬามา เพื่อพูดคุยในประเด็นที่มองลึกไปถึงโครงสร้าง ระบบ ปัญหาในภาพรวม
  • ด้วยความที่ทีวีมีระยะเวลาที่จำกัด และมีแอร์ไทม์น้อยเลยพาประเด็นไปได้ไม่ไกล แต่พอเป็นออนไลน์จะไปไกลแค่ไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับคนจัด จะจัดรายการยาวแค่ไหนได้ พร้อมเผยแพร่เมื่อไหร่ก็ค่อยลง

โมเดลการทำรายได้และการดีลกับลูกค้า?

  • โฆษณาเป็นรายได้หลักทางนึงของเรา อันดับแรกต้องพยายามคุยกับลูกค้าว่าแบรนด์เห็น value อะไรใน The MATTER และเราเหมาะกับลูกค้ายังไง เวลาเราทำบทความโฆษณาให้ลูกค้า เราจะไม่คิดว่ามันเป็นแค่ Advertorial แต่มันต้องมีประเด็นความรู้อะไรที่ทำให้คนดูอ่านได้พร้อมกับการโฆษณา แต่คนอ่านก็จะสามารถรู้ได้อย่างชัดเจนว่าบทความนี้เป็น Branded Content หรือ Advertorial
  • กระบวนการคิดงานคล้ายเอเจนซี คือไม่ได้มองแค่ผลประโยชน์ แต่มองสภาพแวดล้อมด้วย สมมติมีสินค้าเป็นซุปไก่จะมาขอให้เราทำ Advertorial ให้เราก็อาจจะทำออกมาในรูปแบบเขียนให้กำลังใจเด็กที่กำลังเตรียมสอบ เพื่อมอบกำลังใจให้เด็กๆ เป็นแรงซัพพอร์ตที่แฝงโฆษณาไป และในบทความก็จะระบุชัดเจนอยู่แล้วโดยการเขียน The MATTER x กับแบรนด์นั้นๆ

บาลานซ์งานลูกค้ายังไง?

  • การพูดคุยกันสำคัญที่สุด ตัวสำนักข่าวจะมองเห็นเทรนด์ และเข้าใจคนอ่านของเราดีที่สุด ถ้าเอาบทความที่ไม่ตรงกับสไตล์เรา หรือคนอ่านของเราก็ไม่ได้ ต้องให้แบรนด์และตัวเราเองมีเคมีตรงกัน ค่อยๆ ปรับกันได้ เราคิดว่าเราเข้าใจคนอ่าน รู้ว่าคนอ่านชอบอะไร ถ้าสิ่งที่แบรนด์มีมันเข้ากับเรา และเชื่อมถึงคนอ่านได้ ก็โอเค

แบ่งทีมในการทำงานลูกค้ากับคอนเทนต์มั้ย?

  • แยกทีมชัดเจน มีทีมสำหรับทำงานลูกค้า ทีมทำข่าว และทีมทำคอนเทนต์ ซึ่งทีมทำงานลูกค้าก็จะมีทีมกราฟิกเองเลย แต่ก็ใช่ว่าทีมคอนเทนต์จะมาเขียน Advertorial ไม่ได้ ก็มีช่วยงานกันบ้าง เพราะบางทีลูกค้าบางคนก็ขอเลือกนักเขียนเลยก็มี

ทีมงาน The MATTER เป็นแบบไหน ทำงานกันยังไง?

  • ส่วนใหญ่อายุประมาณ 25 – 27 เป็นเด็กรุ่นใหม่ การทำงานก็จะมานั่งคุยกัน บางทีเราอาจตกข่าวไปบ้าง พอมีน้องๆ ที่เสพข่าวก็จะรู้ว่าโลกออนไลน์กำลังคุยอะไรกันอยู่ ผมจะเป็นคนคอยไดเร็กน้อง หยิบแก่นมามาให้น้องๆ ลองทำ
  • ถ้ามอง The MATTER เป็นคน น่าจะเป็นคนที่มีคาแร็กเตอร์มันส์ ซ่า และออกกวนๆ ร้ายๆ หน่อย

ถ้าจะรับเด็กใหม่สักคน จะมองที่อะไร?

  • อย่างแรกต้องเป็นคนที่ติดตามข่าวเป็นทุนเดิม เวลาสัมรับเด็กจบใหม่ หรือคนเปลี่ยนงาน ก็จะดูตุณสมบัติงานกับเคมี และนิสัยเป็นหลัก ดูว่าถ้าเขาเข้ามาจะมาอยู่ตรงไหนของ The MATTER ได้บ้าง เพราะไม่อยากให้ใครเข้ามาแล้วต้องซัฟเฟอร์กับการเข้ากับสังคมไม่ได้ ในฐานะบก.เรารับเขามาก็ต้องรับผิดชอบ ไม่อยากให้เข้ามาแล้วเข้ากับคนในทีมไม่ได้ เพราะต้องทำงานด้วยกันหลายปี
  • นอกจากนี้ก็ต้องเป็นคนที่พร้อมที่จะอินกับสิ่งนั้น รู้ข่าวเยอะ และต้องมีความร้ายๆ บ้าๆ บอๆ เหมือนคนในทีม เคยถามตอนสัมภาษณ์น้องคนนึงว่าน้องเป็นคนกวนตีนมั้ย ถ้าเห็นความกรุ้มกริ่มก็แสดงว่าคนนี้ใช่ มันจะเป็นอารมณ์ของคนบรรลือ

คำแนะนำสำหรับครีเอเตอร์ยุคนี้?

  • อาจตะดูซ้ำๆ แต่ต้องทดลองทำเรื่อยๆ อย่าไปกลัว สังเกตจากหลายคนจะไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร เพราะฉะนั้นเลยต้องลองทำถึงจะได้รู้ ดูว่าเราอยู่มือกับอะไรมากสุด
  • ผมเลยเน้นการโยนงานให้น้องได้ลองทำหลายอย่าง จากนั้นน้องก็ต้องสังเกตกับตัวเองว่าเราโอเคกับอะไร บางทีอาจเริ่มจากการรู้ว่าตัวเองไม่ชอบอะไรก่อนก็ได้ พอตัดชอยซ์ออกไปเรื่อยๆ ก็จะรู้ว่าตัวเองชอบอะไรในที่สุด
  • ที่สำคัญอย่าใจร้ายกับตัวเอง อย่าโหดกับตัวเองเกินไป บางทีเรารู้ว่าเราถนัดหรือชอบอะไรมากๆ แต่พอไปเทียบกับคนอื่น กลับทำให้คิดว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ได้ยิ่งใหญ่เท่าคนอื่น ซึ่งมันทำให้เราบั่นทอน บางทีการเปรียบเทียบก็ทำให้เราเจ็บปวดกับสิ่งที่มีอยู่ คิดเสมอว่าทุกคนมีดีในแบบของตัวเอง สุดท้ายแล้วเราแทบไม่ต้องไปสนใจคนอื่นขนาดนั้น เปรียบกับตัวเองว่าอย่างน้อยก็ดีกว่าตัวเองเมื่อวานดีกว่า

ฝากงานผลงาน The MATTER

  • ตอนนี้ก็ยังคงพยายามทำหลายๆ อย่างเรื่อยๆ พยายามทำในสิ่งที่ครอบคลุมสิ่งที่สำคัญกับสังคมที่สุดเท่าที่ทำได้ สิ่งที่จำเป็นกับสังคมก็จะยังคงทุ่มเทต่อไปเรื่อยๆ ครับ ส่วนผลงานอื่นๆ ก็ติดตามได้ทางเฟซบุ๊ก ยูทูบ และพอดแคสต์ของ The MATTER

และนี่ก็เป็นเบื้องหลังการทำงานและแนวคิดในแบบของ The MATTER ที่คุณธัญได้มาแชร์ให้ทุกคนฟังในวันนี้ ยังไงก็อย่าลืมติดตาม iCreator Clubhouse ทุกวันอังคาร และวันพฤหัส เวลา 21.00 – 22.00. น. สัปดาห์หน้าแขกรับเชิญจะเป็นใคร มาคุยในหัวข้ออะไร รอติดตามกันได้นะคะ!

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save