‘Social Media Benchmarks’ คือ ตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกลยุทธ์การทำคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย พร้อมเปรียบเทียบปต่ละแพลตฟอร์มได้ว่า โพสต์ที่ไหนช่วยให้ยอดเอนเกจเมนต์พุ่งได้บ้าง เพราะท่ามกลางการแข่งขันของแพลตฟอร์ม อัลกอริทึม และจำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้คนที่ดูอย่างเดียวแต่ไม่สร้างเอนเกจ (silent viewers) ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ครีเอเตอร์ และแบรนด์ต้องอัปเดตอยู่เสมอ RAiNMaker เลยจะมาอัปเดตให้ทุกคนไปเตรียมกลยุทธ์รับมือกับปี 2025 กัน!
โดยทาง socialinsider ได้มีการวิเคราะห์ Social Media Landscape 2025 ที่มีการแข่งขันดุเดือดมากขึ้น ทำให้ครีเอเตอร์ และแบรนด์ต้องประเมินการปฏิบัติ (Performanc) ในแต่ละแพลตฟอร์มเพื่อทำความเข้าใจให้มากที่สุดว่าผู้คนยุคนี้ให้ความสนใจกับอะไร
และกว่าผลสำรวจของผู้คนกว่า 125 ล้านคนที่โพสต์ลงโซเชียลมีเดียระหว่างปี 2023 ถึง 2024 ก็ทำให้เข้าใจในอนาคตของปี 2025 มากขึ้น ตั้งแต่ความแตกต่างของแพลตฟอร์ม ความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย และวิธีการเตรียมตัวที่ดีกว่าในการสร้างกลยุทธ์รับมือ
ซึ่ง Social Media Benchmarks 2025 ที่จะแชร์ในวันนี้ จะมีทั้งการวิเคราะห์ Engagement rate, Impression Likes, Comments, Shares และความถี่ในการโพสต์บน Facebook, Instagram, TikTok และ X ที่จะทำให้ได้ Return on Investment (ROI) กลับมาอย่างคุ้มค่าที่สุด
Followers
Rate per post by Followers
- TikTok: 2.50%
- Instagram: 0.50%
- Facebook: 0.15%
- X: 0.15%
Engagement rate นับเป็นมาตรฐานวัดสำคัญสำหรับประสิทธิภาพของคอนเทนต์มากที่สุด เพราะสามารถสะท้อนได้เลยว่า เหล่าผู้ใช้มี Interact กับโพสต์ผ่านการกด Likes, Comments, Shares หรืออื่น ๆ
โดยในปี 2025 ยอด Rate per post ที่อ้างอิงมาจากยอดผู้ติดตาม แพลตฟอร์มอย่าง TikTok นับว่ามีความมั่นคงเรื่อง ‘Organic engagement’ มากที่สุด ด้วยยอดเอนเกจเมนต์ค่าเฉลี่ยที่ 2.50%
เพราะอัลกอริทึมของ TikTok มักจะมีการแนะนำคอนเทนต์ที่ยอดเอนเกจเมนต์สูงมาให้เห็นหน้าฟีดเสมอ ทำให้คอนเทนต์เหล่านั้นมักจะขับเคลื่อนยอด Conversions และยอด Share ได้ดีเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น
ในขณะที่ยอด Engagement rate ของ Instagram นั้นตกลงไปกว่า 28% ในช่วงปีต่อปีมานี้ โดย Rate per post จะอยู่ที่ 0.50% เพราะผู้คนมักจะเห็นคอนเทนต์หน้าฟีดแล้ว แต่ไม่ค่อยมีการ Interact เกิดขึ้น
อีกทั้งอัลกอริทึมของ Instagram ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงโพสต์ได้หลากหลาย ทั้งหน้าฟีด หน้า Grid โปรไฟล์ หรือสตอรี และ Reels มากกว่าการ Interact เพื่อมีส่วนร่วมกับโพสต์ด้วย
ส่วนฝั่ง Facebook และ X ยังคงติดอยู่กับกับดักของยอด Engagement rate ที่ 0.15% ในปี 2025 ก็มีวี่แววเพิ่มขึ้นทีละเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ยอดเอนเกจเมนต์ขึ้นน้อยกว่า TikTok และ Instagram ไปด้วย ทำให้การหวังยอด Organic engagement ยากที่สุดในบรรดาแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
The Major Platform for Engagement
ในปัจจุบันแพลตฟอร์มอย่าง TikTok ถือว่ามีประสิทธิภาพเรื่องยอด Organic engagement มากที่สุด ส่วน Instagram ก็กลายเป็นแพลตฟอร์มที่โฟกัสยอด Reach เยอะที่สุด หากครีเอเตอร์ หรือแบรนด์ไหนมีเป้าหมาย (goals) อยากให้ยอดเอนเกจเมนต์พุ่ง การทำคอนเทนต์บน Instagram อาจจะไม่พอ เพราะต้องรวมการมีช่อง TikTok เข้าไปด้วย
ส่วน Facebook และ X อาจะจะยังมีคุณค่าอยู่สำหรับครีเอเตอร์ หรือแบรนด์บางกลุ่ม แต่ปัจจุบันการใช้จ่ายเพื่อสมัครสมาชิกเพิ่มเติมจะช่วยให้ทำอะไรได้เยอะขึ้นกว่าเดิม ทำให้คอนเทนต์แบบ Organic Engagement กลายเป็นเรื่องยากขึ้น
กลยุทธ์บูสต์ยอดเอนเกจเมนต์
- กระจายกลยุทธ์ในการทำคอนเทนต์ให้หลากหลาย ตั้งแต่บทความ, Stories, Video หรือ Newsletter
- TikTok เปิดรับการมีส่วนร่วมบนหลายแพลตฟอร์มผ่านทั้ง YouTube Shorts และ Instagram Reels เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของคอนเทนต์แบบ Cross-post
- เพิ่มช่องทางให้ TikTok และ Instagram กลายเป็นแพลตฟอร์มหลัก เพื่อขับเคลื่อนยอดเอนเกจเมนต์ และการรับรู้ (Awareness)
- หาวิธีเพิ่มยอดเอนเกจเมนต์ที่หลากหลายบน Instagram ทั้งบนโพสต์แบบ Carousels, Reels และ Stories ที่มีฟังก์ชัน Interactive ให้เล่น อย่างโพล ควิซ และ Q&A ได้ในโพสต์เดียว
- สร้างกลยุทธ์รองรับ และบาลานซ์ทั้งคอนเทนต์แบบ Organic engagement และ Paid content เพื่อเพิ่มการมองเห็นมากขึ้น
Likes
Average Likes per post
- TikTok: 3092
- Instagram: 395
- Facebook: 155
- X: 40
การ Like เป็นการ Interact ที่ผู้ใช้ใช้เวลาน้อยที่สุดเมื่อต้องการมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ และเป็นตัวชี้วัดได้ดีว่าคอนเทนต์เหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะการส่งผลผ่านความรู้สึก (Sentimental)
ซึ่ง TikTok มียอดเฉลี่ยยอด Like ต่อโพสต์มากกว่า Instagram 9 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2023 ถึง 30% และทิ้งระยะห่างจากค่าเฉลี่ยของแพลตฟอร์มอื่น ๆ ค่อนข้างไกลด้วย แต่ฝั่ง Instagram ก็มีการกระตุ้นให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนกันผ่าน DM (Direct Messgaes) มากขึ้น
Comments
Average Most Comments
- TikTok: 66
- Instagram: 24
- Facebook: 17
- X: 1
Comments นับเป็นตัวชี้วัดที่มาจากความพยายามในการมีส่วนร่วมของผู้คนมากที่สุด เพราะใช้เวลามากกว่าการกด Like และหากคอนเทนต์ไหนมีอัตราการคอมเมนต์สูง แสเงว่าประสบความสำเร็จในการกระตุ้นการมีส่วนร่วม หรือเชื่อมโยงทางความรู้สึกสูง
ในปี 2025 ก็ยิ่งเห็นได้ว่า TikTok เป็นผู้นำเรื่องคอมเมนต์ท่ามกลางแพลตฟอร์มทั้งหมดอีกครั้ง โดยโพสต์ TikTok เฉลี่ยได้รับความคิดเห็น 66 รายการ ซึ่งเพิ่มขึ้น 73% เมื่อเทียบเป็นรายปี เรียกได้ว่ากระตุ้นทั้งการสร้างคอนเทนต์จากครีเอเตอร์หรือแบรนด์ และกระตุ้นการคอมเมนต์ของผู้ใช้ไปพร้อม ๆ กัน
ส่วน Instagram ก็แข็งแกร่งตามมา โดยมีความคิดเห็นเฉลี่ย 24 ความคิดเห็นต่อโพสต์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 33% จากปีก่อน และแม้จะไม่เท่า TikTok แต่ก็ถือว่าเพิ่มการกระตุเนบทสนทนาได้ดี และยืดหยุ่นขึ้น
แต่ฝั่ง Facebook มียอดคอมเมนต์ลดลงจาก 20 ความคิดเห็นต่อโพสต์เมื่อปีที่แล้วเหลือ 17 ความคิดเห็นในปี 2024 และคาดว่าจะลดลงอีกในปี 2025 เพราะผู้คนหันมาโต้ตอบกันผ่านแชต หรือกลุ่มที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
และ X จาก 20 ความคิดเห็นต่อโพสต์เมื่อปีที่แล้ว ก็เหลือเพียง 17 ความคิดเห็นในปี 2024 โดยมีความคิดเห็นเกือบเป็นศูนย์ต่อโพสต์โดยเฉลี่ย เพราะเอนเกจเมนต์ส่วนใหญ่บน X มาจากการรีโพสต์, รีพลาย และโควทอย่างรวดเร็วตามการอัปเดตแบบเรียลไทม์หน้าฟีดที่ไหลไปเรื่อย ๆ
Average Shares post
- TikTok: 170
- Instagram: 41
- Facebook: 13
- X: 1
ความสามารถในการแชร์ของ TikTok ยังคงเป็นการเข้าถึงไวรัลได้มากกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพราะคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพไม่ได้มีแค่การกด Like เท่านั้น แต่การแชร์ยังสามารถกระจายไปยังกลุ่มผู้ชมจำนวนมาก ส่งผลให้ครีเอเตอร์ หรือแบรนด์เติบโตได้ด้วย
ส่วนอัตราการแชร์บน Instagram แสดงให้เห็นว่าคอนเทนต์ที่ถูกแชร์เริ่มน้อยลง ทำให้ครีเอเตอร์ หรือแบรนด์ที่ทำคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มนี้ต้องกระตุ้นผ่าน Call to Action มากขึ้น
ฝั่ง Facebook เองก็แสดงให้เห็นชัดว่าผู้ใช้บนแพลตฟอร์มกำลังเปลี่ยนไป มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงในกลุ่มกัน หรือลงแบบส่วนตัว (Private) เก็บไว้ดูเองมากขึ้นแทนที่จะแชร์แบบสาธารณะ เช่นเดียวกับ X ที่ประสบปัญหาการแชร์แบบเดิม แต่ก็ยังสามารถใช้ประโยชน์จากการสนทนามากระตุ้นให้เกิดกระแส หรือการรีโพสต์ได้อีก
กลยุทธ์เพิ่มการแชร์
- เพิ่มการคอลแลบมากขึ้นระหว่างครีเอเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์หรือแบรนด์ โดยเฉพาะการทำคอนเทนต์บน TikTok หรือ Instagram
- สร้างคอนเทนต์บน TikTok ที่มีความเกี่ยวข้องกับกระแส เทรนด์ หรือมีม เพื่อสะท้อนความรู้สึกร่วม และกระตุ้นให้เกิดการแชร์ หรือแท็กผู้คนใหม่ ๆ ใต้คอมเมนต์
- ใส่คีย์เวิร์ดที่เป็น Call to Action บน Instagram เช่น แท็กเพื่อนที่เป็นแบบนี้ หรือแชร์สิ่งนี้กับคนที่ชอบ เพื่อเพิ่มอัตราการแชร์
- ใช้ประโยชน์จากความไวรัลเรียลไทม์ และติดเทรนด์บน X ในการสร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้อง และใส่แฮชแท็กที่ถูกต้อง เพื่อนำตัวเองเข้าไปอยู่ในกระแสให้ได้
- ต่อยอดการ Like ไปสู่ DM (Direct Messages) เพื่อผลักดันให้เกิดการแชร์ไปคุยกันบน Instagram
Impressions
- TikTok: 6268
- Instagram: 2635
- Facebook: 1100
- X: 1430
‘Impressions’ คือตัววัดที่ปรากฏบนหน้าจอบ่อยที่สุด ไม่ว่าผู้ใช้จะสนใจมากน้อยแค่ไหนก็ตาม ขอแค่ได้เห็นผ่าน ๆ ก็นับ แต่จำนวนการแสดงผลเพียงอย่างเดียวไม่ได้รับประกันการมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์มากพอ หรือคอนเทนต์นี้มีความน่าสนใจ เพราะโพสต์ที่มียอด Impressions เป็นล้าน แต่การ Interact ที่เกิดจากความสนใจน้อยก็เกิดขึ้นได้
ในปี 2024 Instagram มียอด Impressions เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2,635 ครั้งในการแสดงผลต่อโพสต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัลกอริทึมของ Instagram ให้ความสำคัญกับการมองเห็นโพสต์ต่าง ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความจะเกิดการมีส่วนร่วมเสมอไปเช่นกัน
แต่ในทางกลับกัน จำนวนการแสดงผลบน TikTok นั้นค่อนข้างคงที่ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 6,268 ต่อโพสต์ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแพลตฟอร์มที่รักษามาตรฐานในการสร้างการรับรู้ของคอนเทนต์ได้
ส่วน Facebook ก็มีจำนวนการแสดงผลลดลง 35% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยลดลงจาก 1,723 ครั้งเหลือ 1,116 ต่อโพสต์ ซึ่งยิ่งตอกย้ำได้อีกว่าการเข้าถึงแบบ Organic บน Facebook กำลังหดตัวลง ทำให้ครีเอเตอร์ และแบรนด์จำเป็นต้องพึ่งพาโฆษณาแบบจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อรักษาการมองเห็นไว้
ฝั่ง X ก็ มีการแสดงผลเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 3 เท่าของปีที่แล้ว โดยเฉพาะคอนเทนต์ที่มีการอัปเดตอย่างข่าวสาร และเทรนด์ไวรัลต่าง ๆ ที่เป็นบริบทสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ กำลังจะเกิดขึ้นในโลกโซเชียลมีเดียมากที่สุด
กลยุทธ์เพิ่มการแสดงผล และการมองเห็น
- ปรับคอนเทนต์ให้น่าดึงดูดตั้งแต่ 3 วินาทีแรก เพื่อให้เกิดการดึงดูดความสนใจก่อนที่ผู้ชมจะเลื่อนผ่านหน้าฟีด
- เนื่องจากจำนวนการแสดงผลของ TikTok ยังคงเสถียรอยู่ ก็สามารถกระตุ้นเพื่อให้เกิดการสนทนาต่อ หรือ กระตุ้นให้มีส่วนร่วมเพิ่มผ่านการเชิญชวน
- หากต้องการการเข้าถึงมากขึ้นบน Facebook ก็ควรลงทุนด้วยการจ่ายเงินมากขึ้น เนื่องจากจำนวนการแสดงผลแบบ Organic ลดลงทุกปีเพื่อรักษาการมองเห็น
- X ควรมีคอนเทนต์ที่สามารถสานต่อบทสนทนาได้ ไม่ว่าจะผ่านเธรด หรือการถามตอบ และการสำรวจความคิดเห็น (polls) ก็ได้เช่นกัน เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่มียอด Impressions เพิ่มขึ้นได้ตลอดหน้าฟีด
Posting frequency
- TikTok: 15
- Instagram: 20
- Facebook: 47
- X: 50
ความถี่ในการโพสต์ (Posting frequency) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จบนโซเชียลมีเดีย แต่การโพสต์เยอะ ๆ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะทำให้ยอดเอนเกจเมนต์ หรือทำให้กลุ่มเป้าหมายมีการมองเห็นเพิ่มขึ้น เพราะการโพสต์ที่ถี่เกินไปก็สามารถทำให้เหนื่อยที่จะเห็น หรือยอดเอนเกจเมนต์ต่อโพสต์ต่ำ จนกลุ่มเป้าหมายไม่อยากมีส่วนร่วมด้วย
ความถี่ในการโพสต์
- Instagram: 5 โพสต์/สัปดาห์
- TikTok: 2 โพสต์/สัปดาห์
- Facebook: 7 โพสต์/สัปดาห์
- X: 10+ โพสต์/สัปดาห์
จากการเปรียบเทียบความถี่ในการโพสต์ของทุกแพลตฟอร์มแล้ว จะเห็นได้ว่าครีเอเตอร์ และแบรนด์มีการโพตส์บน TikTok ถี่น้อยที่สุด แต่กลับได้รับเอนเกจเมนต์มากที่สุด ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่าคอนเทนต์บน TikTok ควรจะเน้นที่คุณภาพ (Quality) มากกว่าปริมาณ (Quantity)
ส่วน Instagram การโพสต์ 5 โพสต์/สัปดาห์ ก็ยังคงเป็นการรักษาบาลานซ์ได้อยู่ เพราะอัลกอริทึมของ Instagram มีข้อจำกัดเรื่องยอด Reach สำหรับแอ็กเคานท์ที่โพสต์หลายครั้งติดต่อกันในเวลาที่ห่างไม่เยอะ
ด้าน Facebook เรียกได้ว่าลงวันละโพสต์ เพราะเคยแนะนำให้ผู้ใช้แอ็กทีฟในการโพสต์เพื่อเพิ่มการมองเห็นไว้ แต่อย่างไรก็ตาม การโพสต์ถี่ก็อาจนพไปสู่ยอดเอนเกจเมนต์ที่ต่ำกว่าปกติได้ ทำให้ต้องตามหาประเภทของคอนเทนต์ที่ดึงดูดความสนใจได้มากขึ้น
และ X ที่เน้นปริมาณในการโพสต์ถี่ หรือมากกว่า 10 โพสต์ต่อสัปดาห์ ด้วยธรรมชาติของแพลตฟอร์มที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น X จะโฟกัสคอนเทนต์ หรือโพสต์ที่ลงแบบเรียลไทม์ หรือเล่นกับกระแสเทรนด์ไว้ก่อน แต่ความแมสของโพสต์เหล่านั้นจะแมสแค่ในระยะเวลาสั้น ๆ ตามสถานการณ์เท่านั้น
กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพของคอนเทนต์
- สำหรับ TikTok แม้เรื่องของโปรดักชันอาจจะไม่สำคัญกับคอนเทนต์บางประเภท แต่การหาจุดเด่นในคอนเทนต์ และคาแรกเตอร์ของช่องเจอจะช่วยให้ความถี่ในการโพสต์ไม่ใช่ปัญหา เพราะเน้นความครีเอทีฟ และแปลกใหม่มากกว่า
- คอนเทนต์บน Instagram แพลตฟอร์มเน้นไลฟ์สไตล์ที่ผู้คนมักจะชอบ ‘Authentic videos’ ที่แสดงถึงมู้ดโทน หรือไวบ์บางอย่างชัดเจน การเริ่มโพสต์ที่ประมาณ 4 – 5 โพสต์ต่อสัปดาห์ก็พอจะทำให้อัลกอริทึมวิเคราะห์เอนเกจเมนต์ และเทรนด์ของช่องเพื่อเสิร์ฟกลุ่มเป้าหมายได้
- เมื่อการโพสต์ถี่ทำให้ยอดเอนเกจเมนต์ต่ำลง Facebook จึงควรเริ่มมีการผสมผสานรูปแบบคอนเทนต์เวลาโพสต์เพื่อสร้างความหลากหลายมากขึ้น ทั้ง Reels, Livestream และ UGC (User-generated Content)
- X มีการโฟกัสแบบ ‘Conversation-driven’ มากขึ้น ซึ่งการโพสต์ที่สำคัญ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับหัวข้อ (Topic) ของคอนเทนต์ โพล หรือเธรดที่เกี่ยวข้องกับเทรนด์ด้วย
เรียกได้ว่านี่เป็นเพียงข้อแนะนำเบื้องต้นเท่านั้น แต่หากใครที่ลองเพิ่มจำนวนความถี่ในการโพสต์แล้ว ยอดเอนเกจเมนต์ยิ่งโดนกดลง หรือการมองเห็นลดลง ก็อาจจะต้องย้อนกลับไปเริ่มใหม่ หาปริมาณที่เหมาะสมให้กับตัวเองด้วย
จาก Social Benchmarks 2025 ทั้งหมดที่ RAiNMaker นำมาสรุปในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ TikTok, Instagram, Facebook และ X ก็น่าจะทำให้เข้าใจอัลกอริทึม และตัวชี้วัดที่แพลตฟอร์มให้ความสำคัญสำหรับเหล่านักสร้างคอนเทนต์มากขึ้น
ใครที่ยังไม่เคยคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ ก็อาจจะลองตั้งเป้าหมายใหม่ และตั้งตัวชี้วัดให้ชัดเจน เพื่อจะได้นำไปวางแผนกลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ได้เป็นระบบมากขึ้น