กลยุทธ์การทำ User Payment ของ The Telegraph หวังสมาชิก 10 ล้านคน

User Payment เป็นอีกหนึ่ง Business Model ที่สำคัญสำหรับสื่อที่เป็นฝั่งเขียนข่าวหรือ Publisher ที่มีผลต่อการตัดสินใจของคนในการทำงาน ซึ่งเป็น Model ที่ผู้อ่านจ่ายเงินให้กับ Publisher โดยตรงไม่ต้องผ่านเอเจนซีโฆษณา หลาย ๆ เว็บไซต์เริ่มหันมาทาง User Payment มากขึ้น แต่ละเว็บไซต์ก็จะมีกลยุทธ์ของตัวเองที่เข้ากับธรรมชาติของสื่อนั้น ๆ

อีกสื่อหนึ่งที่ทำ User Payment ได้อย่างน่าสนใจก็คือ The Telegraph ของอังกฤษ ที่ ณ ตอนนี้ คอนเทนต์มากกว่า 30% ของเว็บไซต์นั้นอยู่ภายใต้ Pay Wall คือต้องจ่ายเงินหรือสมัครสมาชิกก่อนถึงจะสามารถอ่านได้ The Telegraph นั้นได้เริ่มหันมาทำ Paywall แบบจริงจังพร้อมกับกลยุทธ์ที่น่าสนใจ หลังจากที่ Telgraph เปิดตัว My Telegraph ที่เป็นบริการใหม่ ระบบจะเลือก content ที่เหมาะสมกับเรา ให้เราเข้าไป follow นักข่าวหรือคอลัมนิสต์ที่ชอบได้ หนึ่งในฟีเจอร์สำคัญก็คือการจ่ายเงินเพื่ออ่านคอนเทนต์แบบพรีเมียม

 

เว็บไซต์ Digiday ได้เล่ากลยุทธ์ที่น่าสนใจนี้ว่า เหตุผลที่ทำให้ ณ ตอนนี้ มีสมาชิกอยู่มากถึง  3.5 ล้านคนก็คือ การประเมินความเสี่ยง ซึ่งหลังจากที่ Digiday ได้คุยกับคุณ Chris Taylor ซึ่งเป็น CTO ของบริษัท Taylor บอกว่า เบื้องหลังของ User Payment ที่ประสบความสำเร็จคือการประเมินกำไรที่ดี และสร้างความสมดุล ณ จุดนั้นให้ได้ (จะต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ต้นทุนต่อบทความเท่าไหร่ กำไรเท่าไหร่) โดยการประเมินแบบนี้ Telegraph ได้นำสิ่งที่เรียกว่า variable paywall หรือก็คือ paywall ที่ปรับเปลี่ยนได้ตาม demand ของคอนเทนต์นั้น ๆ The Telgraph มีเทคโนโลยี self-learning paywall ที่ใช้ Machine Learning มาช่วยในการประเมินด้วย (ให้นึกภาพของ Ad Banner แบบธรรมดา ๆ กับ Google AdSense ที่มีอัลกอริทึม) แนวคิดนี้จะคล้าย ๆ กับการทำ Programatic Ads แต่เอามาใช้กับ Content แทน

ในช่วงปีที่ผ่านมา The Telegraph มีคอนเทนต์ที่ต้องจ่ายเงินเพื่ออ่านเพิ่มจากเดิม 20% มาเป็น 30% ของคอนเทนต์ทั้งหมด โดยที่ยังคงทำกำไรได้อย่างดี ซึ่ง Telegraph หวังว่ายอดผู้อ่านแบบ Subscription จะเติบโตไปถึง 10 ล้านคนซึ่งเป็นจำนวนที่เยอะมาก

และสุดท้าย ตามที่เราเคยพูดถึง Trend ที่กำลังจะมาในวงการการทำคอนเทนต์ Paywall และ Business Model ที่เป็น Reader Payment ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราคาดว่าน่าจะเติบโต แต่สำหรับในไทยนั้นอาจจะยังไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่ แต่ก็น่าติดตามว่าเมื่อไหร่ Trend นี้ถึงจะเข้ามาในไทย

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save