แชร์ 10 ไอเดียถ่าย TiKTok ที่แบรนด์ และเอเจนซีห้ามพลาด

ในยุคที่การตลาด และเทรนด์ทุกอย่างบนโลกขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์ม TikTok แบรนด์ และเอเจนซีต่างก็ต้องปรับตัวในการสร้างคอนเทนต์ หรือแคมเปญให้ตอบโจทย์พฤติกรรมชอบไถจอในเวลาสั้น ๆ ของผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งแม้จะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายเหมือนกันที่จะงัดกลยุทธ์มาแข่งกัน ทาง RAiNMaker เลยมี 10 ไอเดียการทำ TikTok เพื่อแบรนด์ และเอเจนซีมาฝาก!

แม้ TikTok จะเป็นแพลตฟอร์มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ที่แค่ตั้งกล้องถ่ายอย่างธรรมชาติ โชว์ความเป็นตัวเอง และโพสต์ลงหน้าฟีดก็จบ แต่เทคนิคการถ่ายให้ดึงดูดความสใจภายใน 7 วินาทีแรกนั้นสำคัญมาก

ว่าผู้บริโภคจะตัดสินใจรับชมต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่เพียงแค่ปลายนิ้วที่ไถจอ เนื่องจาก TikTok ถูกออกแบบมาให้เสพคอนเทนต์ในระยะเวลาสั้น ๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์มากนัก

เพราะฉะนั้นการคิดครีเอทีฟก่อนถ่ายทำคอนเทนต์จึงสำคัญมาก วันนี้เราเลยมี 10 ไอเดียการถ่าย TikTok มาแชร์ ซึ่งหากถ้าแบรนด์ดิงชัดแล้ว ก็เลือกเทคนิคเหล่านี้ไปประยุกต์ให้ได้เลย!

Share Tutorial

แสดงวิธีการใช้โปรดัก หรือเซอร์วิส 

หากพูดถึงคอนเทนต์ Tutorial นับเป็นประเภทที่ฮิตที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะสามารถดึงดูดความสนใจของชาว TikToker ได้ดีที่สุด เพราะคลิปวิดีโอสั้นส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของแบรนด์ รวมถึงบริการต่าง ๆ ก็ด้วย

ทำให้ผู้ชมอยากที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ของแบรนด์มากขึ้น จากการได้เห็นวิธีใช้ตามขั้นตอนต่าง ๆ พร้อมผลลัพธ์ที่ได้ใช้ว่าจะเกิดประสิทธิผลอย่างไรกับตัวเองบ้างนั่นเอง

หรือถ้าไม่ใช่การแสดงวิธีใช้ผลิตภัณฑ์ ก็สามารถทำคอนเทนต์แบบ Product Hack นำเสนอด้านที่ผู้คนไม่รู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ก็ได้

Demo Recipe

แชร์สูตรของแบรนด์ให้คนเข้าถึงง่าย 

หากพูดถึงคอนเทนต์เกี่ยวกับสูตรต่าง ๆ อันดับแรกก็คงเป็นสูตรอาหารที่มักจะเห็นคอนเทนต์ประเภทนี้อยู่บน TikTok บ่อย ๆ แต่ความจริงแล้ว แม้จะไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร ก็สามารถแชร์สูตร และทริกต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้เช่นกัน

เช่น แฟชั่นก็สามารถจับคู่เสื้อผ้าเป็นสไตล์ของแบรนด์ลงคอนเทนต์ได้ หรือสูตรลับการใช้เครื่องสำอางค์ต่าง ๆ ของแบรนด์เดียวกัน เป็นต้น

ซึ่งการแชร์สูตรต่าง ๆ ของแบรนด์ นอกจากจะตกกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ให้อยากรู้จักแบรนด์นั้น ๆ มากขึ้นแล้ว ยังสามารถทำเป็นวิธีโปรโมตสินค้าใหม่ของแบรนด์ได้อีกด้วย 

Honest Reviews

รีวิวแบรนด์อย่างตรงไปตรงมา 

แต่ก่อนการรีวิวมักจะต้องมีการบรีฟสคริปต์ หรือคำพูดเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้มากที่สุด แต่ในยุคที่ผู้บริโภคชอบความเรียล การนำเสนอด้านรีวิวก็ควรทำอย่างจริงใจ

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เหล่า Micro-Influencers เริ่มจะมีบทบาทต่อการตัดสินใจ และทำให้ผู้บริโภครู้สึกเชื่อถือต่อแบรนด์มากขึ้น เนื่องจากกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์สามารถเข้าถึงง่ายกว่าเหล่าเซเลบริตี้ และมีการใช้ภาษารีวิวที่ย่อยง่ายไม่ได้รู้สึกปรุงแต่งเวลาพบเห็น 

Collaborate with Others

เปิดการคอลแลปกับครีเอเตอร์ 

แน่นอนว่า “Teamwork Makes The Dream Work!” เพราะในโลกที่เต็มไปด้วยคอมมูนิตี้มากมาย การจะหาสังคมใหม่ในคอมมูนิตี้เดียวกัน หรือคอมมูนิตี้ที่ต่างกัน ต้องอาศัยการพึ่งพาซึ่งกัน และกันให้มากที่สุด

เช่น เกิดการคอลแลปกับครีเอเตอร์ที่มีคอมมูนิตี้สายเดียวกัน หรือคอลแลปกับครีเอเตอร์ที่มีคอมมูนิตี้คนละสายก็ตาม วิธีนี้ยังเหมาะสำหรับเพิ่มยอดเอ็นเกจเมนต์ และเพิ่มยอดการมองเห็นของแบรนด์มากขึ้นด้วย

เพราะเมื่อคอลแลปกันชื่อแอคเคานท์ของแบรนด์จะถูกเมนชันไปยังผู้ที่คอลแลปด้วย เป็นการแลกเปลี่ยนคอมมูนิตี้อย่างหนึ่งที่ห้ามพลาด!

Branded Hashtag Challenge

สร้างแฮชแท็กชาเลนจ์ให้แบรนด์ 

ชาเลนจ์ TikTok กลายเป็นวิธีที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการสร้างคอนเทนต์ และแคมเปญไปแล้ว เพราะนอกจากจะมีพลังของการใช้แฮชแท็กเข้ามาช่วย ยังมีพลังของเพลงฮิตที่ใช้เข้ามาเติมคอมมูนิตี้ของแบรนด์ให้แข็งแกร่งมากขึ้นด้วย

ไม่ว่าจะเป็นชาเลนจ์ที่ท้าทายความสามารถ หรือชาเลนจ์ท่าเต้นต่าง ๆ ก็สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับแต่ละแบรนด์ได้หมด เพียงแค่ต้องรู้จุดขายของแบรนด์ว่าอยากนำเสนออะไร หรือยากให้มีภาพลักษณ์ที่ชาว TikToker เข้าถึงง่ายได้มากน้อยแค่ไหน

เพราะชาเลนจ์เป็นการโน้มน้าวให้ชาว TikToker อยากเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งหากแบรนด์คิดชาเลนจ์ตอบโจทย์ได้ทั้งกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง และพร้อมที่จะตกกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ที่แค่อยากมาร่วมสนุกด้วยได้ก็ยิ่งดี

Show Process in Fast-motion

โชว์การผลิตของแบรนด์แบบโมชัน 

 Fast-motion เป็นฟีเจอร์ที่รวบรวมสารที่จะสื่อไว้ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เหมาะสำหรับการโชว์กระบวนการผลิตของแบรนด์เป็นอย่างมาก เพราะผู้บริโภคยุคนี้มีความใจร้อน หากไม่น่าสนใจมากพอก็จะไถเปลี่ยนคอนเทนต์ไปเลยนั่นเอง

ซึ่งเทคนิคประเภทนี้เปรียบเสมือนกับดาบสองคม เพราะหากกระบวนการผลิต หรือเบื้องหลังที่เกี่ยวกับแบรนด์น่าสนใจ ก็เป็นผลดีต่อแบรนด์ เพราะทำให้ผู้บริโภคอยากรู้ความเป็นมา หรือตอบความสงสัยได้

ในขณะเดียวกัน หากใช้ฟีเจอร์นี้โดยไม่จำเป็นกับแบรนด์ ก็อาจไม่น่าดึงดูดมากพอ เพราะผู้บริโภคไม่ได้อยากรู้ จึงเสี่ยงที่จะถูกเลื่อนผ่านไปได้โดยง่าย

Open Duet

เปิดให้คนดูเอ็ตคลิปกับแบรนด์ได้

 การดูเอ็ต คือ เทคนิคที่ดันคอนเทนต์ประเภท UGC (User Generated Content) หรือคอนเทนต์ที่ให้ผู้ติตาม หรือผู้เข้าร่วมชาเลนจ์ดูเอ็ตของแบรนด์เป็นคนกระจายการมองเห็นให้ ยิ่งมีคนเล่นด้วยมาก อัลกอริทึมก็จะจับได้มาก ทำให้ยอดเอ็นเกจเมนต์กว้างออกไปอีกนั่นเอง

ฉะนั้นการที่แบรนด์เปิดให้สามารถดูเอ็ตได้ นอกจากจะเป็นการทำให้แบรนด์ดูเข้าถึงง่ายแล้ว หากทำให้การดูเอ็ตไม่ได้มีความแบรนด์ดิงมากเกินไป แต่เน้นความเฟรนด์ลี่ ก็มีโอกาสที่ชาว TikToker จะเล่นมากกว่า และอาจถึงขั้นติดเทรนด์แนะนำช่องเสิร์ชของ TikTok เลยก็ว่าได้

Open up a Q&A

เปิดเซสชันถามตอบเกี่ยวกับแบรนด์ 

เซสชันถามตอบ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่แบรนด์จะเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการที่แบรนด์ตอบผ่านไลฟ์เซศชัน หรือตอบจากคอมเมนต์ แล้วนำมาทำคอนเทนต์ ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูน่าเข้าหามากขึ้น

จึงสรุปได้ว่าความเฟรนด์ลี่ แต่ยังคงความเป็นแบรนด์ดิงให้คนจดจำได้นั้นสำคัญมาก และไม่ควรทำให้แบรนด์อยู่ในเซฟโซนมากเกินไป เนื่องจาก TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ต้องกล้าออกจากกรอบ และสร้างเทรนด์ใหม่ให้กับตัวเอง

อ้างอิง: Hootsuite

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save