
แนวโน้มด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย
จากสถิติของผู้ใช้ 6 ล้านคนในปัจจุบัน พบว่า เด็ก และวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะเจอปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าวัยอื่น ๆ เป็นเหตุผลให้ภาครัฐประกาศให้เดือนพฤษภาคมเป็น ‘Mind Month’ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในระดับนโยบายในเรื่องสุขภาพจิต
อย่างไรก็ตามการลงทุนเกี่ยวกับสุขภาพจิตในประเทศไทยยังไม่มีการให้ความสำคัญเท่าที่ควร แต่สุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อประชาชนเริ่มมีความรู้สึก Burn out หรือ Anxiety จะกระทบต่อการขับเคลื่อน GDP ของประเทศไทย
นอกจากเศรษฐกิจแล้ว ในตอนนี้ภาคการศึกษาเริ่มให้นักเรียน และนักศึกษาส่งงานผ่าน TikTok ซึ่งจะทำให้เด็ก ๆ สามารถเห็นคอมเมนต์ที่กว้างขึ้น รวมถึงมีสกิลในการรู้เท่าทันสื่อ Social Media และปรับใช้ให้มีประโยชน์
สุขภาพจิตไม่ใช่แค่ Knowledge แต่เป็น Literacy
เพราะไม่ใช่แค่ ‘รู้’ แต่ต้อง ’เข้าใจและใช้งานได้จริง‘ ซึ่งเราสามารถมี Literacy ได้ ดังนี้
- Access: เราจะเข้าถึงเครื่องมือหรือแหล่งข้อมูลเรื่องสุขภาพจิตได้อย่างไร
- Acquire: เราจะเรียนรู้ และรับความรู้นั้นมาได้อย่างไร
- Appraise: เราได้นำข้อมูลที่มีมาเทียบหรือประเมินอย่างมีวิจารณญาณหรือไม่
- Apply: เรานำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร
ความท้าทายของครีเอเตอร์กับสุขภาพจิต
ในยุคนี้ครีเอเตอร์มีความท้าทายในการสร้างคอนเทนต์ออกมาเพื่อนำเสนอเรี่องราวถูกต้อง และไม่ทำให้เกิดการ Misinformation เกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพจิตที่ครีเอเตอร์จะต้องนำเสนอเรื่องราวปัจเจกออกมาสู่วงกว้างได้
นอกจากนี้ในบางครั้งอัลกอรึทึมของแพลตฟอร์มจะทำให้ผู้ใช้เห็นมุมมองต่าง ๆ ค่อนข้างแคบ แต่อย่าให้โซเชียลสร้างชีวิตของเรา เราสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างสิ่งที่เราเห็นบนฟีดได้
สุดท้ายนี้อยากให้ครีเอเตอร์มี ‘Empathic Mind’ และนึกถึงใจผู้ติดตามของเรา จากสิ่งเล็ก ๆ อย่างการเรียนรู้เพื่อรู้จักฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้มากที่สุด รวมถึงนำฟีเจอร์เหล่านั้นไปสร้างให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ทุกคน