How to ทำคอนเทนต์พร้อม ‘Emotional Hooks’สูตรลับการทำคอนเทนต์ฉบับ RAiNMaker

สำหรับนักสร้างคอนเทนต์ หรือเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์แล้ว ‘การทำคอนเทนต์ให้น่าสนใจ’ คงเป็นคีย์สำคัญที่สุดในการจะดึงทุกสายตาของกลุ่มเป้าหมายให้จับจ้องมาที่คอนเทนต์ และรู้สึกเชื่อมต่อกับสิ่งที่อยู่ในนั้นได้ แต่บางครั้งก็ไม่รู้ว่าต้องเริ่มจากตรงไหน ซึ่ง RAiNMaker หาคำตอบมาให้ที่นี่แล้ว!

คงไม่มีกลุ่มเป้าหมายคนไหนอยากใช้เวลากับคอนเทนต์ที่น่าเบื่อ หรือสิ่งที่ตัวเองไม่ได้รู้สึกร่วมไปกับมันด้วยแน่นอน นี่จึงเป็นอีกหน้าที่สำคัญของเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ต้องโน้มน้าว หรือชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับคอนเทนต์ให้มากที่สุด

เพราะหากสามารถสร้างคอนเทนต์ที่เชื่อมโยงระหว่างแบรนด์ได้ ก็ต้องสร้างคอนเทนต์ที่เชื่อมไปถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และความน่าเชื่อถือกับพวกเขา เพราะนี่จะนำไปสู่การเป็น ‘Loyalty’ ที่ดีต่อคอนเทนต์หรือแบรนด์แน่นอน ซึ่งหากอยากรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง มาเช็คกันเลย!

สร้างความรู้สึกพิเศษให้กลุ่มเป้าหมาย (Make your audience feel Special)

: ยิ่งทำให้รู้สึกพิเศษได้ ก็ยิ่งอยากอยู่กับแบรนด์ไปนาน ๆ 

ไม่ว่าใครก็คงชอบโมเมนต์ที่ได้เป็น ‘คนพิเศษ’ ของใครสักคน แม้กระทั่งผู้บริโภคกับแบรนด์เองก็สามารถสร้างความรู้สึกพิเศษระหว่างกันได้นะ เพราะอะไรที่ยิ่งพิเศษหรือหายาก ก็ยิ่งไปกระตุ้นความอยากได้ของคนมากขึ้น เกิดเป็นความรู้สึกที่พร้อมจะจ่ายเพื่อสิ่งนั้นเองอัตโนมัติด้วย ซึ่งหากแบรนด์พยายามสร้างความพิเศษนี้ต่อกลุ่มเป้าหมายในคอนเทนต์ได้ พวกเขาก็ยิ่งติดใจจากการถูกทรีตที่ดี และจะอยู่รอคอยโมเมนต์นี้กับแบรนด์อย่างยาวนานแน่นอน

ปล่อย Fear of Missing Out (FOMO) ในคอนเทนต์ (Leverage FOMO out)

: สร้างช่วงเวลาพิเศษที่มีจำกัดให้คนเข้าถึงแบรนด์แบบลิมิเต็ด

‘FOMO’ หรืออาการที่ทำให้เรากลัวพลาดสิ่ง ๆ หนึ่งไป สามารถนำมาใส่ในคอนเทนต์ได้โดยการให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่ามีเวลาจำกัดที่จะเข้าถึง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับผลิตภัณฑ์หรือโปรดักในช่วงที่มีโปรโมชั่นพิเศษ หรือเฉพาะกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นสมาชิก เลยได้รับของลิมิเต็ดนั่นเอง ซึ่งความรู้สึกกลัวของกลุ่มเป้าหมาย และคอนเทนต์ที่ไม่จำกัดรูปแบบความครีเอทีฟนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ด้วยกันได้ เพียงแค่เลือกช่วงเวลา หรือจังหวะที่จะสร้างคอนเทนต์ลิมิเต็ดที่จำกัดการเข้าถึงขึ้นมาเท่านั่นเอง

ทำคอนเทนต์เหมือนเล่าเรื่องให้ฟัง (Tell your story)

: เพราะทุกเรื่องราวในคอนเทนต์มีที่มาเสมอ แค่ต้องเล่าให้เขารู้จักเรามากที่สุด

หากการเล่าเรื่องสักเรื่องหนึ่งคือการทำให้รู้จักในสิ่งนั้นมากขึ้น แบรนด์ก็ควรมีเรื่องเล่าที่อยากทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจถึงความเป็นแบรนด์ด้วยเรื่องเล่าที่ดี แม้เรื่องเล่าที่ดีอาจจะไม่มีนิยามตายตัวนัก แต่การที่เรื่องเล่าสามารถทำให้คนรู้สึกอินไปกับเรื่องราวนั้นได้ หรือการทำให้คนอยากรู้ถึงตอนถัดไปของเรื่องราวนั้น ๆ ก็นับว่าเรื่องเล่าของเราสำเร็จแล้ว

ซึ่งการเล่าเรื่องอาจไม่ได้มาในแค่รูปแบบ Story telling เพียงอย่างเดียว แต่อาจจะหมายถึงกรณีศึกษา หรือ Case Study ที่ทำขึ้นมาเพื่อเล่าสู่กันฟังถึงกลุ่มเป้าหมายก็ย่อมได้ แค่ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากให้พวกเขามองภาพลักษณ์แบรนด์เป็นแบบไหน ก็ควรเล่าให้พวกเขา ‘รู้สึก’ ไปตามนั้นด้วย

ทำให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์ (Create a Feeling of Belonging)

: เพราะกลุ่มเป้าหมายคือเหตุผลของการมีอยู่ของแบรนด์

ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อการได้เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของแบรนด์ นับเป็นอีกสิ่งที่ดึงดูดใจให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกอยากภักดีกับแบรนด์เอง แค่ต้องไม่นำเสนอความรู้สึกนี้ในเชิงธุรกิจเกินไป จนทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่ามันคือการตลาดที่กำลังล่อลวงพวกเขา ซึ่งแบรนด์ต้องรู้จักเข้าหากลุ่มเป้าหมายให้เป็น ด้วยการใช้คอนเทนต์ในลักษณะที่นำเสนอด้านไลฟ์สไตล์ หรือคอมมูนิตี้ให้คนรู้สึกว่าต้องอยู่ร่วมกับแบรนด์จนกลายเป็นเทสต์ หรือชีวิตประจำวันอย่างหนึ่งได้

สร้างความลึกลับน่าค้นหาให้คอนเทนต์ (Use Mystery)

: เริ่มด้วยคำถามให้น่าค้นหาเพื่อนำไปสู่การสร้างเอ็นเกจและการขาย

คำถามที่ไม่ได้รับคำตอบส่วนใหญ่มักจะนำไปสู่การหาคำตอบด้วยตัวเองที่เกิดจากความอยากรู้ นี่คือวลีที่แบรนด์สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างคอนเทนต์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าคอนเทนต์จะจบด้วยการตั้งคำถาม หรือจบปลายเปิดให้กลุ่มเป้าหมายไปหาคำตอบเอาเอง ก็นับว่าความลึกลับนี้ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้คอนเทนต์เข้าไปอีก และหากใส่ช่องทางที่พวกเขาสามารถไปหาคำตอบได้ผ่าน ‘Call to Action (CTA)’ ของแบรนด์ ต่อให้ไม่ได้สนใจสินค้าแต่การคลิกเพื่อเข้ามาชมนั้น ก็อาจนำไปสู่คำตอบจนพวกเขาต้องซื้อเลยก็ได้

ใส่ความป๊อบลงไปเสมอ (Incorporate Pop Culture)

: รู้จักใช้ป๊อบคัลเจอร์ในคอนเทนต์สำหรับดึงดูดความสนใจผู้คน

วัฒนธรรมป๊อบ หรือป๊อบคัลเจอร์ที่เราเรียกกันนั้น คือสิ่งที่นำผู้คนมาอยู่ในจุดที่รู้สึกร่วมกันได้มากที่สุด ไม่ว่าอะไรที่เป็นกระแส หรือเทรนด์ที่คิดว่าจะให้คอนเทนต์กระโดดเข้าไปเล่นด้วย ถ้าหากเล่นในเวลาที่ใช่และรู้จักครีเอทคอนเทนต์กับมันอย่างถูกต้อง ก็ยิ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าแบรนด์เข้าใจพวกเขามากขึ้น อย่างเช่น ฤดู, เทศกาล, ภาพยนตร์ หรือเพลงที่ฟังล้วนแต่เป็นสิ่งที่นำมาประยุกต์ในคอนเทนต์ได้ไม่รู้จบ โดยเฉพาะหากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายของคุณรู้สึกอินไปกับมันได้ง่าย ก็ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่ต้องดึงมาเล่นเพื่อเรียกเอ็นเกจ และนำไปสู่การแชร์เป็นไวรัลได้

คอนเทนต์ที่ดีต้องใช้อารมณ์ขันให้เป็น (Use Humor)

: ใช้อารมณ์ขันให้รู้สึกว่าแบรนด์เข้าถึงง่าย

ไม่ว่าจะเป็นชนชาติไหน คอนเทนต์ที่สร้างอารมณ์ขันให้ผู้บริโภคได้มักจะทำให้น่าจดจำ และเข้าถึงได้ง่ายที่สุด เพราะเสียงหัวเราะไม่มีพรมแดน ซึ่งอารมณ์ขันที่ว่านี้อาจจะไม่ได้หมายถึงการทำให้หัวเราะเสมอไป เพราะคอนเทนต์ตลกร้ายที่เน้นการเสียดสีของแบรนด์ก็น่าจดจำไม่แพ้กัน เพียงแค่เลือกเล่นกับอารมณ์ขันให้ถูกประเภท ถูกจังหวะ และถูกกลุ่มเป้าหมายก็เพียงพอแล้ว

ที่มา : Search Engine Journal 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save