SEOTipsWebsite

Avatar

doyoumind March 23, 2022

How to วางกลยุทธ์ SEO สำหรับเว็บไซต์น้องใหม่

หากจะเริ่มทำเว็บไซต์ขึ้นมาสักเว็บ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ หรือส่วนตัวก็ตาม มักจะได้ยินคำว่า ‘SEO’ มาคู่กับการทำเว็บไซต์ตลอด เนื่องจากเป็นส่ิงสำคัญที่ต้องเตรียมกลยุทธ์ให้ดี เพื่อส่งผลให้หน้าเว็บไซต์มียอดเข้าชมมากขึ้น จนได้รับการประเมินให้เป็นเว็บไซต์ที่มีความหน้าเชื่อถือ และติดอันดับแรก ๆ ในหน้าค้นหา

แต่การเตรียมกลยุทธ์ SEO ก็มีเยอะแยะไปหมด จนไม่รู้ว่าต้องเริ่มจากตรงไหนดี วันนี้ RAiNMaker เลยสรุป How to 10 ข้อสำหรับการเตรียมกลยุทธ์ SEO ฉบับเข้าใจง่ายสำหรับการเปิดเว็บไซต์น้องใหม่มาฝากกัน ต้องเริ่มเตรียมอะไรบ้าง มาเรียนรู้ไปพร้อมกันเลยดีกว่า!

ตั้งชื่อโดเมนให้เหมาะสม

หลักการทำ SEO ที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกอย่างการตั้งชื่อโดเมน ต้องตั้งให้สอดคล้องกับแบรนด์ หรือสิ่งที่จะทำ แบบเห็นปุ๊บรู้ปั๊บว่าแบรนด์อะไร เกี่ยวกับอะไร เพราะสิ่งนี้จะมีผลกับ SEO เช่นกัน และจำไว้ว่าโดเมนไม่สามารถเปลี่ยนภายหลังได้! เพราะฉะนั้นควรคิดให้ดีก่อนตั้ง

เลือก Web Hosting ความเร็วสูง

เนื่องจากความเร็วของ Web Hosting ส่งผลต่อ Performance ของเว็บไซต์โดยตรง หากเว็บไซต์โหลดช้าแล้วล่ะก็ คนรอไม่เกิน 3-5 วินาทีแล้วได้ปิดเว็บหนีแน่ ๆ แปลว่าเราจะเสียการเข้าถึงเว็บไซต์ ที่จะส่งผลต่อการจัดอันดับ SEO นั่นเอง

ติดตั้ง Google Search Console

Google Search Console เป็นเครื่องมือฟรีอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญต่อการทำ SEO เป็นอย่างมาก เพราะมีหน้าที่ช่วยตรวจสอบคุณภาพ และข้อผิดพลาด รวมถึงช่วยดูแลเว็บไซต์ให้ไปรวมอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาของ Google อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังสามารถดูข้อมูลอินไซต์การเข้าชมเว็บไซต์แบบออร์แกนิก เช็กสถานะการเก็บข้อมูลหน้าเพจ ส่งแผนผังเว็บไซต์ไปยัง Google และช่วยรายงานประสบหการณ์การใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งทำให้สามารถนำมาวัดผล และพัฒนาการทำ SEO ให้ดีขึ้น

ศึกษาคู่แข่ง

แน่นอนว่าทุกสนามมีคู่แข่ง และคนที่รู้จักคู่แข่งมักจะได้เปรียบในการพัฒนากลยุทธ์ เพราะฉะนั้นควรศึกษาคู่แข่งที่อยู่ในตลาดหรือแวดวงเดียวกัน ไม่ว่าจะจุดร่วม จุดต่าง แนวทางการทำคอนเทนต์ หรือคีย์เวิร์ดที่ติดอันดับของคู่แข่ง เป็นต้น

เมื่อพูดถึงเรื่อง SEO สิ่งที่ควรพิจารณามากที่สุดก็ต้องเป็นคู่แข่งด้าน SEO มากกว่าเรื่องของผลิตภัณฑ์และบริการ ดังนั้นคู่แข่งที่แท้จริงคือคนที่ขายผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน และมีการทำคอนเทนต์ในแนวเดียวกันต่างหากล่ะ

สิ่งที่ทำได้คือ การวิเคราะห์คีย์เวิร์ด ดูว่าคีย์เวิร์ดที่ตัวเองและคู่แข่งใช้ร่วมกันคืออะไร และจะมีคีย์เวิร์ดไหนที่จะสามารถดันให้ติดอันดับเพื่อเอาชนะคู่แข่งได้บ้าง

ศึกษาและสร้าง Keyword map

เนื่องจากคีย์เวิร์ดจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับคอนเทนต์ การสร้าง Keyword map จะเป็นตัวช่วยให้คุณได้เห็นภาพรวมคียเวิร์ด เพื่อให้เห็นแนวทางคีย์เวิร์ดที่ชัดเจนที่สุด

หากคีย์เวิร์ดที่ได้มีประสิทธิภาพมากพอ แน่นอนว่ามันจะไปตรงกับการค้นหาที่ Google พยายามจะจับคู่คีย์เวิร์ดกับคอนเทนต์ในผลลัพธ์การค้นหา ดังนั้นจึงแนะนำให้หาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจในการค้นหาของผู้บริโภคด้วย

เช่น ผู้บริโภคอาศัยอยู่แถวสยาม และต้องการหาร้านอาหารวีแกน พวกเขาอาจจะค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดว่า “ร้านอาหารวีแกน สยาม” ดังนั้นคอนเทนต์ที่เผยแพร่ออกไปก็ควรมีคีย์เวิร์ดเหล่านั้นอยู่ เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับอยู่ในหน้าค้นหานั่นเอง

วิธีการสร้าง Keyword map สามารถทำได้ง่าย ๆ เริ่มจาก

  • ตรวจสอบว่าตำแหน่งเว็บไซต์ของตัวเองอยู่ที่ใดในหน้าผลลัพธ์การค้นหา
  • วิเคราะห์คู่แข่ง SEO เพื่อนำมาพัฒนากลยุทธ์
  • สร้างคีย์เวิร์ดของตัวเอง เพื่อครอบคลุมเส้นทางการซื้อของผู้บริโภค
  • จับมาสร้าง Keyword map เพื่อจัดกลุ่มคีย์เวิร์ดที่สำคัญไว้ใช้ในการทำ SEO ต่อไป

วางแผน Content Calendar

จัดลำดับความสำคัญของส่วนต่าง ๆ จาก Keyword map มาใช้ในคอนเทนต์ โดยเฉพาะในชื่อหัวเรื่อง และใน URL เพื่อให้ครอบคลุมทุกคีย์เวิร์ดที่คนจะใช้ค้นหา

จากนั้นหลังเผยแพร่คอนเทนต์ออกไปแล้ว ก็หมั่นติดตามผลการจัดอันดับคีย์เวิร์ดว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด อาจจะเริ่มต้นจากอันดับท้าย ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปคอนเทนต์มีโอกาสเลื่อนอันดับขึ้นได้

ขึ้นอยู่กับว่าเว็บไซต์ของคุณได้มอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้ผู้ใช้หรือเปล่า ซึ่งสิ่งนั้น Google จะเป็นตัวประเมินเอง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทำได้คือการวางแผนคอนเทนต์ และคอยพัฒนาประสบการณ์การใช้งานบนเว็บไซต์

อีกสิ่งที่สำคัญคือ ความสม่ำเสมอในการโพสต์คอนเทนต์ แม้จะไม่มีตัวเลขกำหนดตายตัวว่าต้องโพสต์ปริมาณเท่าไหร่ แต่อย่างน้อยก็ควรจะมีการกำหนดขั้นต่ำไว้อย่างน้อย 4 โพสต์ต่อเดือน เพื่อเพิ่มโอกาสให้หน้าเว็บติดอันดับมากขึ้นนั่นเอง

ตรวจสอบโครงสร้าง URL

ควรมีคีย์เวิร์ดเหล่านั้นอยู่ในชื่อ URL ด้วยเช่นกัน เพื่อให้เชื่อมโยงกับคอนเทนต์ และช่วยเรื่องติดอันดับ SEO เช่น https://www.rainmaker.in.th/10-steps-social-media-strategy/

และชื่อใน URL ก็ควรจัดลำดับให้ถูกต้องชัดเจนเพื่อให้ครอบคลุมผลลัพธ์การค้นหานั่นเอง เช่น https://www.rainmaker.in.th/category/tips/ เพื่อแยกอย่างชัดเจนว่าหน้านี้คือหน้าสำหรับรวมคอนเทนต์ประเภททิปส์ทั้งหมด

ตรวจสอบ Core Web Vital และประสบการณ์ของเพจ

Core Web Vital คือ มาตรฐานของ Google ในการวัด User Experience (UX) ที่วัดทั้งเรื่อง ความเร็วในการโหลดคอนเทนต์, การตอบสนองของเว็บไซต์ และความเสถียรของเว็บไซต์

ดังนั้นจึงหมั่นตรวจสอบการใช้งานเว็บไซต์ว่าผ่านมาตรฐานของ Core Web Vital หรือไม่ เพราะสิ่งนี้จะเป็นตัววัดความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ซึ่งมีผลต่อการจัดอันดับ SEO

ศึกษา Core Web Vital ได้ที่บทความ: https://www.rainmaker.in.th/core-web-vitals-google-seo/

สังเกตตัวช่วยการเข้าถึง

นั่นก็คือความง่ายสำหรับผู้ใช้งาน รวมถึงเครื่องมือการค้นหาในการเข้าถึงเว็บไซต์ ซึ่งองค์ประกอบนี้ก็ถูกนำมาพิจารณาในการจัดอันดับเว็บไซต์เช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คอนเทนต์จะได้รับการจัดทำดัชนี และรวบรวมข้อมูลอย่างถูกต้อง

โดยสามารถทำได้จากการปรับคำอธิบายรูปภาพที่แทรกอยู่ใน HTML Code (Alt Text) ให้เหมาะสม, ปรับคอนทราสต์ให้เพียงพอ เพื่อให้สบายตาในขณะรับชมเว็บไซต์, วางองค์ประกอบให้เหมาะสม เช่น ปุ่มต่าง ๆ บนเว็บไซต์ และการปรับขนาดตัวหนังสือให้อ่านง่าย

โปรโมต โปรโมต และโปรโมต!

เพื่อเพิ่มผลลัพธ์การแสดงของ SEO มากขึ้น ต้องทำการโปรโมตคอนเทนต์ไปในหลากหลายช่องทาง เพื่อให้เข้าถึงผู้คนในวงกว้าง และเพิ่มยอดการเข้าชมเว็บไซต์มากขึ้นด้วย ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยพัฒนา SEO ยิ่งคนเข้าชมเว็บไซต์มากเท่าไหร่ Google ก็จะพิจารณาว่าคอนเทนต์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นนั่นเอง

ที่มา: MOZ

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save