SocialTips

sarun.roj

sarun.roj June 22, 2021

Social Detox คู่มือบำบัดชีวิตติดโซเชียล

ในปี 2563 ที่ผ่านมา คนไทยใช้เวลาเฉลี่ย 11 ชั่วโมง 25 นาทีหรือเกือบครึ่งวันบนโลกออนไลน์ เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึง 1 ชั่วโมง 3 นาที

พฤติกรรมการทำงานแบบ Work from Home และเรียนออนไลน์บีบบังคับให้ต้องใช้ชีวิตติดหน้าจอยิ่งกว่าเดิม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ

ผลการศึกษาของหลายประเทศได้ชี้ถึงผลเสียของการใช้งานคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รวมถึงอินเทอร์เน็ตที่มากเกินไป ดังนี้

  • อาการตาล้า (Eye Strain) อาการปวดตา ตาแห้ง พร่ามัว และระคอยเคืองตาเกิดจากพฤติกรรมการใช้งานสายตาอย่างหนัก ทั้งแสงสีฟ้าจากหน้าจอ และการทำงานในที่แสงจ้าหรือที่แสงน้อยเกินไป
  • ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) อาการปวดกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ เช่น คอ บ่า ไหล่ เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน มักมีสาเหตุจากการนั่งทำงานนานเกินไป
  • เสพติดโซเชียล (Social Addiction) มักทำให้เกิดโรคซึมเศร้า สมาธิสั้น และไบโพล่า เนื่องจากการเสพติดโซเชียลมีเดียมากเกินไปทำให้เกิดการเปรียบเทียบกับผู้อื่นตลอดเวลา รวมถึงสะสมความเครียดโดยไม่รู้ตัว
  • อาการกลัวตกกระแส (FOMO หรือ Fear Of Missing Out)  เช็กมือถือทุกครั้ง ยึดติดกับยอดไลก์ยอดแชร์ ต้องอัปเดตเรื่องราวตลอดเวลา จนขาดการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในชีวิตจริง ใช้ชีวิตออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ นำไปสู่สุขภาพจิตที่แย่และสะสมความเครียด

ทั้งนี้ การใช้เวลากับสมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดียไม่ใช่เรื่องผิด เพราะสิ่งเหล่านี้ก็ช่วยให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น แต่จะดีกว่าไหมถ้าปรับพฤติกรรมให้ใช้อย่างพอดีพอเหมาะ

RAiNMaker เปิดคู่มือบำบัดชีวิตติดโซเชียล ฉบับปี 2021

  • จัดเวลา-เปิดโหมดออฟไลน์ 

แน่นอนว่าการเลิกใช้อินเทอร์เน็ตแบบหักดิบทำให้เสียการเสียงานได้ ลองค่อยๆ ลดความถี่ในการเช็กแจ้งเตือน หรือแบ่งเวลาทำงานกับเวลาพักผ่อนให้ชัดเจน โดยเปลี่ยนการพักผ่อนเป็นการไม่เล่นโซเชียลมีเดียแต่ไปทำอย่างอื่นแทน การปิดแจ้งเตือนก็ช่วยลดความกระวนกระวายใจลงได้มากเช่นกัน

  • ใช้เวลากับคนรอบข้าง

เปลี่ยนจากการไถฟีดเป็นการเข้าหาและมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างให้มากขึ้น หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำร่วมกัน เช่น ออกกำลังกาย ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ เป็นต้น บางทีเราอาจจะค้นพบความสุขจากการลงมือทำสิ่งที่ชอบได้

  • Active แต่พอดี

ข้อมูลข่าวสารในโซเชียลมีเดียมีมากมายมหาศาลในแต่ละวัน การคัดกรองเลือกเสพแต่ข้อมูลที่เราสนใจและสำคัญจริงๆ จะช่วยลดอาการ FOMO ลงได้ และยังช่วยประหยัดเวลาในการเสพข่าว

  • ใช้เป็น ไม่เท่ารู้ทัน

แม้จะมีข้อเสีย แต่อินเทอร์เน็ตก็มีประโยชน์มากมาย ทั้งการติดต่อสื่อสารกับเพื่อน การทำงาน การหาความรู้อัปสกิลด้านต่างๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัว การคุมคามออนไลน์ รวมถึงรับข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์

ที่มา

ETDA

Goodhousekeeping

declutterthemind

 

 

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save