ทำไมเราต้องไว ข้อดีของการลงคอนเทนต์ก่อนคนอื่น และ 6 เทคนิคทำโพสต์ไวระดับปีศาจ

เป็นคำพูดติดปากสำหรับหลาย ๆ คนที่ทำคอนเทนต์คือ ต้องเร็ว สมัยนี้ทำคอนเทนต์ต้องไว แต่เคยคิดกันจริง ๆ ไหมว่าเรานิยามความไวแบบไหน สมมติว่าเราทำเว็บข่าว เวลามีข่าวใหม่ ๆ ออกมา เวลาที่เราใช้ในการเรียบเรียงเป็นภาษาของตัวเอง ใส่บทวิเคราะห์สั้น ๆ ทำภาพ และกด Post ใช้เวลาหลักนาทีเลขตัวเดียวแบบนี้ถือว่าไวหรือเปล่า ถ้าถามกันแบบนี้ก็อาจจะตอบยาก แต่ถ้าเรามองว่าความไวของเรามีวัตถุประสงค์ ก็อาจจะพอให้เราเข้าใจศาสตร์ของการทำคอนเทนต์ไวมากขึ้น

ไวแบบ Effective คือนิยามความไวในแบบที่ผู้เขียนจะยกมาเล่าให้ฟังกัน สมมติแบบด้านบนว่ามีข่าวอะไรบางอย่างเกิดขึ้นแล้วเราเป็น Publisher หรือ Blogger หรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นแล้วเราลงข่าวนั้นเลยทันที (แต่ต้องถูกต้องและอ้างอิงมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ด้วยนะ) มองไปในมุมของคนอ่านก็คือ คนอ่านจะได้เห็นสิ่งนั้นจากเราเป็นเจ้าแรก เป็น First Inform ดังนั้นโอกาสที่เขาจะมี Engagement กับ 2-3 โพสต์ที่พูดถึงสิ่งนั้นเป็นสิ่งแรกจะมีสูงมาก จากประสบการณ์ส่วนตัวผู้เขียนเคยสังเกตว่าเวลาที่มีข่าวด่วน ข่าว Breaking เกิดขึ้นบน Feed เราจะแชร์โพสต์แรกที่เห็นและกดไลค์ประมาณ 2-3 โพสต์ที่เห็นถัดมา

อีกแบบนึงก็คือสมมติว่าเราไปงาน Event อะไรซักงาน หรืองานเปิดตัวสินค้าแล้วมีอะไรที่คิดว่าควรขึ้นไปอยู่บนโซเชียลเลย ก็ควรทำเลย เพราะใช้วิธีคิดแบบเดียวกับด้านบน

ตัวอย่างการทำคอนเทนต์แบบไว ๆ ของผู้เขียนที่มีประสบการณ์มาก็คือ

  • งานเปิดตัวสินค้า Apple เวลา Tim Cook พูดจบ ข่าวต้องขึ้นทันทีว่าเปิดตัวอะไร ขายเมื่อไหร่ มีฟีเจอร์อะไรบ้าง สิ่งเดียวที่ต้องทำคือ จด จด แล้วก็จด
  • เวลามีข่าวทางวิทยาศาสตร์มาใหม่ ใช้เวลา 1-2 นาที อ่านทำความเข้าใจ Abstract ของ Paper จริง ๆ จากนั้น Proof check ความเข้าใจกับข่าวของสำนักข่าวอื่น ว่าเข้าใจตรงกันมั้ย ถ้าตรงกันก็โอเค แต่ถ้าไม่ตรงกัน ต้องมีใครผิด เขาอาจจะผิดหรือเราผิด รวมเวลาประมาณ 20-30 นาที
  • ไปงาน Event เพลงใหม่ของ BNK48 ถ่าย Fan Cam พอ BNK แสดงจบถอด SD Card ใส่ MacBook โยนเข้า Final Cut ซึ่งเปิดโปรแกรมใส่ลายน้ำ + Intro + Outro รอไว้แล้ว จากนั้นกด Render วิ่งหาเน็ตอัพขึ้น Social ทันที ใช้เวลา 10 นาที

ด้วยเหตุนี้นี่เองทักษะที่เราควรมีก็คือการ อ่านอย่างรวดเร็ว, ดูความน่าเชื่อถือ ซึ่งเทคนิคการทำคอนเทนต์ไวระดับปีศาจที่รวมมาประมาณ 6 ก็ก็ได้แก่

1. เข้าใจเรื่องที่เราจะทำเป็นอย่างดี รู้บริบท

สิ่งที่สำคัญมาก ๆ และกำจัดปัญหาเขียนไม่รู้เรื่อง เขียนผิด เขียนไม่เข้าใจคือเราต้องรู้บริบทโดยรวมของเรื่องนั้น ๆ ก่อน ไม่น่าแปลกใจอยู่แล้วว่าถ้าสมมติมีข่าวเทคโนโลยีมาเว็บแนว ๆ IT ก็จะเขียนได้ไว และถูก และวิเคราะห์ต่อได้ดีกว่าเว็บที่ไม่ได้ทำเรื่อง IT หรือเวลามีข่าววิทยาศาสตร์การค้นพบใหม่ ๆ มา คนในแวดวงวิทยาศาสตร์ก็จะทำความเข้าใจได้เร็วกว่า และสามารถเชื่อมโยงต่อได้

สิ่งที่สำคัญเลยก็คือข่าวนั้นอาจจะเป็นแค่เหตุการณ์ ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แต่สิ่งที่สำคัญคือ มัน Related ต่อเหตุการณ์ทีเคยเกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งตรงนี้เราสามารถเล่าย้อนถึงความเชื่อมโยงและวิเคราะห์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

ดังนั้นการทีเรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มากกว่าคนอื่น ก็จะช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้นนั่นเอง

2. ใช้เครื่องมืออื่น ๆ ช่วย รู้จักเว็บอื่น เช่น Google News

การเข้าใจเครื่องมือต่าง ๆ และเลือกที่จะหยิบมาใช้เพื่อให้การทำโพสต์ของเรา ถูกต้อง และเร็วด้วย เช่น Google News ตัวนี้เราเคยพูดถึงไว้แล้วในบทความ สอนใช้ Google News ตัวช่วยสำหรับการเขียนข่าว ย้อนดูเหตุการณ์ สื่อไหนรายงานยังไง

ซึ่งการที่เรามีเครื่องมือในการเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ที่ดี หรือเรารู้ว่าพอเจอข่าวแบบนี้ เราจะไปหาเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ไหน อย่างไร และแหล่งไหนที่น่าเชื่อถือก็จะช่วยให้เราทำงานได้ไวขึ้น

3. มีกรุ๊ปแชทของทีมไว้ บางทีเราอาจจะไม่ได้อยู่หน้าคอมแต่เพื่อนอยู่

อันนี้เป็นเรื่องของ Crew Resource Management สมมติว่าเรามีทีมพยายามให้ทีม active และสื่อสารกันไว้ตลอด ง่ายที่สุดเลยก็คือให้มี Group เอาไว้แชทกัน เทคนิคของผู้เขียนคือพยายามคุยกันทุกเรื่อง เรื่องจริง เรื่องเล่น ทั้งมีสาระและไร้สาระ แต่พอเวลามีประเด็นอะไรเกิดขึ้น Group นั่นแหละที่จะช่วยเรา แต่ละคนจะมาช่วยกันคิดว่าต้องทำยังไง และที่สำคัญก็คือ บางทีเราอาจจะไม่ได้อยู่หน้าคอม ทำงานไม่ได้ เราสามารถใช้พลังของ Crew Resource นี่แหละในการแบ่งงานเช่น ใครอยู่หน้าคอมทำภาพให้หน่อย, ใครว่างเขียนเขียน หรือเราเขียนไปก่อนแล้วฝากเพื่อนไป Edit เพิ่มให้

4. มี Template ของสิ่งที่จะทำบ่อยอยู่แล้ว เช่น Post, Video โยนไฟล์เข้าแล้วทำได้เลย

อันนี้เป็นเรื่องเชิงเทคนิค ปกติแล้วเพื่อความรวดเร็วเราควรจะมี Template ของสิ่งที่เราทำบ่อยอยู่แล้ว เช่น Post, Video ที่เราสามารถโยนไฟล์เข้าไปแล้วกลายเป็น CI ของเราได้เลย

สิ่งที่สำคัญก็คือ พยายามใช้อุปกรณ์ โปรแกรม หรือเครื่องมือที่เราคล่องมือที่สุด หลายคนที่ทำภาพแบบง่าย ๆ ด้วย Keynote แทนการใช้ Photoshop หรือแม้กระทั่งแอพบางตัวบนมือถือ ก็ช่วยให้เราสามารถทำงานบนมือถือ ทำกราฟฟิกได้หมดเลย

5. บางเรื่องเรารู้อยู่แล้ว อย่ารอ

อันนี้ต้องยอมรับว่าบางทีเราก็ปล่อยไป ไม่ยอมคิดแผนเผื่อไว้ก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนพลาดมาแล้ว เวลาจะเกิด Event อะไรขึ้น จะมีข่าวอะไร จะเริ่มมีสัญญาณให้เราเตรียมตัว อาจจะมาจาก Twitter จาก Social Media หรือแม้กระทั่งจากการวิเคราห์ของเราเอง ถ้าเราเตรียมตัวไว้เลยว่าจะทำอะไร เช่น พอมีเรื่องนี้ออกมาเราจะ Facebook Live เลยทันที หรือเราจะเขียนวิเคราะห์ไว้อย่างไร ผู้เขียนเคยถึงขั้นเขียนบทความไว้สองเวอร์ชั่น แล้วกด Publish เวอร์ชั่นที่ผลของข่าวนั้นออกมา

6. บางทีความเร็วก็ไม่ได้วัดในระดับวินาที แต่วัดกันที่เนื้อหา ไม่เร็วได้แต่ต้องลึกและใหม่

จริง ๆ แล้วแค่เร็วก็ไม่ได้ทำให้เรามีค่ามากขนาดนั้น สิ่งที่จะทำให้เรามีค่าก็คือเนื้อหาแบบเรา สิ่งที่เป็นเราจริง ๆ (ความเร็วเป็นแค่หนึ่งในนั้น) สมมติว่าเราเป็นสายวิเคราะห์เจาะลึก เราอาจจะไม่ได้ต้องการจะเร็วแบบมีอะไรมาลงเลย แต่อาศัยการวิเคราะห์ ซึ่งเราอาจจะเป็นเจ้าที่วิเคราะห์เป็นเจ้าแรก หรือเป็นเจ้าที่วิเคราะห์ดีที่สุดละเอียดที่สุด ก็ขึ้นอยู่กะว่าเราวาง Position จุดแข็งของเราไว้อย่างไร

แต่สิ่งที่แนะนำก็คือ สมมติว่าเราจะเร็ว แล้วไม่ทัน คนอื่นลงไปเยอะแล้ว วิธีการก็คือ เราก็ต้องทำยังไงก็ได้ให้มากกว่าคนอื่น มุกที่เล่นกันบ่อย ๆ เช่น สรุปเหตุการณ์, สรุป Timeline, วิเคราะห์ ก็คือทำอะไรก็ได้ที่เป็นสิ่งใหม่ เพราะคนอ่านจะได้เห็นสิ่งที่เขาไม่รู้มาก่อน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยก็คือคุณภาพของเนื้อหา อย่าลืมว่าความไวเป็นแค่หนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ สิ่งที่สำคัญเช่นกันก็คือการฝึกฝนทักษะในการทำคอนเทนต์คุณภาพ

เรียบเรียงโดย ทีมงาน RAiNMAKER

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save