FacebookSocialYoutube

Avatar

miss arisa November 30, 2018

พาไปรู้จัก YouTube Creator Academy และ Facebook for Creator

การแข่งขันระหว่าง Facebook กับ YouTube ในเรื่องของวิดีโอคอนเทนต์นั้นยังไงก็ไม่จบง่ายๆ ไม่เพียงแต่การแข่งขันกันในแง่ของจำนวนยอดผู้ชม การสนับสนุนให้ครีเอเตอร์ผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ก็ถือเป็นพันธกิจระยะยาวที่ทั้ง 2 แพลตฟอร์มให้ความสำคัญมากทีเดียว

ฝั่งที่เริ่มมาก่อนแน่นอนว่าต้องเป็น YouTube เพราะเป็นเจ้าแห่งวิดีโอคอนเทนต์มาก่อน YouTube จัดกิจกรรมต่างๆที่สนับสนุนเหล่าครีเอเตอร์อย่างต่อเนื่องมาหลายปีแลัว ส่วน Facebook ก็เริ่มขยับตัวในช่วงปีที่ผ่านมาในชื่อ Facebook for Creator ยังไงบทความนี้ขอเน้นไปที่ Video Creator ให้ได้รู้จักกับ 2 โครงการสนับสนุนจาก 2 แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่นี้กัน

YouTube Creator

มาเริ่มที่ YouTube กันก่อน จริงๆเมื่อต้นเดือนพ.ย. RAiNMaker เพิ่งนำเสนอข่าว YouTube Pop-up Space Bangkok ซึ่งก็เป็นพาร์ทหนึ่งของ YouTube Creator นี่ล่ะ ที่ YouTube เขาจะจัดสตูดิโอ กิจกรรมให้ครีเอเตอร์ที่ได้รับเลือกมาทำกิจกรรมกันทุกปี แต่ถ้าเราไม่ได้สมัคร หรือไม่รู้ว่าจะทราบข่าวจากทางไหน เริ่มแรกเราต้องเข้าไปที่เว็บไซต์นี้ youtube.com/creators ใครที่มีช่องอยู่แล้ว หรือเพิ่งจะเริ่มทำก็สามารถใช้แอคเคาน์ Google หรือ Gmail นี่ล่ะลงทะเบียนได้เลย

เมนูหลักๆ ที่ให้เราเข้าใช้ได้แบบออนไลน์ก็มีอยู่ 3 ส่วน Academy / Benefits and Awards / Help Center ทั้ง 3 ส่วนนี้ก็จะช่วยให้ข้อมูลกับเราตั้งแต่เริ่มทำ ไปจนถึงการปั้นช่องให้เป็นธุรกิจ ในกรณีที่ผู้อ่านเพิ่งเริ่มจะทำช่องเลย เราอยากให้เข้าไปดูใน Benefits and Awards ก่อนเลย เพื่อจะได้มีจุดมุ่งหมายว่า 1,000 ซับแรก เราจะสามารถใช้ฟังก์ชั่นอะไรของ YouTube ได้บ้าง เกิน 1,000 ซับแล้วจะได้อะไรเพิ่มบ้างอันนี้เขามีบอกไว้หมด หรือถ้าใครทำช่องมาได้สักระยะแล้วอยากจะได้โล่กับเขาบ้างต้องทำให้ถึงอะไรยังไง ดูไว้ปลุกกำลังใจได้ดีเลยล่ะ

ต่อมาส่วนสำคัญที่มีประโยชน์มากๆ แต่ยังไม่ค่อยมีใครรู้ก็คือ YouTube Academy พูดง่ายๆคือมันเป็นคอร์สสอนการใช้ YouTube แบบออนไลน์ ที่สำคัญมัน ฟรี ฟรี ฟรี คอร์สเรียนก็มีครอบคลุมทั้งการใช้เว็บพื้นฐาน การทำโปรดักส์ชั่น การอ่านสถิติต่างๆ โดยจะมีการบอกไว้อย่างละเอียดเลยว่าใน session จะสอนอะไรบ้าง ใช้เวลาเรียนเท่าไหร่ ไม่เพียงมีวิดีโอในการสอน บทความประกอบวิดีโอก็อธิบายอย่างละเอียด พร้อมสอดแทรกทริปเล็กๆ ให้เราอยู่ตลอด

ทั้งนี้ในช่วงทำช่องใหม่ๆ เราต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง มีไอเดียต่างๆมาระดับหนึ่ง YouTube เขาก็เข้ามา support ด้วยคอร์สออนไลน์แบบนี้ แต่พอคุณทำช่องไปถึงอีกระดับหนึ่ง อาจจะเกิน 50,000 ซับ แลัวอยากจะยกระดับช่องให้เป็นธุรกิจมากขึ้น มีมาตรฐานมากขึ้น (กรณีที่คุณไม่ได้มีเงินถุงเงินถังในการลงทุนเอง) YouTube เขาจะลงมาปั้นครีเอเตอร์เล่านี้ให้เป็นดาว ทั้งการลงทุนในแง่ของอุปกรณ์ ทีมโปรดักส์ชั่นซับพอร์ต สูงสุดคือมีคนจาก YouTube มาดูแลเป็นผู้จัดการให้เลยนะเออ

อย่างที่เล่าไปเมื่อเราทำช่องมาพร้อมในระดับหนึ่ง YouTube เขาก็มีโปรแกรมที่ลงมาสนับสนุนจริงจังมากขึ้น มีชื่อว่าโปรแกรม Nextup เป็นการคัดเลือก YouTuber ที่ผ่านเกณฑ์ให้เข้ามา workshop ประเทศไทยเราก็มีจัดปีละครั้ง หรือในประเทศอื่นๆที่มี YouTuber เยอะๆ ก็จะมีจัดขึ้นมาเรื่อยๆ โดย YouTube จะมีสตูดิโอ YouTube Space ใ้ห้ YouTuber เข้ามาพัฒนาฝีมือกัน ในประเทศใหญ่ๆก็จะมีเป็นสตูดิโอถาวร ไทยเราก็จะมีเป็น Pop-up เปลี่ยนที่ไปในทุกๆปี

บอกเลยว่าได้เข้าไปเป็น YouTube Nextup เนี่ย โอกาสดีๆมีเข้ามามากมายแน่นอน ซึ่ง YouTuber ในไทยเขาก็มีคอมมูนิตี้ที่เหนียวแน่นทีเดียวนะ ที่เราได้ดูคลิปที่ YouTuber ดังๆเขาไปโผล่ในช่องของแต่ละคนก็เกิดมาจากคอนเทนคชั่นที่ YouTube เขาจัดงาน จัดปาร์ตี้ให้ YouTuber มาเจอกันเป็นประจำ ใครที่เพิ่งทำช่องถ้าสนใจก็ลองเข้าไปศึกษาในเว็บที่เราให้ลิงค์ไปแล้วกันดู ถ้าคุณจริงจังในสายนี้ยูทูปเขาสนับสนุนแบบเต็มที่จริงๆ

YouTube Creator

Facebook For Creator

อย่างที่เรารู้ๆกันว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Facebook บุกพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์หนักมากกกก ก. ล้านตัวนะ ทั้งเปิด Facebook Watch ทั้ง Live , Watch Party ไหนจะเท Reach ให้แรงมาก จนยอดเข้าชมล้ม YouTube ได้สำเร็จ แต่ที่ยังขาดอยู่คือ Original Content คือคอนเทนต์ที่ทำมาเพื่อลง Facebook เลย ไม่ใช่ Duplicate มาจาก YouTube เท่านั้น Facebook จึงทำ Facebook for Creator ขึ้นมา

ในส่วนของตัวเว็บไซต์นั้นคล้ายๆกับของ YouTube อยู่มาก คือมีคอร์สเรียนออนไลน์ มีหน่วย Support ที่มีเพิ่มมาก็จะเป็นส่วนของ Gaming ซึ่งมันเป็นอีกอาณาจักรหนึ่ง ไว้เราจะมาเล่าในบทความต่อๆไปกัน กลับมาดูสิ่งที่น่าสนใจใน Facebook for Creator กันต่อ กับเรื่องที่ครีเอเตอร์ต้องอยากรู้นั่นก็คือ ค่าตอบแทนจากการลงวิดีโอใน Facebook ตัวนี้จะอยู่ใน Launchpad เริ่มแรกเขาก็จะให้เราเอาเพจไปลงทะเบียนและลองดูว่าวิดีโอคอนเทนต์ที่เราทำอยู่เข้าเกณฑ์ที่จะลง Ad Break ได้หรือยัง

นอกจากตัวเว็บไซต์แล้ว Facebook ก็ทำแอป Facebook Creator และปรับหลังบ้านสำหรับให้ครีเอเตอร์ได้ใช้งานง่ายขึ้น ในชื่อ Creator Studio ใครที่มีเพจอยู่แล้วเข้าทาง URL นี้ได้

ก่อนที่เราจะอธิบายกันต่อ ขอเน้นก่อนเลยเนอะว่าตัว Creator Studio ทำมาเพื่อซับพอร์ต Video Creator เป็นหลัก แอดมินเพจที่ต้องใช้งานอยากหลายอย่างการดู Insight การเปรียบเทียบโพสต์ในแต่ละแบบ เราต้องบอกไว้ตรงนี้ว่ามันยังไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่นะ Insight ที่ดูได้อย่างละเอียดจะเป็นแค่ในส่วนวิดีโอเท่านั้น ฉะนั้นตามชื่อเลยจ้ะ Creator Studio ไม่เหมาะแก่การใช้งานของ Marketer แต่อย่างใด

โดยพื้นฐานของตัวหน้าเว็บก็ดูสะดวกสบายมากขึ้นสำหรับการโพสต์คอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นลิงค์ เป็นรูป เป็นอัลบัม วิดีโอ Live ทำได้ทั้งหมดในหน้าเดียว และยังสามารถเลือกเพจที่จะลงได้เลย ในกรณีที่คุณมีหลายเพจอยู่ในการดูแล ไม่ต้องเปิดสลับหน้าไปมา ทั้งยังดู Timeline ของทุกๆเพจได้พร้อมๆกัน ในแถบ Content Libraty ฟังดูดีใช่มั้ยล่ะ แต่อย่างที่เราบอกว่ามันดีสำหรับครีเอเตอร์ที่ต้องคอยโพสต์งาน เช็คงานให้จบในหน้าเดียว เรื่องของการดูยอด Reach ยอดไลค์ ของโพสต์อื่นๆที่ไม่ใช่วิดีโอ ดูใน publishing tools อันเดิมจะดูได้ละเอียดกว่า

นอกจากนี้ Facebook ยังเอา Sound Collection เข้ามาไว้ใน Studio เพื่อให้เราเลือกช้อปนำไปใส่ในวิดีโอได้เลย ไม่ต้องกลัวเรื่องติดลิขสิทธิ์เพลงอีกแล้ว และอีกส่วนที่ดูน่าใช้งานก็คือการเข้าดู Video Insight เขาประบให้กราฟต่างๆ ดูมีสีสันมากขึ้น ดูเข้าใจง่ายมากขึ้น เพื่อให้ครีเอเตอร์ได้นำตัวเลขเหล่านี้ไปพัฒนาวิดีโอต่อไปได้

นี่ก็เป็นข้อมูลให้เราได้รู้จัก Facebook for Creator และ YouTube Creator Academy กันมากขึ้นเนอะ ทั้ง 2 อย่างนี้ถือว่ามีประโยชน์กับ Video Creator มากๆ เพราะแต่ละแพลตฟอร์มก็มีเนเจอร์ที่ต่างกัน การทำคอนเทนต์มาหนึ่งชิ้นจะลงในช่องทางไหน ทำออกมาให้เหมาะกับพฤติกรรมคนดูในช่องทางนั้นก็จะช่วยให้วิดีโอของเราไปได้ไกลขึ้น ยังไงก็ลองไปศึกษากันต่อดู และอย่าลืม Learning by Doing ด้วยนะ ทำ ทำ ทำ มีแต่จะได้ความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้นในฉบับของเราเอง

เรียบเรียงโดยทีมงาน RAiNMaker

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save