FacebookSocialTips

Avatar

doyoumind October 20, 2021

จัดการอย่างไรดี? เมื่อต้องเจอข้อความคุกคามผ่าน Messenger

ปัจจุบันความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นซับซ้อนเกินไป จึงทำให้ไม่อาจคาดเดาได้ว่าในแต่ละวันเราจะได้รับข้อความแบบไหนบ้าง และข้อความบนโลกออนไลน์เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำร้ายผู้คนมาแล้วนับไม่ถ้วน

บางครั้งมีทั้งข้อความที่แสดความเกลียดชัง หรือข้อความคุกคาม เพราะเหตุนี้จึงทำให้แต่ละคนควรรู้วิธีการรับมือกับข้อความเหล่านั้น เพื่อจะได้ดูแลสภาพจิตใจของตัวเองเป็นอันดับแรก

ทุกวันนี้มีเครื่องมือมากมายที่ช่วยป้องกันข้อความที่อันตราย และช่วยให้สุขภาพจิตของผู้ใช้งานดีขึ้น เพราะฉะนั้นการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่แต่ละแพลตฟอร์มจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อช่วยในการป้องกัน และควบคุมการเปิดรับข้อความก็จะลดความเสี่ยงในการต้องเผชิญหน้ากับข้อความที่กระทบจิตใจได้

สำหรับ Messenger ก็มีคำแนะนำดี ๆ จาก พาร์ตเนอร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนักจิตวิทยา อย่าง ‘Dr. Linda Papadopoulos’ ที่มาแนะนำการจัดการกับข้อความคุกคามแบบขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมพื้นที่การส่งข้อความออนไลน์ และเพื่อให้บทสนทนาในแชตมีแต่สิ่งที่ดีมากขึ้น

ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับเหล่าครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นคนที่มีสปอร์ตไลต์ มีทั้งคนที่ชื่นชอบและเกลียดชัง แน่นอนว่าเราไม่สามารถควบคุมไม่ให้คนส่งข้อความเกลียดชังเหล่านั้นได้ แต่เราสามารถดูแลควบคุมการรับข้อความของเรา เพื่อดูแลสภาพจิตใจของเราให้ดีได้ ถึงแม้จะเป็นวิธีเบสิกแต่ก็เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลอยู่เสมอ ลองไปดูและนำไปปรับใช้กันดีกว่าค่ะ

พิจารณาว่าเป็นข้อความแบบไหน

เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่ให้ตัวเราเองเป็นคนพิจารณาว่าข้อความนั้นเป็นข้อความที่ได้รับนั้นมีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ข้อความนั้นทำให้รู้สึกลำบากใจ หรือข้อความเหล่านั้นส่อไปในเชิงคุกคาม เพื่อที่จะได้เลือกจัดการต่อได้อย่างเหมาะสมตามระดับความรุนแรงของข้อความ

  • ข้อความที่ทำให้รู้สึกลำบากใจ

ถ้าเป็นข้อความที่ทำให้เริ่มรู้สึกลำบากใจ อาจลองถอยกลับไปคิดดูก่อน แล้วลองเช็กอารมณ์ตัวเองว่าเป็นเพราะอารมณ์เราในช่วงนี้ที่ทำให้รู้สึกแบบนั้น หรือเป็นเพราะข้อความจากฝ่ายตรงข้ามทำให้รู้สึกลำบากใจอยู่จริง ๆ เพราะบางคนก็อาจจะยังตามอารมณ์ตัวเองไม่ทัน การลองถามตัวเองก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้รู้จักอารมณ์ตัวเองได้เป็นอย่างดี

เมื่อทบทวนดีแล้วพบว่าข้อความเหล่านั้นทำให้รู้สึกไม่สบายใจจริง ๆ และทำให้ไม่อยากต่อบทสนทนาอีก ก็สามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy Settings) ได้ทั้งสามารถเลือกให้ต้องส่งคำขอก่อนเริ่มแชตทุกครั้ง หรือปิดการแสดงสถานะว่ากำลังใช้งานอยู่ เพื่อลดความกดดันในการที่ต้องตอบข้อความทันที

แต่หากข้อความนั้นทำให้คุณรู้สึกลำบากใจเล็กน้อย แต่ยังพอสามารถที่จะต่อบทสนทนาได้อยู่ อาจลองเลือกปิดการแจ้งเตือนแชต หรือ Mute แทน เพื่อไม่ให้เห็นแจ้งเตือนมากวนใจ ที่สำคัญคือเราสามารถเลือกที่จะเข้าไปตอบได้เมื่อต้องการเท่านั้น

  • ข้อความที่เป็นอันตราย

กรณีที่เป็นข้อความอันตราย หรือคุกคาม ควรจะบอกเพื่อนหรือคนที่ไว้ใจไว้เพื่อขอความช่วยเหลือ และลงมือจัดการทันที เพื่อนำตัวเองอออกมาจากข้อความที่อาจกระทบถึงสภาพจิตใจได้

การตัดสินใจลงมืออย่างเด็ดขาดในการจบบทสนทนา สามารถทำโดยทำได้โดยการบล็อก และรีพอร์ต

การบล็อก จะช่วยหยุดไม่ให้คน ๆ นั้นสามารถติดต่อคุณได้อีกต่อไป แต่คนนั้นจะไม่รู้ว่าตัวเองถูกบล็อก ส่วนการรีพอร์ต หรือการกดรายงาน สามารถใช้ได้ในกรณีที่ข้อความเหล่านั้นเป็นสแปม หรือสร้างอันตราย รวมถึงทำผิดกฎของแพลตฟอร์ม เป็นต้น

หากจัดการกับข้อความเหล่านี้โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้ ก็จะลดโอกาสในการต้องพบเจอข้อความแย่ ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจได้เยอะขึ้น รวมถึงทำให้สามารถเลือกรับแต่บทสนทนาดี ๆ ที่ทำให้มีความสุข แถมยังเป็นผลดีกับแพลตฟอร์มที่สามารถจำกัดบุคคลที่เป็นอันตรายเหล่านี้ออกไปได้อีกด้วย

ที่มา : Facebook Messenger News

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save