Tips

Avatar

miss arisa January 28, 2019

เขียนสคริปต์ Podcast ยังไงไม่ให้ออกทะเล

การทำรายการเสียง Podcast ดูเหมือนจะมาแรงมากๆในปีนี้ ทั้ง Publisher หรือ Public figure ในหลายแขนงก็หันมาจัด Podcast กันยกใหญ่ ด้วยที่ว่าเป็นการทำคอนเทนต์ที่ง่าย ใช้อุปกรณ์ไม่มาก ยิ่งถ้าเป็นรายการที่พูดคนเดียวอาจจะใช้เพียงมือถือหนึ่งเครื่องในการอัดเสียงเท่านั้นเอง

เริ่มแรก Podcasts นั้นมีขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในลักษณะของหนังสือเสียง อ่านหนังสือบันทึกออกมาเป็นไฟล์เสียง จากนั้นก็ค่อยๆมีคนอัดรายการที่เป็นการเล่าเรื่องอื่นๆ การสนทนา สัมภาษณ์ จนเหมือนกับรายการวิทยุมากขึ้น แต่ข้อดีของ Podcast ก็คือฟังย้อนหลังเมื่อไหร่ก็ได้ สามารถเสิร์ชหัวข้อที่อยากฟัง แล้วยังโหลดเก็บไว้ฟังแบบ Offline ได้อีกด้วย จึงเป็นที่นิยมมากๆในสหรัฐอเมริกา

ส่วนในไทยเราก็เริ่มมีหลายๆเจ้าที่สนใจทำมาพร้อมๆกับอเมริกา แต่ยังไม่ได้มีคนฟังที่แพร่หลาย อาจด้วยข้อจำกัดในเรื่องของอุปกรณ์ที่ต้องฟังบนระบบ iOS แต่เชื่อว่าเกือบทุกเจ้าก็นำไปลงใน YouTube ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ว่าจะลงบนแพลตฟอร์มไหน หากสนใจที่จะทำรายการเสียงกันแล้วละก็ มาเริ่มต้นกันที่การเขียนสคริปต์กันดีกว่า

โครงสร้างสคริปต์

Break 1 ชื่อรายการ > ชื่อหัวข้อ > เกริ่นนำ/แนะนำตัว

Break 2 เนื้อหาโดยรวม

Break 3 แก่นเนื้อหา (อาจแบ่งออกเป็น 2 – 3 เบรก ตามใจความสำคัญ)

Break 4 สรุป

กำหนดเวลา

Break 1 > 01.00 นาที

Break 2 > 03.00 – 05.00 นาที

Break 3 > 05.00 – (แล้วแต่ความยาวของรายการ แต่หากเกิน 10 นาทีควรแบ่งเป็นช่วง ช่วงละ 10 – 15 นาที)

Break 4 > 03.00 – 05.00 นาที

ขั้นตอนการลงสคริปต์

โดยส่วนมากสคริปต์รายการทั้งเสียงและวิดีโอก็จะทำออกมาเป็นตาราง เพื่อที่จะได้เห็นภาพรวมว่าเบรคนี้พูดเรื่องอะไร มีใครพูดบ้าง ขึ้นรายการ จบรายการ ระหว่างเบรกมีเสียงดนตรีประกอบหรือไม่ แต่ละเบรกมีความยาวกี่นาที เวลาเป็นเรื่องสำคัญมากๆนะ เพราะไม่งั้นแล้วก็จะสุ่มเสี่ยงที่ต้องออกทะเล ไหลไปเรื่อยๆ ยิ่งเป็น Podcasts ที่เป็นหัวข้อเปิด ผู้พูดมี 2 คนขึ้นไป เราเข้าใจนะว่าบางทีก็ติดลม นึกอะไรออกก็พูดต่อยอดหัวข้อไปได้เรื่อยๆ ฉะนั้นแล้วควรกำหนดเวลาให้แน่นอน ขณะอัดเสียงตั้งเวลานับถอยหลังไว้ให้เห็นชัดๆ

การลงสคริปต์ในส่วนของเนื้อหาที่จะพูดนั้น จะเขียนออกมาเป็นบทเป๊ะๆว่าต้องพูดอะไรไปจบที่ไหนซึ่งแบบนี้จะเหมาะสำหรับผู้พูดคนเดียว อาจจะใส่ความคิดเห็นนอกบทบ้าง กับอีกแบบที่เขียนเพียงแค่ไกด์ไลน์ที่จะพูด เป็นหัวข้อใหญ่กับหัวข้อย่อย เพื่อไม่ให้หลงประเด็น เหมาะสำหรับคนที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ พูดเก่ง มีทักษะด้านการพูดอยู่แล้วพอสมควร ภาษาบ้านๆเราก็คือด้นสดได้ แต่อย่างที่บอกหากสดทั้งหมดอาจทำให้ออกทะเลได้ ดังนั้นควรกำหนดหัวข้อ ขอบเขต และกำหนดเวลาให้ชัดเจน

#ข้อควรคำนึงในการเขียนสคริปต์รายการเสียง

  1. เนื้อหาสำหรับการฟังแตกต่างจากเนื้อหาภาพ พยายามอธิบายให้เห็นภาพมากที่สุด การยกตัวอย่างต่างๆ ควรให้ข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อ หรือศัพท์เฉพาะ อ้างอิงให้ชัดเจน
  2. ใช้คำศัพท์ที่ชัดเจน ex. ควร ไม่ควร เพราะ จึง แก่ หรือถ้าเป็นความเห็นส่วนตัวก็อาจจะเกริ่นมาก่อน ถ้าเป็นเรื่องที่มีหลักการอ้างอิงก็พูดถึงรายละเอียดสักเล็กน้อย
  3. เช็คการออกเสียงที่ถูกต้อง ถ้าเป็นศัพท์ภาษาต่างประเทศ ให้เขียนคำอ่านกำกับไว้
  4. ระวังเรื่องของการพูดวน หากมีเรื่องที่อยากเพิ่มเติม ให้โน้ตลงในสคริปต์ว่าอยากจะเพิ่มเติมอะไรในจุดไหน และอัดเสียงส่วนนั้นแยกเอาไว้ แล้วค่อยใช้การตัดต่อในการเชื่อมเรื่อง

นี่ก็เป็นเบื้องต้นในการตั้งไข่ทำช่อง Podcast นอกจากการเขียนสคริปต์ยังมีเรื่องของลีลา การใช้น้ำเสียง ธรรมชาติในการทำให้เรื่องลื่นไหล ไว้เราจะมานำเสนอกันในครั้งต่อไป ส่วนช่อง Podcast ของ RAiNMaker นั้น อดใจรอหน่อยได้เจอกันแน่นอน

เรียบเรียงโดยทีมงาน RAiNMaker

Copyright © 2024 RAiNMaker. All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save